- 28 ธ.ค. 2561
เหนื่อยกว่างานคือ "คน" เปิด 9 ข้อคิดและความจริงของคนวัยทำงานที่คุณควรรู้
การทำงานของคนเราในปัจจุบันนั้น สิ่งหนึ่งที่ได้ยินมาตลอดคือ ต้องมีความอดทนในการทำงาน เราต่างพบเจอผู้คนจำนวนมาก ที่หลากหลายนิสัย ถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้างปะปนกันไป คุณเคยได้ยินไหมว่า "ทำงานไม่เหนื่อยหรอก เหนื่อยกับคนมากกว่า!!"
ช่วงนี้ได้ข่าวคนรู้จักกัน “ลาออก” เยอะมาก โดยเฉพาะคนที่ อายุเกิน 50 ปี ลูกเรียนจบมีงานทำแล้ว หมดภาระหนี้สินก้อนใหญ่ ไม่ใช่คนเหล่านี้จะตัดช่องน้อยแต่พอตัว แต่ส่วนใหญ่เท่าที่สนทนากัน คือ “เบื่อ” เบื่อระบบ มีแต่ “ตัวชี้วัด” มากมาย มากดดัน ทั้งๆ ที่ผลลัพธ์ปลายทาง ก็เห็นกันจะๆ สร้างตึกเท่าไหร่ไม่เคยพอ คนไข้ ยังล้นเหมือนเดิม แสดงว่าภาวะสุขภาพไม่ได้ดีขึ้น เหมือนภาพที่สร้าง
แต่เงินกับคนดันจำกัดมีแต่น้อยลง แล้วก็แค่สั่งด้วยประโยคอุดมการณ์ ขั้นสูงสุดเท่ห์ๆแต่กินไม่ได้ “ทำงานห้ามพูดถึงเรื่องเงิน” เบื่อคนร่วมงาน วุฒิภาวะไม่มี อาวุโสไม่สน บางคนแค่หัวโขนในวิชาชีพ นึกว่าจะด่า จะโวยยังไงก็ได้ ขอถ่ายทอดคำพูดจริงๆให้ฟังละกัน “มึงจ่ายเงินเดือนให้กูเหรอ? ถึงมาวีนอย่างกะนายจ้าง นึกว่าตัวเองใหญ่กว่า เหรอ?” เบื่อความยุติธรรม ต่อให้คิดมาเถอะ
ระบบสุดยอด เกณฑ์ชัดเจน สุดท้ายก็อีหรอบเดิม คือ กลายเป็นซับซ้อนซ่อนเงื่อน เพื่อน/เจ้านายทรยศ รักใครชอบใครก็ให้คนนั้นเยอะอยู่ดี เบื่อความเหลื่อมล้ำ เยียวยากันเข้าไป กลัวเด็กใหม่ลาออก ไม่ต้องสนใจตรรกะ ทำไมคนมาทีหลังเงินเดือนเกินคนทำงานมาเป็นสิบปี? พอเงินมันล้ำหน้ากว่า เด็กมันไม่สนหรอกคำว่า “ประสบการณ์” มันคิดว่ามันแน่ สอนยังไงเรื่องอะไรมันจำเป็นต้องฟัง ทีคนเก่านี่จะไปไหนก็ช่างใช่ไหม? ถ้าไม่พอใจก็ออกไปสิจะได้ไม่ต้องจ่ายค่า เออรี่ รีไทน์
เสียดายฝีไม้ลายมือประสบการณ์หลายๆ คนที่ยังเป็นประโยชน์ต่อระบบราชการเยอะแต่อย่างว่าแหละ…โลกนี้คนดีอยู่ยาก “ปัญหาที่ต้องพบเจอทุกที่ สังคมสมัยนี้ คนดีอยู่ยากขึ้นทุกวัน”
และเรามี 9 ข้อคิดสำหรับคนทำงานหนักมาฝาก
สิ่งแรกที่ควรรู้คือ หยุดคาดหวังความยุติธรรมจากการทำงานหนัก
หากคุณมองว่าตัวเองเป็นคนที่ทำงานหนัก ให้ถามตัวเองวาสผลของงานที่ได้รับจากการทำงานเกิดจากการทุ่มเทกายใจอย่างเต็มที่หรือเป็นประสิทธิ์ภาพในการทำงานหนักที่ใช้เวลามากกว่าคนอื่น หากคุณเห็นคนอื่นทำงานสบายๆแต่ประสบความสำเร็จหรือได้รับการยอมรับทางสังคมมากกว่า สิ่งที่คุณควรคิดคือ "ทำไมคุณไม่สามารถทำได้อย่างเขา" แล้วจงหาข้อเสียของตัวเอง หากเกิดจากความผิดพลาดของตัวเองก็อย่าถามหาความยุติธรรมใดๆ "สิ่งเหล่านี้มันคือการแสดงให้เห็นว่า ตัวคุณนั้นยอมรับความผิดพลาด และความลำบากในชีวิตอย่างไรต่างหาก ยิ่งร้องแรกแหกกระเชิงหาความเห็นใจ ตอนที่ตัวเองทำผิดพลาด คุณจะเป็นได้แค่ตัวประหลาดในออฟฟิศเท่านั้น"
เพราะชีวิตจริงไม่มีคำว่า “ยุติธรรม” มีแต่คุณต้องรีบ “ทำ” เพื่อให้ปัญหามัน “ยุติ”
สุดท้ายแล้ว... ความยุติธรรมนั้นหันหน้าให้กับผู้ชนะเสมอ
ข้อที่ 2 ขอให้คุณจงรีบเก็บเกี่ยวประสบการณ์ป่านการทำงานหนัก ในทุกๆสถานการณ์
ถ้าคุณเลือกที่จะ “บ่น” คุณก็จะไม่ได้อะไร แต่ถ้าคุณเลือกที่จะ “ค้นหา” คุณอาจจะเจอเพชรล้ำค่าในตัวคุณ แต่... ถ้าหากคุณไม่ได้อะไรจากการทำงานหนักเลยแม้แต่นิด คุณควรถามตัวเองด้วยคำถามว่า... “คุณใช้ชีวิตแบบนี้ได้อย่างไร”
ข้อที่ 3 ในโลกนี้ยังมีอักหลายคนที่ทำงานหนักมากกว่าคุณ
ถ้าคุณเห็นคนที่สบาย นั้นคือเปลือกที่คุณเห็น เปลือกที่เรียกว่าความสำเร็จของเขา โดยที่คุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่าก่อนถึงจุดนนี้เขาต้องเผชิญกับอะไรบ้าง จริงอยู่ที่ว่า การทำงานหนัก (Work Hard) ต่างกับการทำงานอย่างฉลาด (Work Smart) แต่ถ้าคุณอยากจะประสบความสำเร็จ คุณจงเลือกทำงานหนักอย่างฉลาด แล้วทุกโอกาสในชีวิตจะเป็นของคุณอย่างแน่นอน
ข้อที่ 4 การทำงานหนัก ไม่เกี่ยวกับความร่ำรวย
ขอให้คุณอย่าเชื่อคำสอนของผู้ใหญ่ที่สอนว่า ความรวยเกิดจากการทำงานหนัก เพราะความรวยที่แท้จริงเกิดจาก 3 สิ่งนี้
1.ความถนัดและเชี่ยวชาญในงาน ถ้าคุณเป็นคนทีมีความสามารถเฉพาะทาง ผลตอบแทนของคุณก็ย่อมจะสูงขึ้น ลองคิดดูสิว่า ถ้าคุณสามารถขึ้นเป็น Top 5 ของสายอาชีพที่คุณทำอยู่ได้ รายได้ของคุณจะมากขึ้นแค่ไหน
2.การวางแผนการเงิน แน่นอน ถ้าคุณรู้จักเก็บออมและเอาเงินไปลงทุนชนิดที่เรียกว่า “ถูกที่และถูกเวลา” แค่การเก็บเงินเดือนละ 5,000 บาทก็อาจจะทำให้คุณเป็นมหาเศรษฐีโดยที่ไม่รู้ตัว
3.การทำธุรกิจ ถ้าคุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จ แน่นอนว่าเงินทองจะไหลมาเทมา
ข้อที่ 5 ยิ่งทำงานหนักยิ่งต้องเห็นคุณค่าของเวลา
คุณค่าของเวลาในมิติแรก คือ “ความอาวุโสจากการทำงานหนัก” ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร คุณยิ่งไม่สามารถทำตัวเหมือนเด็กที่เพิ่งเข้าทำงานได้อีกต่อไป คุณไม่สามารถตัดสินใจผิดพลาดได้เมื่อคุณกลายเป็นผู้บริหาร ดังนั้นจงใช้เวลาในการทำงานหนักของแต่ละช่วงพัฒนา “วัยวุฒิ” และ “ความเก๋า” ให้มากที่สุด อย่าลืมถามตัวเองเสมอว่าตอนนี้เราเป็นใคร เรากำลังจะไปที่จุดไหน และสิ่งที่กำลังทำอยู่ในวันนี้มันใช่หรือไม่ เพราะเราไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้...
คุณค่าของเวลาในมิติที่สอง คือ “ความเชี่ยวชาญในการบริหารเวลา”
เพราะการบริหารเวลาที่ผิดพลาดจะทำให้คุณสร้างเงื่อนไขของคำว่า "เดี๋ยวก่อน" หรือ "ไว้ทีหลัง" ซึ่งท้ายที่สุดแล้วมันจะกลายเป็นคำว่า "ไม่ได้ทำ" สิ่งสำคัญรอบตัวอื่นๆของคุณยังมี ต้องรู้จักแบ่งเวลาให้เป็น ไม่เช่นนั้นหากไม่มีโอกาส การมานั่งเสียใจภายหลังก็ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นมาได้
ข้อที่ 6 สุขภาพ “กาย” และ “ใจ” คือ “ขุมพลัง” ในการทำงานหนัก
ไม่ว่าจะงานหนักแค่ไหน แค่เพียงเห็นรอยยิ้มของคนที่เรารักก็หายเหนื่อย สิ่งเหล่านี้คือความจริง ไม่ใช่ว่าการออกกำลังกายไม่สำคัญ แต่สุขภาพทางใจก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม พลังใจที่ดีนั้น... ถ้าวันนี้ยังไม่มีใครสร้างให้คุณได้ จงเลือกที่จะสร้างให้ตัวเองก่อน แล้วอย่าลืมเผื่อแผ่ไปยังคนรอบข้างที่มีความสัมพันธ์กับคุณด้วย
ข้อที่ 7 จงทำงานที่ดี งานที่ดีกว่า และงานที่ดีที่สุด
เรียนรู้ข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อสร้างสรรค์งานคุณภาพในปัจจุบัน และสร้างฝันสู่อนาคต การทำงานที่ดีนั้น มันต้องผ่านการลงมือทำ และทำมันซ้ำๆจนกว่าจะเจอคำว่า ดีที่สุด!! เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก ชิ้นงานที่คุณคิดว่าดีและทุ่มเทเวลากับมันอย่างหนักนั้น คุณจะสังเกตเห็นข้อบกพร่องตามมาเต็มไปหมด ผมขอบอกเลยว่านั่นไม่ใช่ผลของการทำงานหนัก หรือมันเป็นงานไม่ดี แต่นี่คือหลักฐานในการพัฒนาของคุณต่างหาก
ข้อที่ 8 งานหนักไม่ใช่สาเหตุของการเปลี่ยนงาน
งานหนักไม่ใช่คำตอบของการลาออก แต่คุณควรตัดสินใจลาออกเมื่องานนั้นไม่ได้พัฒนาคุณอีกต่อไป
ข้อที่ 9 คุณไม่สามารถทำงานหนักไปตลอดชีวิต
ชีวิตของคุณไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานหนัก ต่อให้บริหารเวลาดีแค่ไหนแต่ร่างกายก็ต้องการการพักผ่อน ชื่นชมความงามระหว่างชีวิค ถ้าวันนี้การทำงานหนักคือ “ความจำเป็น” จงทำมันเพื่อให้มองเห็น “อนาคตที่ดี” และ... ถ้างานหนักไม่เคย “ฆ่าคน” คุณยิ่งเป็นคนที่ต้อง “ฆ่ามัน” ออกไปจากชีวิต