- 11 ธ.ค. 2561
คาถาบูชาสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งนะโม 3 จบ (นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ ) อัคคี พะหู บุปผัง สักการะ วันทานัง นารายณ์มหาราชาโย นามะ พามานาอุกะสะนะทุ อิติมุลิ มหาปญโญ มหาลาโภ ภะวันตุเม
คาถาบูชา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ตั้งนะโม 3 จบ (นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ )
อัคคี พะหู บุปผัง สักการะ วันทานัง
นารายณ์มหาราชาโย นามะ พามานาอุกะสะนะทุ
อิติมุลิ มหาปญโญ มหาลาโภ ภะวันตุเม
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
คำอธิษฐาน
สาธุขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าแต่ดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ข้าพุทธเจ้าและแฟนรายการคุยโขมงข่าวเช้าทุกคนทุกท่าน ตอดจนสาธุชนปวงชนชาวไทย ขอตั้งจิตอุทิศผลบุญกุศลทั้งหมดทั้งมวลที่สร้างตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันขอถวายบุญกุศลนั้นเป็นพระราชกุศลแด่ดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและพระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนมุขมาตย์ราชมนตรีบรรพชนแต่กาลนั้นด้วยทุกประการ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ สาธุ สาธุปวงข้าพเจ้าทั้งหลายขอพระพรอันเป็นมงคลจงปกป้องคุ้มครองผองชาวไทยให้เกิดรักสามัคคีเกิดความสุขสวัสดีด้วยในยุคสมัยองค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีอัจฉริยะภาพเรื่องการทูต
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ขอปวงข้าพเจ้าทั้งหลายจะทำการค้าอันใดในประเทศนี้ ในรัตนโกสินทร์สมัย ด้วยความตั้งใจและจงสำเร็จสมประสงค์แก้วแหวนเงินทองไหลมาเทมาดั่งจำนง มุ่งตรงที่จะให้เกิดความสำเร็จทุกประการ ให้มีปัญญาล้ำเลิศ ประเสริฐเหมือนศรีปราชญ์ ซึ่งเป็นนักปราชญ์ในสมัยแห่งพระองค์ท่าน และมีความเมตตามหานิยมความเป็นสิริมงคลจงเกิดขึ้นแก่ข้าพุทธเจ้าทั้งหลาย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ข้าพุทธเจ้าทั้งหลายได้ขอกราบสักการะวันทาในวันนี้ ขอพระบารมีจงปกป้องคุ้มครองดลบันดาลให้ประธานพร ให้สมประสงค์ ให้มีปัญญาประเสริฐเป็นเลิศกว่าคนทั้งหลาย ทำกิจการงานใดจงสำเร็จสมประสงค์ แก้วแหวนเงินทองไหลมาเทมามีสุขภาพกายสุขภาพจิตสมบูรณ์แข็งแรง ตลอดจนเป็นที่รักแก่เทพยาทั้งหลาย ประกอบกิจอันใดในประเทศนี้ด้วยวิริยะ ฉันทะ จิตตะ วิมังสา มิงอมืองอเท้าแล้วไซร้ขอพระบารมีของพระองค์จงคุ้มครองให้พ้นโพยภัยและสำเร็จสมดั่งตั้งใจด้วยกุศลกรรมนั้นทุกประการเทอญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ สาธุ
พระราชประวัติ
พระราชสมภพ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กับพระราชเทวีไม่ปรากฏพระนามคำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าพระชนนีของพระองค์ชื่อพระสุริยาส่วน คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุพระนามว่าพระอุบลเทวีและหม่อมหลวงมานิจ ชุมสายระบุพระนามว่าพระนางศิริธิดาและมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือกรมหลวงโยธาทิพ (หรือพระราชกัลยาณี)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระราชบิดาและพระราชมารดาเป็นเครือญาติกัน หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย ระบุว่า พระมารดาของพระนารายณ์เป็น "...พระขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าปราสาททอง"แต่งานเขียนของนิโคลาส์ เดอ แซร์แวส ระบุว่า มารดาเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมส่วนพระราชบิดาคือสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ฟาน ฟลีต ระบุว่า เป็นลูกของน้องชายพระราชมารดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
พระองค์มีพระนมที่คอยอุปถัมภ์อำรุงมาแต่ยังทรงพระเยาว์คือเจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นญาติห่าง ๆ ของพระเจ้าปราสาททองเช่นกันกับอีกท่านหนึ่งคือพระนมเปรม ที่ฟร็องซัว อ็องรี ตุรแปง (François Henry Turpin) ระบุว่าเป็นเครือญาติของสมเด็จพระนารายณ์
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในสมเด็จเจ้าฟ้าไชย และยังมีพระอนุชาต่างพระมารดาอีก ได้แก่ เจ้าฟ้าอภัยทศ (เจ้าฟ้าง่อยเจ้าฟ้าน้อย พระไตรภูวนาทิตยวงศ์ พระองค์ทอง และพระอินทราชา
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ใน คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่าพระองค์มีพระนามาภิไธยเดิมว่า พระนรินทกุมารหรือ คำให้การชาวกรุงเก่า เรียกว่า พระสุรินทกุมารเมื่อแรกเสด็จพระบรมราชสมภพนั้น พระญาติเห็นพระโอรสมีสี่กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า พระนารายณ์ หรือ พระเจ้าลูกเธอพระนารายณ์ราชกุมารส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด เล่าว่าเมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระโอรสเสด็จไปช่วยดับเพลิง ผู้คนเห็นเป็นสี่กร จึงพากันขนานพระนามว่า พระนารายณ์ พระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์นั้นเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหาริย์อยู่มาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพราหมณ์ เมื่อเทียบกับกษัตริย์องค์ก่อน ๆ ด้วยเหตุนี้เองพระราชประวัติของพระองค์จึงกล่าวถึงปาฏิหาริย์มหัศจรรย์ตามลำดับ คือ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เมื่อพระนารายณ์มีพระชนม์ได้ 5 พรรษา ขณะเล่นน้ำ พระองค์ทรงถูกอสนีบาต พวกพี่เลี้ยง นางนม สลบหมดสิ้น แต่พระองค์ไม่เป็นไรแม้แต่น้อย
เมื่อพระนารายณ์มีพระชนม์ได้ 9 พรรษา พระองค์ทรงถูกอสนีบาตที่พระราชวังบางปะอิน แต่พระองค์ก็ปลอดภัยดี
สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร
การครองราชย์
สมเด็จพระนารายณ์มีส่วนสำคัญในการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา โดยพระองค์ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาในการชิงราชสมบัติจากสมเด็จเจ้าฟ้าไชย ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ โดยหลังจากที่พระองค์ช่วยสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้แล้วนั้น สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทรงแต่งตั้งให้พระองค์ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชและให้เสด็จไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้ 2 เดือนเศษ พระองค์ทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1018 ปีวอก (ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2199) ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสรรเพชญ์บรมมหาจักรพรรดิศวร ราชาธิราชราเมศวรธรธราธิบดี ศรีสฤษดิรักษ์สังหารจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดีบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลคุณอัคนิตวิจิตรรูจี ตรีภูวนาทิตย์ ฤทธิพรหมเทพาธิบดินทร์ ภูมินทราธิราช รัตนากาศมนุวงศ์ องค์เอกาทศรุท วิสุทธิยโสดม บรมอัธยาศัย สมุทยดโรมนต์ อนันตคุณวิบุลยสุนทรธรรมิกราชเดโชชัย ไตรโลกนาถบดินทร์ อรินทราธิราช ชาติพิชิตทิศทศพลญาณ สมันตมหันตผาริตวิชัยไอศวรรยาธิปัตย์ ขัตติยวงศ์ องค์ปรมาธิบดี ตรีภูวนาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฎรัตนโมลี ศรีประทุมสุริวงศ์ องค์สรรเพชญ์พุทธางกูร บรมบพิตรพระพุทธเจ้า
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2209 และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุก ๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน ด้วยเหตุผลว่า ทั้งสองรัชกาลนี้มีศัตรูมากมายรายรอบพระองค์ เนื่องจากการเข่นฆ่าฟันล้างบางพระราชวงศ์ด้วยกันมาหลายครั้งหลายหน รวมทั้งเรื่องของเสนาบดีใหม่และเก่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มิเคยได้เป็นพระมหากษัตริย์ "ทรงธรรม" หรือ "ธรรมราชา" ในสายตาของทวยราษฎร์เลยแม้แต่น้อย ดังปรากฏใน คำให้การชาวกรุงเก่า ที่มีการเปรียบเทียบพระองค์กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ก็จะพบว่าเชลยไทยชื่นชมพระมหากษัตริย์พระองค์หลังเสียมากกว่า นอกจากนี้ยังปรากฏในเอกสารของชาวตะวันตกที่ยืนยันความไม่เป็นที่นิยมของราษฎรอย่างชัดแจ้ง ทั้งนี้ก็เพราะตลอดรัชสมัยของพระองค์ล้วนมีการสงครามทั้งกับต่างประเทศและการปราบกบฏภายในประเทศ ชาวนาจึงต้องถูกเกณฑ์ไปรบหรืออาจทนทุกข์เพราะความแร้นแค้นของภาวะสงคราม ยังความทุกข์สู่ทวยราษฎร์และไม่มีประโยชน์อันใดต่อชาวนา
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
การเสด็จสวรรคต
สมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคตเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรีรวมครองราชสมบัติเป็นเวลา 32 ปี มีพระชนมายุ 56 พรรษา
ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูล
https://www.facebook.com/
https://th.wikipedia.org/