- 29 พ.ค. 2562
ในประเทศจีน 2737 ปีก่อนคริสตกาล หรือราว 4756 ปีมาแล้ว จักรพรรดิเสินหนง บันทึกในตำรายาเก่าแก่ของจีน ใช้กัญชาเป็นยารักษาโรคเกาต์ ข้ออักเสบ มาลาเรีย เหน็บชา ท้องผูก อาการเหม่อลอย (absent mindedness)
ในประเทศจีน 2737 ปีก่อนคริสตกาล หรือราว 4756 ปีมาแล้ว
จักรพรรดิเสินหนง บันทึกในตำรายาเก่าแก่ของจีน ใช้กัญชาเป็นยารักษาโรคเกาต์ ข้ออักเสบ มาลาเรีย เหน็บชา ท้องผูก อาการเหม่อลอย (absent mindedness)
อายุรเวท
จากการสืบค้นตำรายาเก่าแก่ 6000 ปีก่อนคริสตกาล
ใช้กัญชารักษาโรคมากมาย เช่น แก้ไข้ การย่อยอาหารผิดปกติ แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง ลดไฟย่อยอาหาร เลือดจาง กล้ามเนื้อตึง เกาต์ แก้ปวด โรคทางวาตะ โรคในหัว เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ลมชัก โรคในจมูก ไอ สะอึก เสียงแหบ วัณโรค หายใจลำบาก หอบหืด โรคผิวหนัง หนอง ลมพิษ ไขมันผิดปกติ นิ่ว โรคไต ริดสีดวง ลดอักเสบ ช่วยปรับสมดุลธาตุ
ประโยชน์ของสารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์
แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มโรค/ภาวะที่ได้ประโยชน์
มีผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนชัดเจน
1. โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
2. ภาวะคลื่นไส้ และอาเจียนจากยาเคมีบําบัดที่รักษาด้วยวิธีมาตรฐานไม่ได้ผล
3. ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)
4. ภาวะปวดประสาทที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล (intractable neuropathic pain)
กลุ่มโรค/ ภาวะที่น่าจะได้ประโยชน์
ในการควบคุมอาการ
ต้องการข้อมูลวิชาการและศึกษาวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
1. โรคพาร์กินสัน
2. โรคอัลไซเมอร์
3. โรคปลอกประสาทอักเสบ (demyelinating disease)
4. โรควิตกกังวลไปทั่ว
5. ผู้ป่วยที่ต้องดูแลประคับประคอง
6. ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
กลุ่มโรค/ ภาวะที่อาจจะได้ประโยชน์
ต้องการการศึกษาวิจัยในหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง ก่อนศึกษาวิจัยในมนุษย์
การใช้สารสกัดกัญชารักษามะเร็ง (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประกาศเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2561)
ประเทศไทย
มีการใช้กัญชารักษาโรคหลายร้อยตำรับ (ใช้กัญชาเข้ากับตัวยาอื่นๆ) นานมากกว่า 300 ปี
เช่น ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ (พ.ศ.2202)
-ตำรับศุขไสยาศน์ ช่วยนอนหลับ เจริญอาหาร ฟื้นฟูกำลังของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
-ตำรับอัคคินีวคณะ แก้คลื่นเหียนอาเจียน ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุทั้ง 4 ชูกำลัง
ขุนประสิทธิโอสถจีน ถวายครั้งสมเด็จพระนารายณ์ประชวร
ปัจจุบันอเมริกาสังเคราะห์สาร THC ที่พบในกัญชาเป็นยา ใช้ลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็ง และกระตุ้นความอยากอาหารในผู้ป่วยเอดส์ ชื่อ Dronabinol