เตือนพ่อแม่! เฝ้าระวัง ไวรัส RSV เด็กเล็กเสี่ยงป่วยง่าย ระบาดหนักในฤดูฝน

ฤดูกาลที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาว ทำให้เกิดอาการป่วย โดยเฉพาะในเด็ก เชื้อไวรัส RSV เชื้อนี้มองเผิน ๆ อาจเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะอันตรายอาจถึงแก่ชีวิตได้

เตือนพ่อแม่! เฝ้าระวัง ไวรัส RSV เด็กเล็กเสี่ยงป่วยง่าย ระบาดหนักในฤดูฝน  

เตือนพ่อแม่! เฝ้าระวัง ไวรัส RSV เด็กเล็กเสี่ยงป่วยง่าย ระบาดหนักในฤดูฝน

 

ก่อนอื่นเราทำความรู้จักกับ ไวรัส RSV กันก่อนเลย

ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง สามารถเกิดการติดเชื้อได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากแล้วมักเกิดในเด็กเล็ก ๆ ที่อายุต่ำกว่า 3 ปี สำหรับในประเทศไทยอาจพบการระบาดได้บ่อยในช่วงฤดูฝนหรือช่วงปลายฝนต้นหนาว

เตือนพ่อแม่! เฝ้าระวัง ไวรัส RSV เด็กเล็กเสี่ยงป่วยง่าย ระบาดหนักในฤดูฝน

การติดต่อของ RSV

การติดต่อของเชื้อ RSV นี้สามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่งต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอ จาม โดยเฉพาะการติดต่อจากการสัมผัส ซึ่งหากเด็กได้รับเชื้อ ระยะฟักตัวของโรคจะอยู่ที่ประมาณ 5 วัน โดยในช่วง 2 – 4 วันแรกมักมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น ไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล เมื่อการดำเนินโรคมีมากขึ้นส่งผลให้ทางเดินหายใจส่วนล่างมีการอักเสบตามมา ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ และโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ ในบางรายเกิดอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ไอแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงครืดคราด มีเสมหะในลำคอมาก ๆ

ทางด้าน นายเเพทย์ ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนมักพบการระบาดของกลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจเป็นส่วนใหญ่ เช่น โรคโควิด 19 ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ และโรคติดเชื้อไวรัส RSV ซึ่งไวรัส RSV มักพบการแพร่ระบาดในกลุ่มเด็กเล็กเป็นหลัก

เตือนพ่อแม่! เฝ้าระวัง ไวรัส RSV เด็กเล็กเสี่ยงป่วยง่าย ระบาดหนักในฤดูฝน

จากข้อมูลการเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อก่อโรคไข้หวัดใหญ่และโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในประเทศไทยเฉพาะพื้นที่ (Sentinel Surveillance) ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 - 8 มิถุนายน 2567 โดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และศูนย์ความร่วมมือไทย - สหรัฐ ด้านสาธารณสุข พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส RSV 1,226 ราย จากผู้ป่วยทางเดินหายใจ 19,179 ราย (ร้อยละ 6.39) อายุระหว่าง 9 วัน - 87 ปี (อายุเฉลี่ย 2 ปี)

เตือนพ่อแม่! เฝ้าระวัง ไวรัส RSV เด็กเล็กเสี่ยงป่วยง่าย ระบาดหนักในฤดูฝน

 

โดยตรวจพบมากที่สุดในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี 573 ราย (ร้อยละ 46.74) รองลงมา คือ อายุ 2 - 5 ปี 472 ราย (ร้อยละ 38.50) และอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป 181 ราย (ร้อยละ 14.76) มีผู้เสียชีวิต 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.24 อายุต่ำสุด 1 ปี 8 เดือน และสูงสุด 86 ปี ส่วนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป พบติดเชื้อ RSV 28 ราย (ร้อยละ 2.28)  ทั้งนี้จำแนกเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง 20 ราย (ร้อยละ 71.4) 

นายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อมูลจากการเฝ้าระวังโรคฯ ของกองระบาดวิทยา พบว่า เชื้อ RSV มักจะเป็นสาเหตุของการเกิดปอดอักเสบรุนแรงในเด็กและผู้สูงอายุ หากดูลักษณะทางระบาดวิทยาในช่วงปีที่ผ่าน ๆ มา จะพบโรคติดเชื้อไวรัส RSV ได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงเดียวกับฤดูกาลระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่

นอกจากนี้ อาการและการติดต่อมีความคล้ายกัน จึงคาดว่าจะเริ่มมีรายงานผู้ป่วยเพิ่มสูงมากขึ้นในช่วงระยะนี้เป็นต้นไป ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วนั้น เนื่องจากไวรัสจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลาหลายชั่วโมงโดยอาศัยอยู่ตามวัตถุต่าง ๆ และเชื้อยังแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการไอ หรือการจาม เช่นเดียวกับโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค เน้นย้ำให้ประชาชนหรือผู้ปกครองเตรียมพร้อมเฝ้าระวังและใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่และโควิด 19 โดยการสร้างความตระหนัก

แนวทางการป้องกันสำหรับประชาชนทั่วไป ดังนี้
1) ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ 
2) เลี่ยงการนำมือที่ไม่สะอาดมาสัมผัสจมูก ปาก หรือตา 
3) ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม 
4) หมั่นเช็ดถูทำความสะอาดของเล่นเด็กเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังพบเด็กป่วย 
5) เลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย คือ
1) หยุดพักรักษาที่บ้าน และสวมหน้ากากอนามัย หมั่นทำความสะอาดบ้านเพื่อลดเชื้อ 
2) ดื่มน้ำมาก ๆ เนื่องจากน้ำจะช่วยทำให้สารคัดหลั่งไม่เหนียวจนเกินไป 
3) หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น เช่น หอบเหนื่อย ซึมลง รับประทานอาหารได้น้อย ควรรีบพาไป พบแพทย์โดยเร็ว หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422