- 07 เม.ย. 2566
ค่ายอสังหาริมทรัพย์แห่กันเปิดตัวบ้าน-คอนโด ที่จ.ขอนแก่น กันเพียบ สูงที่สุดในไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมารวม 1,184 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 2,860 ล้านบาทอัตราดูดซับบ้าน 3.4 % เพิ่มขึ้น 2 ปีต่อเนื่อง
โดยทางด้าน นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยว่า ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ระหว่างขายในช่วงครึ่งหลังปี 2565 ของจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี และมหาสารคาม พบว่า จำนวนหน่วยเหลือขายในช่วงครึ่งหลังปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และมีผลให้อัตราดูดซับของภาพรวมตลาดอยู่ที่ร้อยละ 2.9
การสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ครึ่งหลังปี 2565 พบว่า จำนวนอุปทานพร้อมขายจำนวนประมาณ 13,191 หน่วย มูลค่า 45,173 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นโครงการอาคารชุด 2,525 หน่วย มูลค่า 5,453 ล้านบาท เป็นโครงการบ้านจัดสรร 10,666 หน่วย มูลค่า 39,721 ล้านบาท
มีโครงการใหม่เข้าสู่ตลาด 2,383 หน่วย มูลค่า 8,612 ล้านบาท มีโครงการขายได้ใหม่จำนวน 2,312 หน่วย มูลค่า 8,325 ล้านบาท ส่งผลให้มีหน่วยเหลือขาย 10,879 หน่วย มูลค่า 36,848 ล้านบาท
โดยจังหวัดขอนแก่นมีการเปิดตัวโครงการใหม่มากที่สุด โดยมีการเปิดตัวทั้งบ้านจัดสรรและอาคารชุดรวม 1,184 หน่วย (ร้อยละ 49.7) มูลค่า 2,860 ล้านบาท (ร้อยละ 33.2) ของหน่วยที่เปิดขายใหม่มากกว่าจังหวัดอื่น ทั้งนี้เป็นหน่วยบ้านจัดสรร 691 หน่วย (ร้อยละ 38.2) มูลค่า 2,091 ล้านบาท (ร้อยละ 27.9) และอาคารชุด 493 หน่วย (ร้อยละ 85.7) มูลค่า 769 ล้านบาท (ร้อยละ 69.3) ทั้งนี้ยังเป็นมีการลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ที่เป็นอาคารชุดเกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่ขอนแก่น และนครราชสีมา
ส่วนจังหวัดนครราชสีมามีจำนวนหน่วยขายได้ใหม่สูงสุด 947 หน่วย (ร้อยละ 41.0) มูลค่า 4,137 ล้านบาท (ร้อยละ 49.7) โดยมีอัตราการดูดซับที่ร้อยละ 2.7 ต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าจังหวัดอื่นเล็กน้อยเนื่องจากอุปทานในตลาดที่มีมาก และขอนแก่น รองลงมาเพียงเล็กน้อยที่ 871 หน่วย (ร้อยละ 37.7) มูลค่า 2,472 ล้านบาท (ร้อยละ 29.7) โดยมีอัตราการดูดซับที่ร้อยละ 3.3 ต่อเดือน
ทั้งนี้ จังหวัดขอนแก่นมีอัตราดูดซับบ้านจัดสรรสูงสุดร้อยละ 3.4 โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกันมาตลอด2ปี และมหาสารคามมีอัตราดูดซับอาคารชุดสูงสุดร้อยละ 4.6 แต่ก็ถือว่าเป็นอัตราการดูดซับที่สูงกว่าช่วงก่อนหน้า เนื่องจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น
อุปทานโดยรวมในช่วงครึ่งหลังปี 2565 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั้งหมด จำนวนประมาณ 13,191 หน่วย มูลค่า 45,173 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.3 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกมูลค่าลดลง -3.5 โดยเป็นโครงการใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวนเพียง 2,383 หน่วย มูลค่า 8,612 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ร้อยละ 178.1 และร้อยละ 201.4 ตามลำดับ
แต่เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 มูลค่าเพิ่มขึ้น 39.5 ขณะที่ที่อยู่อาศัยเหลือขาย ณ สิ้นปี 2565 จำนวน 10,879 หน่วย มูลค่า 36,848 ล้านบาท จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 แต่เมื่อเทียบกับครึ่งแรก จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1มูลค่าเพิ่มขึ้น 5.1
โดยปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและกระตุ้นกำลังซื้อในจังหวัดขอนแก่น อาทิ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยขอนแก่น การพัฒนาระบบขนส่งทั้งรถไฟรางเบา รถไฟรางคู่