หลวงปู่มั่น เกือบไม่ได้บวช เพราะขึ้นเวทีหมอลำในงานบวชตัวเอง

"หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต" หรือนามตามสมณศักดิ์ว่า "พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต" เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายชาวจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นบูรพาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย

"หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต" หรือนามตามสมณศักดิ์ว่า "พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต" เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายชาวจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นบูรพาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย

 

หลวงปู่มั่น เกือบไม่ได้บวช เพราะขึ้นเวทีหมอลำในงานบวชตัวเอง

 

"พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต"  เกิดในครอบครัว “แก่นแก้ว”  เป็นคนร่างสันทัด ผิวค่อนข้างขาว หน้าตาคมสัน  ตั้งแต่เด็กเป็นคนเอาการเอางาน รักการอ่านหนังสือ เฉลียวฉลาดเกินเด็กในละแวกเดียวกัน สามารถอ่านหนังสือประวัติศาสตร์และนวนิยายของอีสานจนแตกฉาน  เมื่ออายุ ๑๕ ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร  แต่เพียง ๒ ปี ก็สึกออกมาช่วยครอบครัวเลี้ยงชีพ

 

หลวงปู่มั่น เกือบไม่ได้บวช เพราะขึ้นเวทีหมอลำในงานบวชตัวเอง

 

ระหว่างนี้ "หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล" ธุดงค์มาพักที่ป่ากุดเม็ก อยู่ใกล้บ้านคำบง หมู่บ้านที่พักของหลวงปู่มั่น  ป่ากุดเม็กเป็นป่าร่มรื่น เต็มไปด้วยต้นเม็กหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ผักเม็ก” (ใบยอดใช้จิ้มกับน้ำพริกหรือใช้เป็นผักเคียงกับลาบ)  ป่าแห่งนี้เปลี่ยวร้าง แทบไม่มีใครกล้าเดินผ่าน ทำให้ปลอดผู้คน จึงเหมาะกับการบำเพ็ญสมาธิ  หากใครคิดอยากจะมากราบหลวงปู่เสาร์จะต้องเดินรวมหมู่กันหลายคน


หลวงปู่มั่น เกือบไม่ได้บวช เพราะขึ้นเวทีหมอลำในงานบวชตัวเอง

 

ข่าวมีพระธุดงค์มาปักกลดอยู่ใกล้หมู่บ้านรู้ไปถึงบ้านคำบง สร้างความปลาบปลื้มให้กับชาวบ้านและต่างพากันมาทำบุญ  นี่นับเป็นครั้งแรกที่หลวงปู่มั่นซึ่งในตอนนั้นอายุ ๑๗ ปี ได้มอบตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่เสาร์  หลวงปู่เสาร์เห็นหน่วยก้านของเด็กหนุ่มคนนี้ว่ามีแววจึงออกปากขออนุญาตจากโยมบิดามารดาว่าจะขอตัวไปบวช ซึ่งผู้ปกครองทั้งสองก็อนุญาตด้วยความยินดี

 

หลวงปู่มั่น เกือบไม่ได้บวช เพราะขึ้นเวทีหมอลำในงานบวชตัวเอง

 

เส้นทางป่ากุดเม็กมีแต่หลวงปู่มั่นคนเดียวเท่านั้นที่กล้าเดินเข้าออกตามลำพังเพียงคนเดียวเพื่อมาเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่เสาร์  ยามที่อยู่กับครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่นจะทำหน้าที่เช็ดทำความสะอาดบาตร ต้มน้ำ คอยประเคนข้าวของ  บางครั้งบางคราวก็ไม่ยอมกลับบ้าน ถึงขนาดต้องนอนพักค้างคืนในป่าเลยทีเดียว กิตติศัพท์ชื่อเสียงอย่างหนึ่งของหลวงปู่มั่นในขณะนั้นคือเป็นหมอลำฝีปากเอก ลำเดินนิทานพื้นบ้านอีสานได้อย่างไพเราะจับใจ ผู้เฒ่าผู้แก่ฟังแล้วซาบซึ้งจนน้ำตาไหล  ครั้นถึงงานวันบวชนาคของหลวงปู่มั่น ทางพ่อแม่พี่น้องตระกูลแก่นแก้วได้จัดงานมหรสพในคืนก่อนบวช  

 

หลวงปู่มั่น เกือบไม่ได้บวช เพราะขึ้นเวทีหมอลำในงานบวชตัวเอง

 

ในงานมีหมอลำกล่าวสอนนาค  บังเอิญว่าหมอลำฝ่ายชายไม่ได้มา ทำเอาบรรดาญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงที่มาร่วมงานหมดสนุก  ผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งหลายรบเร้าให้ “นาคมั่น” ขึ้นเวทีด้นกลอนสด  ฝ่ายนาคมั่นทนเสียงรบเร้าอ้อนวอนจากผู้ใหญ่ไม่ได้จึงขึ้นเวทีทำหน้าที่หมอลำขานนาคแทน

 

หลวงปู่มั่น เกือบไม่ได้บวช เพราะขึ้นเวทีหมอลำในงานบวชตัวเอง

 

เมื่อเรื่องนี้ไปถึงหูพระอุปัชฌาย์จึงได้ตำหนิว่าเป็นเรื่องไม่สมควร ทำเอานาคมั่นหวุดหวิดจะไม่ได้บวช  บรรดาญาติพี่น้องต้องยกโขยงมากราบขอขมาลาโทษครูบาอาจารย์ ในที่สุด หลวงปู่มั่นก็ได้ออกบวชที่วัดศรีทอง อุบลราชธานี  จากนั้นจึงย้ายมาจำพรรษาที่วัดเลียบกับหลวงปู่เสาร์

หลวงปู่มั่น เกือบไม่ได้บวช เพราะขึ้นเวทีหมอลำในงานบวชตัวเอง