- 01 ม.ค. 2563
เรียกได้ว่าหลายๆบ้านจะมีสัตว์เลี้ยงคู่ใจ ไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือแมว แต่จะมีเจ้าตัวร้ายที่มากับสุนัข แมวของเรานั่นเอง บ้างบ้านใช้ยาฆ่าเห็บแต้มไว้ที่ตัวสุนัข แต่ก็ยังมีเห็บอยู่ดี เห็บตัวร้ายมักจะมาเกาะกินเลือดของสัตว์เลี้ยงเราหรือถ้าเรานอนกับสุนัข ต้องระวังให้มากเพราะเห็บอาจมากัดและดูดเลือดเราได้
เรียกได้ว่าหลายๆบ้านจะมีสัตว์เลี้ยงคู่ใจ ไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือแมว แต่จะมีเจ้าตัวร้ายที่มากับสุนัข แมวของเรานั่นเอง บ้างบ้านใช้ยาฆ่าเห็บแต้มไว้ที่ตัวสุนัข แต่ก็ยังมีเห็บอยู่ดี เห็บตัวร้ายมักจะมาเกาะกินเลือดของสัตว์เลี้ยงเราหรือถ้าเรานอนกับสุนัข ต้องระวังให้มากเพราะเห็บอาจมากัดและดูดเลือดเราได้ วันนี้เราเลยนำสูตร 16 สมุนไพร "กำจัดเห็บ" ปลอดภัยไร้สารเคมี มาฝากทุกคนกัน
เห็บ เป็นปรสิตภายนอกที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย มีหลายสายพันธุ์แต่สายพันธุ์ที่พบได้มากที่สุดในสุนัขเลี้ยงในประเทศไทยคือ Rhipicephalus sanguineus มีรูปร่างแตกต่างกันขึ้นกับช่วงชีวิตโดยเห็บตัวเต็มวัยจะมีขา 8 ขา และเห็บจะมีส่วนหัวไม่ชัดเจนแต่จะเห็นส่วนที่เป็นปากยื่นออกมาทางตอนหน้าตัว เห็บจะใช้ส่วนปากของมันแทงผิวหนังของสุนัขและฝังปากของมันเข้าในชั้นใต้ผิวหนังเพื่อเกาะบนตัวสุนัข แล้วดูดกินเลือดเป็นอาหาร
จากผลงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนาสมุนไพรเพื่อใช้ภายนอกในทางสัตวแพทย์” โดย รศ.ดร.น.สพ. ณรงค์ จึงสมานญาติ และคณะฯ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า มีพืชไทย 16 ชนิด ที่มีฤทธิ์ในการกำจัดเห็บได้ และพบวิธีสกัดแบบง่ายที่เกษตรกรหรือผู้เลี้ยงสุนัขสามารถทำได้เอง มี 7 สูตร ไปดูกันเลย
1.ตะไคร้แกง
โดยการกลั่นใบตะไคร้แกงด้วยไอน้ำ ด้วยชุดกลั่น สำหรับเกษตรกร ใบตะไคร้แกงสด 10 กิโลกรัม กลั่นน้ำมันได้ 40 ซีซี ผสมด้วยแอลกอฮอล์ (95%) 16 เท่า ใช้ฉีดพ่นกำจัดเห็บตัวอ่อนบนตัวโคและสุนัข
ถ้าต้องการพ่นเห็บตัวแก่ไม่ให้ออกไข่ด้วย ให้ผสมน้ำมันตะไคร้แกงด้วยแอลกอฮอล์ได้เพียง 4 เท่า ฉีดพ่นบนตัวโคและสุนัขสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ห้ามพ่นเข้าตาสัตว์ เนื่องจากผสมกับแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้แสบตา หากถูกตาสัตว์จะทำให้กระจกตาขุ่นและเป็นแผลได้ทางที่ดีให้พ่นตาม ซอกมุม หลุม ของพื้นบริเวณที่สัตว์นอนหลับ ซึ่งเห็บโคจะปล่อยตัวลงพื้น 1 ครั้ง เพื่อวางไข่ที่พื้น
ส่วนเห็บสุนัข แมว จะปล่อยตัวลงพื้นในขณะสุนัข แมว นอนหลับ เพื่อลอกคราบ 2 ครั้ง (เห็บตัวอ่อนดูดกินเลือดอยู่บนตัวสุนัข 4-5 วัน จะปล่อยตัวลงพื้น คลานหาซอกมุม หลุม ที่ปลอดภัย เพื่อลอกคราบเป็นตัวกลางวัย แล้วขึ้นตัวสุนัขใหม่ดูดกินเลือดอีก 4-5 วัน แล้วปล่อยตัวลงพื้นเพื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยขึ้นสุนัข ดูดเลือดและผสมพันธุ์กันแล้วปล่อยตัวลงพื้นอีก 1 ครั้ง เพื่อวางไข่ ประมาณ 2,000 ฟอง ต่อตัว หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ ไข่เห็บจะฟักออกมาเป็นตัวเห็บอ่อน คลานขึ้นสุนัขตัวใหม่
2.น้ำมันตะไคร้หอม
ใช้ชุดเครื่องกลั่นด้วยไอน้ำสำหรับเกษตรกร ได้น้ำมัน 70 ซีซี จากใบตะไคร้หอมสด 10 กิโลกรัม นำน้ำมันตะไคร้หอมที่กลั่นได้มาผสมด้วยแอลกอฮอล์ (95%) 12 เท่า ใช้ฉีดพ่นเพื่อกำจัดเห็บตัวอ่อนบนตัวโคและสุนัข แมว
ถ้าต้องการพ่นเห็บตัวแก่ ให้ผสมน้ำมันตะไคร้หอมด้วยแอลกอฮอล์ได้เพียง 3 เท่า ฉีดพ่นตามซอกมุม หลุม ของพื้นบริเวณที่สัตว์นอนหลับ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ถ้าจะพ่นที่ตัวสัตว์ต้องห้ามพ่นเข้าตา เนื่องจากผสมกับแอลกอฮอล์ เช่นเดียวกัน
3.เม็ดน้อยหน่า
นำเมล็ดน้อยหน่ามาบดเมล็ดน้อยหน่าให้เป็นผง แช่ด้วยน้ำที่มีแอลกอฮอล์ 1 ใน 10 ส่วน (10% แอลกอฮอล์) โดยใส่แค่พอท่วมผงเมล็ดน้อยหน่า แช่ทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงค่อยกรองคั้นเก็บส่วนน้ำ แล้วใช้ 10% แอลกอฮอล์หรือน้ำ เทล้างผงเมล็ดน้อยหน่า อีก 2 ครั้ง ด้วยปริมาตรเท่าเดิม จากนั้นกรองคั้นส่วนน้ำมารวมกันเป็นสูตรเข้มข้น ใช้ฉีดพ่นกำจัดเห็บบนตัวสัตว์ได้ทั้งเห็บตัวอ่อนและเห็บตัวแก่ พ่นสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์
วิธีที่ดีที่สุด ให้ฉีดพ่นเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อไม่ให้เห็บที่ขึ้นตัวสัตว์ใหม่นั้นดูดเลือดสุนัข จนเจริญตัวเป็นตัวแก่ โดยเฉพาะในโค เห็บที่ขึ้นใหม่จะเป็นเห็บตัวอ่อนเท่านั้น จึงสามารถเจือจางสารสกัดสูตรเข้มข้นที่ได้ อีก 300 เท่า เพื่อกำจัดเฉพาะตัวอ่อนเห็บอย่างเดียว ที่จะขึ้นใหม่จากพื้น
สำหรับเห็บสุนัขต้องใช้สูตรเข้มข้นทุกครั้ง เพราะเห็บที่ขึ้นใหม่ จะเป็นทั้งเห็บตัวอ่อน เห็บตัวกลางวัย และเห็บตัวเต็มวัย ไม่ใช่เฉพาะเห็บตัวอ่อนอย่างเดียวเหมือนของเห็บโคเมล็ดมันแกว
4. เปลือกส้มโอ
บีบน้ำมันจากเปลือกผลส้มโอลูกเล็กๆ ที่เกษตรกรเด็ดทิ้ง ในกรณีที่ติดผลอ่อนมากเกินไป หรือบีบน้ำมันจากเปลือกผลส้มที่ซื้อมารับประทาน โดยบีบให้น้ำมันพุ่งใส่ขวดปากกว้าง แล้วดูดเก็บเฉพาะน้ำมันซึ่งลอยอยู่บนส่วนที่เป็นน้ำ นำมาผสมด้วยแอลกอฮอล์ (95%) 10 เท่า ของปริมาตรน้ำมัน ใช้ฉีดพ่นเห็บโค หรือสุนัข แมว ได้ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ ถ้ามีเปลือกผลส้มจำนวนมาก ใช้วิธีการบีบเห็บด้วยไฮโดรลิกหรือโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
5.ใบน้อยหน่า
ใช้ใบน้อยหน้าสดประมาณ 4 ใบนำมาตำผสมกับแอลกอฮอล์ 40 ดีกรี แล้วเอาน้ำที่ได้มาชโลมให้ทั่วตัวสัตว์เลี้ยง แล้วใช้ผ้าคลุมไว้ประมาณ 10 นาที (อัตราส่วน 1:2) แล้วกรองเอาแต่น้ำมาชโลมให้ทั่วตัวสัตว์เลี้ยง แล้วใช้ผาโพกไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง และห้ามชโลมยาทิ้งไว้ข้ามคืน ทำเสร็จแล้วให้ล้างทำความสะอาด
6. เมล็ดมันแกว
บดเมล็ดมันแกวให้เป็นผง เติมน้ำ 2 เท่า ของน้ำหนักผงเมล็ดมันแกว ต้มนาน 20 นาที ขณะต้มคอยเติมน้ำให้เท่าเดิม อย่าให้น้ำแห้ง กรองส่วนน้ำมาเก็บไว้ในตู้เย็น 7-20 วัน แล้วจึงนำมาผสมน้ำอีก 220 เท่า ฉีดพ่นเพื่อกำจัดเห็บตัวอ่อนบนตัวโค สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือผสมน้ำ 5 เท่า สำหรับฉีดพ่นเห็บตัวแก่ไม่ให้ออกไข่ ทั้งของสุนัขและโคตะไคร้
7. มะขามเปียก
เป็นสารสกัดจากพืชที่มีฤทธิ์อ่อนที่สุดใน 6 ชนิดนี้ สกัดด้วยการแช่มะขามเปียกในน้ำ หรือใน 10% แอลกอฮอล์ โดยใช้น้ำหรือ 10% แอลกอฮอล์ในปริมาตร 5 เท่า ของน้ำหนักมะขามเปียก แช่ค้าง 1 คืน แล้วเทเฉพาะสารละลายมาใส่ขวดฉีดพ่นกำจัดเห็บตัวแก่ ตัวเห็บจะถูกสารสกัดจากน้ำมะขามเปียกกัดเป็นแผล การใช้ 10% แอลกอฮอล์แช่สกัดจะทำให้สารละลายที่สกัดได้ไม่มีเชื้อราขึ้นด้วย
เป็นยังไงกันบ้างหละคะ ไม่ยากเลยใช่มั้ยเป็นสูตรที่ทำได้เองง่ายๆ ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว นอกจากสัตว์เลี้ยงจะปลอดภัยจากสารเคมีแล้ว ยังปลอดภัยจากเห็บอีกด้วยอย่ารอช้านะคะสุขภาพขแงเราและสัตว์เลี้ยงที่เรารักเป็นเรื่องที่ต้องดูแลและใส่ใจ หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อทุกคนนะคะ