สะพานร้องไห้ ประติมากรรมแห่งความอาลัย รัชกาลที่5 สวรรคต

สะพานมหาดไทยอุทิศ เปิดใช้เป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๗ เป็นสะพานของถนนบริพัตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เพื่อข้ามคลองมหานาค ณ จุดบรรจบระหว่างคลองมหานาคกับคลองรอบกรุงหรือคลองโอ่งอ่าง-บางลำพู มาเชื่อมกับถนนดำรงรักษ์และถนนหลานหลวง รวมทั้งถนนราชดำเนิน 

จากเหตุการณ์ที่แผ่นดินสยามได้สูญเสียพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักของพสกนิกรทั่วทั้งแผ่นดินสยาม เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ สะพานร้องไห้ เป็นสะพานข้ามคลองมหานาค ใกล้ป้อมมหากาฬ เชื่อมระหว่างถนนบริพัตร์กับถนนราชดำเนินกลาง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อแสดงความโศกเศร้าของพสกนิกรในการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จสวรรคต 

 

สะพานร้องไห้ ประติมากรรมแห่งความอาลัย รัชกาลที่5 สวรรคต

สะพานมหาดไทยอุทิศ เปิดใช้เป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๗ เป็นสะพานของถนนบริพัตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เพื่อข้ามคลองมหานาค ณ จุดบรรจบระหว่างคลองมหานาคกับคลองรอบกรุงหรือคลองโอ่งอ่าง-บางลำพู มาเชื่อมกับถนนดำรงรักษ์และถนนหลานหลวง รวมทั้งถนนราชดำเนิน 

 

สะพานร้องไห้ ประติมากรรมแห่งความอาลัย รัชกาลที่5 สวรรคต

 

สะพานมหาดไทยอุทิศตั้งอยู่ใกล้เคียงกับภูเขาทอง วัดสระเกศและป้อมมหากาฬ สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยร่วมกับข้าราชการของกระทรวงทั่วประเทศร่วมกันบริจาคค่าก่อสร้าง ซึ่งรวมเงินได้ ๔๑,๒๔๑ บาท ๖๑ สตางค์ มอบให้กรมสุขาภิบาลเป็นผู้สร้าง สิ้นค่าก่อสร้างไปทั้งสิ้น ๕๗,๐๕๓ บาท ๒๙ สตางค์ ส่วนที่เกินโปรดเกล้าให้กรมสุขาภิบาลออกเงินสมทบ

การก่อสร้างสะพานมหาดไทยอุทิศเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อให้การสัญจรไปมาสะดวกขึ้นเนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่รวมของถนนหลายสาย แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามสะพานมหาดไทยอุทิศและโปรดเกล้าให้กรมสุขาภิบาลทำหุ่นจำลองตัวสะพานไปตั้งถวายตัวในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

 

สะพานร้องไห้ ประติมากรรมแห่งความอาลัย รัชกาลที่5 สวรรคต

 

สะพานมหาดไทยอุทิศมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและก่อสร้างตามวิธีสมัยใหม่ กลางราวสะพานด้านขวามีภาพประติมากรรมนูนต่ำเป็นรูปสตรีอุ้มเด็ก ในมือมีช่อดอกซ่อนกลิ่น ด้านซ้ายเป็นรูปผู้ชายยืนจับไหล่ของเด็ก เป็นภาพแสดงถึงความโศรกเศร้าอาลัยรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดสะพานด้วยพระองค์เองในคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ 

 

สะพานร้องไห้ ประติมากรรมแห่งความอาลัย รัชกาลที่5 สวรรคต

 

นอกจากนี้ "สะพานมหาดไทยอุทิศ" มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรม แบบยุโรปแกะสลักภาพนูนต่ำแห่งนี้ มีเพียงผู้คนส่วนน้อยเท่านั้นที่รู้ชื่อจริงๆ ซึ่งก็คือ เพราะส่วนใหญ่จะเรียกและคุ้นเคยกับ "สะพานร้องไห้" มากกว่า  ชื่อสะพานร้องไห้ สันนิฐานว่าน่าจะมาจากการเรียกตามอัปกิริยาของรูปปั้นศิลปะที่อยู่บนตัวสะพาน บนตัวสะพาน จะมีรูปปั้นผู้หญิงอุ้มเด็กในมือเด็กถือช่อดอกซ่อนกลิ่นยืนร้องไห้อยู่ และเสาข้างๆกันนั้นเป็นผู้ชายกับเด็กยืนอยู่ ใบหน้าบ่งบอกถึงความเศร้าโศก เสียใจ สะท้อนความรู้สึกออกมาทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความรู้สึกเศร้าใจตามไปด้วย

 

สะพานร้องไห้ ประติมากรรมแห่งความอาลัย รัชกาลที่5 สวรรคต

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/สะพานมหาดไทยอุทิศ