- 14 มิ.ย. 2562
พระเครื่อง เป็นประติมากรรมที่จำลองรูปสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มีขนาดเล็ก เพื่อสามารถนำติดตัวไปบูชา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ ความเป็นสิริมงคล และเป็นเครื่องคุ้มครองภยันตรายต่างๆ รวมไปถึงการสืบพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้ว่า แต่ละเมือง แต่ละจังหวัดที่มี ประวัติศาสตร์อันยาวนานมักจะมีการสร้างพระเครื่องอันมี ศิลปะและเอกลักษณ์ของแต่ละเมืองไว้เป็นพุทธานุสรณ์ อาทิ เมืองลำพูนก็มี พระรอด พระคง ศิลปะสกุลช่างหริภุญไชย, พระซุ้มกอ เมืองกำแพงเพชร, พระหูยาน ลพบุรี หรือ พระร่วง เมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัย เป็นต้น
พระเครื่อง เป็นประติมากรรมที่จำลองรูปสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มีขนาดเล็ก เพื่อสามารถนำติดตัวไปบูชา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ ความเป็นสิริมงคล และเป็นเครื่องคุ้มครองภยันตรายต่างๆ รวมไปถึงการสืบพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้ว่า แต่ละเมือง แต่ละจังหวัดที่มี ประวัติศาสตร์อันยาวนานมักจะมีการสร้างพระเครื่องอันมี ศิลปะและเอกลักษณ์ของแต่ละเมืองไว้เป็นพุทธานุสรณ์ อาทิ เมืองลำพูนก็มี พระรอด พระคง ศิลปะสกุลช่างหริภุญไชย, พระซุ้มกอ เมืองกำแพงเพชร, พระหูยาน ลพบุรี หรือ พระร่วง เมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัย เป็นต้น
สำหรับ"พระยอดธงพระเจ้าตาก" วัดพลับ บางกะจะ ที่มาของ พระยอดธงพระเจ้าตาก วัดพลับ บางกะจะ มีที่มาเกี่ยวเนื่องกับ ประวัติศาสตร์การกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเหตุผลที่เรียก พระยอดธง นี้ว่า พระยอดธงพระเจ้าตาก
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน พำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เข้ารับราชการทาง หัวเมืองเหนือ มีความดีความชอบจนได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าเมืองตาก พุทธศักราช ๒๓๐๙ พม่ากรีฑาทัพ มาล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก ถูกเกณฑ์ลงมาช่วยรักษาพระนคร ได้เป็นผู้นำต่อสู้กับพม่าอย่างเข้มแข็ง รักษาพระนครไม่ให้พม่าบุกเข้ากรุงได้ มีความดีความชอบ ได้เลื่อนยศเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร
เมื่อถึงคราวชะตา บ้านเมืองถึงกาลวิบัติ จึงดลบันดาลให้พระเจ้าเอกทัศน์ เกรงสนมกรมใน แก้วหูแตกมากกว่ากลัวจะเสียกรุง จึงออกคำสั่งว่า ผู้ใดจะยิงปืนใหญ่ต้อง ขออนุญาตจากศาลาลูกขุนเสียก่อน พระยาวชิรปราการ ซึ่งบัญชาการอยู่ทางด้านตะวันออก เห็นพม่ารุกไล่เข้ามา ก็ยิงปืนใหญ่ต่อสู้โดยพละการ ไม่ได้ขออนุญาตจากศาลาลูกขุน มีโจทย์ฟ้องแทบถูกลงโทษ แต่ด้วยเคยมีความดีความชอบมาก่อน จึงโดนภาคทัณฑ์ไว้ นับเป็นความโง่เขลาเบาปัญญาของชนชั้นปกครองในขณะนั้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้พระยาวชิรปราการ เกิดความท้อแท้ และเล็งเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาคงจะแตกในไม่ช้า อยู่ต่อไปก็ไร้ประโยชน์ จึงได้รวบรวมสมัครพรรค พวกรวม ๕๐๐ คน ตีฝ่าทัพพม่าออกไป
ทางด้านตะวันออก พม่าได้ส่งทหารจำนวน ๒,๐๐๐ คน ออกติดตามไปทันกัน ที่บ้านโพธิสังหาร พระยาตากและ พรรคพวกก็ต่อสู้เป็นสามารถ ฆ่าฟันทหารพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก จากนั้นได้พาไพร่พลไปตั้งมั่นอยู่ที่บ้านพรานนก และได้รบกับพม่าที่ดงศรีมหาโพธิ์ จนได้รับชัยชนะอีกครั้ง และออกเดินทางไปจนถึงเมืองปราจีนบุรี ตลอดทางที่ผ่านราษฎรที่ทราบข่าว จึงพากันมาขอเป็นสมัครพรรคพวกจำนวนมาก พระยาตาก ยกทัพลงไปถึงเมืองจันทบุรี แต่ พระยาจันทบุรี ไม่ยอมอ่อนน้อม กลับปิดประตูเมืองสั่งทหารเข้าประจำหน้าที่ ทำการป้องกันอย่างเข้มแข็ง พระยาตากได้ล้อมเมืองจันทบุรี อยู่เป็นเวลานานยังไม่สามารถหักเอาเมืองได้ ทางฝ่ายพระยาจันทบุรีถึงแม้จะมีไพร่พลมากกว่า แต่ก็มิกล้านำพลออกรบเพราะครั่นคร้ามต่อกิตติศัพท์ด้านการรบของทัพพระยาตาก
ต่อมาวันหนึ่ง หลังจากทหารหุงข้าวเย็นกินกันเป็นที่เรียบร้อย จึงมีบัญชาให้ทหารทุบหม้อข้าวและ เทอาหารที่เหลืออยู่ทั้งหมดทิ้งเสีย แล้วกล่าวว่า ถ้าไม่สามารถบุกเข้ายึด เมืองจันทบุรีในคืนนี้ให้ได้ ก็มีหวังอดตายด้วยกัน นับเป็นกุศโลบายอันลึกล้ำและเลื่องลือมาจนกระทั่งทุกวันนี้ พอย่ำค่ำ พระยาตากจึงให้ทหารเข้าประจำหน้าที่คอยฟังสัญญาณปืน ทำการเข้าปล้นเมืองเมื่อได้เวลายามสาม พระยาตากขี่ช้างชื่อ ช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนเป็นสัญญาณเข้าปล้นเมืองพร้อมกัน พระยาตากขับช้างเข้าพังประตูเมือง ข้าศึกยิงกระสุนต่อต้าน ท้ายช้างกลัวพระยาตาก จะเป็นอันตรายจึงบังคับช้างให้ถอยออกมา พระยาตากโกรธมากชักดาบ จะฆ่าท้ายช้างให้ตาย แต่ท้ายช้างขอชีวิตไว้ จึงขับช้างเข้าพังประตูทลายลง ทหารก็กรูเข้าเมืองได้ ชาวเมืองพากันแตกตื่นตกใจ ไม่คิดต่อสู้ขัดขืน พระยาตากจึงสามารถตีเมืองจันทบุรีได้ในคืนนั้น หลังจากนั้น พระยาตากจึงเกลี้ยกล่อมให้ผู้คนที่แตกตื่นหนีภัย ให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม ทำการจัดเมืองจันทบุรีให้สงบเรียบร้อย จึงได้รวบรวมไพร่พล ฝึกกองทัพให้กล้าแข็ง และต่อเรือไว้ใช้ในการศึกเตรียมการกู้อิสรภาพ
พระยาตากเป็นผู้ที่เลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งถึง แม้จะมีภาระในการปกครองบ้านเมือง ก็มิได้ลืมทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา โดยจะเห็นได้จากการไปปราบก๊ก พระยานครศรีธรรมราช เวลากลับได้สั่งให้นำ พระไตรปิฎก มาคัดลอกไว้ แล้วส่งต้นฉบับคืน ณ ตำบลบางกะจะ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี อันเป็นบริเวณที่พระยาตาก ส้องสุมรี้พลต่อเรือรบ ปัจจุบันยังปรากฏหลักฐานป้อมค่ายต่างๆ ใต้บริเวณดังกล่าว เป็นที่ตั้งวัดสำคัญ เรียกกันว่า วัดพลับ กล่าวกันว่า เป็นวัดที่พระยาตากได้สร้างพระเจดีย์และบรรจุพระเครื่องชนิดหนึ่งไว้เป็นพุทธานุสรณ์ ในการที่รบได้ชัยชนะพระเครื่องดังกล่าวนิยมเรียกว่า "พระยอดธงพระเจ้าตาก"
พระยอดธงพระเจ้าตาก เป็นพระหล่อแบบโบราณ พุทธลักษณะองค์พระเป็น แบบลอยองค์ประทับนั่งไม่มีอาสนะหรือฐาน มีทั้งแบบปางมารวิชัยและปางสมาธิ ที่ใต้องค์พระจะปลายกฏเดือยลักษณะเป็นแท่งกลมยื่นออกมาพอประมาณ รายละเอียดขององค์พระไม่ค่อยจะมีความประณีตงดงามนัก พระเนตร (ตา) พระนาสิก (จมูก) ไม่ค่อยติดชัดเจนพอเห็นเป็นเค้าเท่านั้น ส่วนพระโอษฐ์จะเป็นเหมือนรอยเส้นเว้าลึกลงไปในเนื้อ เท่าที่พบมี ๒ ขนาดด้วยกันคือ พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก ในด้านเนื้อหาของ พระยอดธงพระเจ้าตากนี้ เป็นพระที่สร้างด้วยเนื้อชินเงิน แต่ส่วนมากผิวพระจะเกิดสนิมขุมกัดกร่อน มีรอยร้าวระเบิดแตกปริ สนิมจัดที่เรียกกันว่าสนิมตีนกานับเป็นพระเครื่องที่น่าภาคภูมิใจของจังหวัดจันทบุรีอีกพิมพ์หนึ่ง
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://palungjit.org
ขอบคุณภาพจาก : http://www.thaprachan.com