ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ในรัชกาลที่ 10

เมื่อปี พ.ศ. 2425 ในโอกาสครบรอบการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีมาเป็นเวลาครบ 100 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระราชทานนามเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ว่า "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" หรือเรียกอย่างย่อว่า "ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์" สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่สืบเนื่องโดยตรงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (อังกฤษ: The Most Illustrious Order of the Royal House of Chakri) มีอักษรย่อว่า ม.จ.ก. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งพระมหากษัตริย์จะพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่สืบเนื่องโดยตรงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหรือผู้ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ดังกล่าวได้เสกสมรส นอกจากนี้ ยังสามารถพระราชทานแก่ประมุขของต่างประเทศด้วย

 

ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ในรัชกาลที่ 10

 

 

เมื่อปี พ.ศ. 2425 ในโอกาสครบรอบการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีมาเป็นเวลาครบ 100 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระราชทานนามเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ว่า "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" หรือเรียกอย่างย่อว่า "ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์" สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่สืบเนื่องโดยตรงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

 

ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ในรัชกาลที่ 10

 

เหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่ประดับบนเครื่องแบบฉลองพระองค์ รัชกาลที่ 10 เหรียญราชอิสริยาภรณ์ คือ เหรียญที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่บุคคลต่าง ๆ และสำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามที่ทางราชการกำหนด

จากซ้ายไปขวา

1 ดวงตราตติยานุจุลจอมเกล้า เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานเฉพาะฝ่ายหน้า (บุรุษ) เท่านั้น เดิมทีเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 เรียกว่า ปฐมจุลจอมเกล้า ต่อมามีพระราชดำริเห็นสมควรเพิ่มชั้นพิเศษสำหรับชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เป็นเกียรติยศและประโยชน์แก่ผู้รับราชการยิ่งขึ้น เรียกว่า ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ โดยทรงเพิ่มดวงตราตติยานุจุลจอมเกล้า เป็นเครื่องหมายเพิ่มเติมสำหรับชั้นนี้

2 เหรียญกล้าหาญ สร้างขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 8 ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กำลังทรงกระทำยุทธหัตถีกับราชศัตรู มีอักษรที่ริมขอบเหรียญว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกู้ชาติ เบื้องบนมีเข็มโลหะรูป คฑาจอมพล มีอักษรว่า กล้าหาญ

3 เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 9 สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ด้วยความกล้าหาญ หรือได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือตายในการสู้รบ โดยที่การสู้รบนั้นได้ก่อให้เกิดผลดีอย่างยิ่งแก่การปราบปราม

4 เหรียญราชการชายแดน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 9 สำหรับพระราชทานแก่ผู้ที่ได้ปฏิบัติราชการชายแดนเป็นพิเศษ

5 เหรียญจักรมาลา สถาปนาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการสำหรับทหาร

6 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 จัดเป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาส่วนพระองค์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานแก่ผู้ใดนั้น แล้วแต่จะมีพระราชดำริเห็นสมควร

7 เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 9 เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้น สำหรับพระราชทานแก่ข้าราชการในราชสำนัก นายทหารรักษาพระองค์ และผู้มีบำเหน็จความชอบในราชสำนัก รวมถึงข้าราชการในราชสำนักแห่งพระมหากษัตริย์ต่างประเทศ

 

ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ในรัชกาลที่ 10

 

เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เรียกย่อว่า ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในโอกาสครบรอบการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่สืบเนื่องโดยตรงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือผู้ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ดังกล่าวได้เสกสมรสด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถพระราชทานแก่ประมุขของต่างประเทศอีกด้วย

ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ เคยเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุด ลำดับที่ 1แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ขึ้น สำหรับพระราชทานแด่ประมุขของต่างประเทศเท่านั้น และจัดเป็นลำดับเกียรติสูงสุด ลำดับที่ 1 ในหมู่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยจากทั้งหมด 36 ลำดับ ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์จึงมีลำดับเกียรติเป็นลำดับที่ 2 แต่ถือเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดที่พระบรมวงศานุวงศ์ไทยจะได้รับพระราชทาน

           สำหรับตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ มีการพระราชทานครั้งล่าสุด คือ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 โดยพระราชทานเแด่สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์แห่งมาเลเซีย เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556 ในโอกาสเสด็จ ฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ

ปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเป็นประธานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. นี้ และยังไม่มีการพระราชทาน ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ แก่พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดในรัชสมัยนี้

 

ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ในรัชกาลที่ 10

 

          สำหรับเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ออกแบบโดยเสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย องค์ประกอบ 1 สำรับ ได้แก่ ตรามหาจักรี ตราจุลจักรี ดาราจักรี สายสร้อยและแพรแถบ ในภาพ คือ ตรามหาจักรีและสายสร้อย

ตรามหาจักรี ด้านหน้าเป็นรูปจักร 8 กลีบ ลงยาสีขาว มีรูปตรีศูลเงินระหว่างกลีบจักร กลางวงจักรเป็นรูปปทุมอุณาโลมประดับเพชร พื้นลงยาสีฟ้า ขอบลงยาสีแดง มีอักษรทองเป็นคาถาภาษิตภาษาบาลีเขียนอักษรไทยว่า ติรตเน สกรฏฺเฐ จ สมฺพํเส จ มมายนํ สกราโชชุจิตฺตญฺจ สกรฏฺฐภิวฑฺฒนํ แปลว่า ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดี ในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องทำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง

รอบขอบเป็นมาลัยชัยพฤกษ์ ใบลงยาสีเขียว ดอกลงยาสีชมพูใต้พวงมาลัยเป็นแพรแถมลงยาสีชมพู มีอักษรย่อเป็นภาษิตของเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์นี้ว่า ร.จ.บ.ต.ว.ห.จ. ย่อมาจาก เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ

เบื้องบนมีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ป.ร.ร. 4 ไขว้กัน โดยย่อมาจากคำว่า บรมราชาธิราชรามาธิบดีที่ 4 อันหมายถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และมีพระมหามงกุฎทองรัศมีเงิน ด้านหลังเป็นรูปครุฑ ปราสาท มหามงกุฏ และจุลมงกุฏ ทำด้วยทอง พื้นลงยาสีเขียว ขอบรอบลงยาสีแดง และมีอักษรทองว่า ปีมะเมีย จัตวาศก ศักราช ๑๒๔๔ และ ปฐมรัชกาลเป็นปีที่ครบร้อย สายสร้อยเป็นรูปอุณาโลมลงยา กลางอุณาโลมประดับเพชร สลับกันไปกับจักรีแฝดลงยา มีสร้อยทองยึดตลอด ยาว 55 เซนติเมตร ไว้สำหรับห้อยตรามหาจักรี

 

ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ในรัชกาลที่ 10

ดาราจักรีในสำรับเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ออกแบบโดยเสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย

ดาราจักรี เป็นรูปจักร 10 กลีบ ลงยาสีขาว มีรูปตรีศูลเงินและรัศมีเปลวสีเงินสลับกันไปรอบกลีบจักร กลางดาราเป็นรูปปทุมอุณาโลมประดับเพชรขอบลงยา และมีคาถาภาษิต ติรตเน สกรฏฺเฐ จ สมฺพํเส จ มมายนํ สกราโชชุจิตฺตญฺจ สกรฏฺฐภิวฑฺฒนํ หมายถึง ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดี ในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องทำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง

 

ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ในรัชกาลที่ 10

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : iG @chin_meechai (ชินดนัย มีชัย)