- 18 พ.ค. 2562
เชื่อว่าหลายๆคนคงจะเคยดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นในตอนเช้าก่อนไปทำงาน ในระหว่างวันที่มีอาการง่วงนอน
เชื่อว่าหลายๆคนคงจะเคยดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นในตอนเช้าก่อนไปทำงาน ในระหว่างวันที่มีอาการง่วงนอน จากการนอนไม่เพียงพอ ร่างกายของเราก็ต้องการกาเฟอีนเข้าไปทดแทนกันสักหน่อย หรือแม้แต่ตอนกลางคืนบางท่านอาจจะยังทำงานอยู่ เพราะกาแฟ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มยอดนิยมที่หลายคนดื่มในยามเช้าหรือยามง่วงนอน
เพื่อปลุกสมองให้ตื่นตัว คลายความเหนื่อยล้าทั้งทางกายและทางจิตใจ และนอกจากประโยชน์ที่คุ้นเคยกันนี้ เชื่อว่ากาแฟยังอาจมีประโยชน์ทางการแพทย์ด้านอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ป้องกันโรคพาร์กินสัน โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เก๊าท์ อัลไซเมอร์ หืด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม เป็นต้น
แต่เชื่อว่าหลายคนคงคาดไม่ถึงว่านี้เป็นภัยใกล้ตัวของหลายๆคนที่ชื่้นชอบการดื่มกาแฟ ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า การดื่มกาแฟนั้น หากทานผิดวิธีก็อาจเป็นภัยร่ายที่อาจทำลายชีวิตเราโดยไม่รู้ตัว และวันนี้เราจึงมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในต่างประเทศมาฝากกัน
เรื่องราวดังกล่าวถูกเปิดเผยโดย นายแกรี วัตส์ เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพของเขต ริชแลนด์ เคาน์ตี ในรัฐเซาท์ แคโรไลนา จัดงานแถลงข่าว ระบุว่า นายเดวิส อัลเลน ไครป์ เสียชีวิตจากอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะเพราะคาเฟอีน ซึ่งในระหว่างที่เกิดอาการ หัวใจอาจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อสมอง หัวใจ และอวัยวะอื่นๆ
วัตส์ เปิดเผยด้วยว่า วัยรุ่นชายคนนี้ดื่มเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนถึง 3 ชนิดภายในช่วงเวลาเพียง 2 ชั่วโมง โดยดื่มกาแฟลาเต้ในเวลา 12.30 น. จากนั้นจึงดื่มเครื่องดื่มอัดลมประเภทไร้น้ำตาลยี่ห้อหนึ่ง ตามด้วยเครื่องดื่มชูกำลัง ก่อนที่เขาจะหมดสติกลางห้องเรียนในเวลา 14.30 น. และถูกประกาศว่าเสียชีวิตในเวลา 15.40 น.
ทั้งนี้ นายวัตส์ ยืนยันว่า ผลการชันสูตรแสดงให้เห็นว่า นายเดวิส ไม่มีอาการเกี่ยวกับหัวใจที่ซ่อนเร้นอยู่ เขามีสุขภาพแข็งแรง และไม่เป็นโรคที่จะเกิดอาการจากการดื่มคาเฟอีนด้วย นอกจากนั้น ยังไม่พบร่องรอยของยาหรือแอลกอฮอล์ ในกระแสเลือดของเขาด้วย “นี่ไม่ใช่การเสพยาเกินขนาด เราเสียเดวิสไปจากสารที่ถูกกฎหมายโดยสมบูรณ์
นอกจากนี้สิ่งที่หลายคนนั้นยังไม่เคยรู้นั้นก็คือนอกจากกาแฟจะมีประโยชน์แล้ว การดื่มกาแฟก็มีโทษเช่นกัน ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีสามารถดื่มกาแฟได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ทั้งนี้การดื่มกาแฟก็เช่นเดียวกับอาหารหรือสมุนไพรอื่น ๆ ที่อาจมีผลข้างเคียงหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เมื่อรับประทานเกินพอดี โดยเฉพาะเมื่อใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์บางประการหรือดื่มร่วมกับยาบางชนิด ผู้ใช้จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัยและพึงระมัดระวังดังนี้
-กาแฟประกอบด้วยสารคาเฟอีนที่สามารถก่อให้เกิดอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ และผลข้างเคียงอื่น ๆ
-การดื่มกาแฟในปริมาณมากอาจทำให้ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย วิตกกังวล ได้ยินเสียงดังในหู หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
-การได้รับกาแฟวันละ 6 แก้วอาจทำให้เกิดการเสพติดกาแฟ ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการวิตกกังวลหรือกระสับกระส่าย
การดื่มกาแฟจนติดเป็นเป็นนิสัยอาจส่งผลให้ขาดกาแฟไม่ได้ และอาจมีอาการที่เกิดจากการขาดคาเฟอีนหากเลิกดื่มกาแฟอย่างฉับพลัน
-กาแฟที่ชงแบบไม่กรองอาจมีปริมาณคอเลสเตอรอล ไขมันชนิดไม่ดี และระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์โดยรวมมากกว่ากาแฟชนิดอื่น ซึ่งจะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ทางที่ดีจึงควรดื่มกาแฟชงแบบกรองเพื่อลดคอเลสเตอรอลเหล่านี้
-มีข้อกังวลว่าการดื่มกาแฟมากกว่า 5 แก้วต่อวันอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ป่วยด้วยโรคหัวใจนั้น การดื่มกาแฟหลาย ๆ แก้วต่อวันไม่ได้เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจแต่อย่างใด
-เป็นที่กังวลเช่นกันว่าการดื่มกาแฟเป็นครั้งคราวอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ในบางคน นอกจากนี้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจสูงและดื่มกาแฟทุกวันแต่ไม่เกินวันละ 1 แก้วยังอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันสูงขึ้นเช่นกัน โดยจะเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากการดื่มกาแฟ ในขณะที่ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำในปริมาณที่มากกว่านั้นดูเหมือนจะไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะนี้
-การใช้กาแฟสวนทางทวารอาจไม่ปลอดภัย เพราะสามารถเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงตามมาจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
บุคคลที่ควรระมัดระวังในการดื่มกาแฟ
-หญิงที่ตั้งครรภ์ควรได้รับคาเฟอีนไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับกาแฟสำเร็จรูปไม่เกิน 2 แก้ว หรือเท่ากับกาแฟชงสด 1 แก้ว หากได้รับกาแฟมากกว่านี้อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด และทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยได้ โดยยิ่งได้รับกาแฟมากเท่าใดก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น
-การดื่มกาแฟวันละ 1-2 แก้วดูเหมือนจะไม่เป็นอันตรายสำหรับแม่ที่ต้องให้นมบุตรและทารก แต่การดื่มกาแฟในปริมาณมากอาจส่งผลต่อระบบย่อยอาหารของทารก อีกทั้งทำให้เด็กนอนไม่หลับและเกิดอาการหงุดหงิดฉุนเฉียวได้
-การให้เด็กดื่มกาแฟอาจไม่ปลอดภัย เพราะอาจมีผลข้างเคียงจากการดื่มที่รุนแรงมากกว่าในผู้ใหญ่
-ผู้ป่วยโรควิตกกังวลอาจมีอาการวิตกกังวลที่แย่ลงได้จากการดื่มกาแฟ
-ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีเลือดออกผิดปกติ การดื่มกาแฟอาจยิ่งทำให้อาการแย่ลงได้
-การดื่มกาแฟต้มจะยิ่งทำให้ได้รับคอเลสเตอรอลและไขมันชนิดอื่น ๆ ในเลือดสูงขึ้น รวมถึงระดับโฮโมซีสเตอีน (Homocysteine) ในร่างกายที่อาจจะสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ และยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่าการดื่มกาแฟนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
-บางงานวิจัยแนะนำว่าสารคาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟอาจส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยมีรายงานว่ากาแฟอาจไปเพิ่มหรือลดระดับน้ำตาลในเลือดก็ได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรใช้กาแฟอย่างระมัดระวังและหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
-การดื่มกาแฟอาจส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่แล้วมีระดับความดันโลหิตสูงยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำอยู่แล้วอาจได้รับผลกระทบนี้น้อยกว่า
-ผู้ป่วยโรคต้อหินไม่ควรดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีน เพราะอาจทำให้ความดันภายในดวงตาสูงขึ้น โดยจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ภายใน 30 นาทีแรกและคงอยู่อย่างน้อย 90 นาที
-การดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีนอาจทำให้แคลเซียมถูกขับออกทางปัสสาวะมากขึ้นจนกระดูกอ่อนแอลง ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจึงควรจำกัดปริมาณการดื่มกาแฟในแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 2-3 แก้ว และอาจรับประทานแคลเซียมเสริมเพื่อทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไป
-ผู้ที่มีอาการท้องเสียหรือมีโรคลำไส้แปรปรวนอยู่แล้วไม่ควรรับประทานกาแฟ เพราะสารคาเฟอีนในกาแฟอาจทำให้อาการท้องเสียหรืออาการของโรคแย่ลงกว่าเดิม โดยเฉพาะเมื่อได้รับในปริมาณมาก
-หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีโรคความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของวิตามินดีได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ควรระมัดระวังในการดื่มกาแฟเป็นพิเศษ
การดื่มกาแฟที่เกินขนาดมากเกินไป จะทำให้ส่งผลกระทบต่อร่างกาย อาจรุนแรงไปถึงขั้นเสียเสียชีวิตได้เลย!! เห็นอย่างนี้แล้ว อย่าลืมเตือนคนที่คุณรักให้ทานกาแฟอย่างพอดี และระมัดระวังกันด้วยนะ
อ้างอิงข้อมูลจาก นายแกรี วัตส์ เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพของเขต ริชแลนด์ เคาน์ตี ในรัฐเซาท์ แคโรไลนา