- 28 พ.ค. 2562
น้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลือง คือ เครื่องดื่มที่ทำมาจากถั่วเหลือง ด้วยการนำถั่วเหลืองมาบดปั่นกับน้ำเปล่าแล้วคั้นกรองเอากากทิ้งไป อาจปรุงรสเพิ่มเติมด้วยการใส่เกลือหรือน้ำตาลลงไปด้วย
น้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลือง คือ เครื่องดื่มที่ทำมาจากถั่วเหลือง ด้วยการนำถั่วเหลืองมาบดปั่นกับน้ำเปล่าแล้วคั้นกรองเอากากทิ้งไป อาจปรุงรสเพิ่มเติมด้วยการใส่เกลือหรือน้ำตาลลงไปด้วย
น้ำเต้าหู้มีโปรตีนจากถั่วเหลือง มีเส้นใยธรรมชาติที่ดีต่อระบบขับถ่าย และมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ สารไอโซฟลาโวน (Isoflavones) หลังจากบริโภคน้ำเต้าหู้ ร่างกายจะเปลี่ยนสารเคมีชนิดนี้ให้เป็นสารไฟโตรเอสโตรเจน (Phytoestrogens) ที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกับเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่มีผลต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ และภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนชนิดนี้ ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงคาดว่าส่วนประกอบต่าง ๆ ในน้ำเต้าหู้รวมทั้งสารไอโซฟลาโวนอาจส่งผลดีต่อสุขภาพ และอาจส่งผลทางการรักษาอาการป่วยบางประการได้
คุณค่าทางโภชนาการของน้ำเต้าหู้
ลดความอ้วน ลดน้ำหนัก และไขมัน
มีงานวิจัยหนึ่งที่ทดลองประสิทธิผลของนมวัว นมถั่วเหลืองปรุงแต่ง และอาหารเสริมแคลเซียมที่มีผลต่อการลดไขมันในผู้หญิงก่อนวัยทองที่มีภาวะอ้วน และภาวะน้ำหนักเกิน พบว่าการบริโภคนมไขมันต่ำอย่างนมถั่วเหลืองปรุงแต่ง ช่วยลดภาวะอ้วนและภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มตัวอย่างทดลองได้อย่างมีนัยสำคัญ อีกหนึ่งการทดลองได้เปรียบเทียบประสิทธิผลของน้ำเต้าหู้กับนมวัวขาดมันเนยกับระดับไขมันในเลือดและการทำปฏิกิริยากับผนังเซลล์ไขมัน (Lipid Peroxidation) ในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ผลลัพธ์ที่ได้ชี้ว่าน้ำเต้าหู้มีส่วนช่วยในการลดระดับไขมันในเลือดและลดการเกิดปฏิกิริยาที่สารอนุมูลอิสระทำปฏิกิริยากับกรดไขมันไม่อิ่มตัวในผนังเซลล์ ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วยภาวะไขมันในเลือดสูง
การบำรุงกระดูก
การทดลองเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของนมถั่วเหลืองที่มีสารไอโซฟลาโวนที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและกระบวนการสร้างหรือสลายกระดูกในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนชาวสเปน พบว่าการบริโภคนมถั่วเหลืองช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดี และช่วยลดกระบวนการสลายกระดูก นอกจากนั้น การบริโภคสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองเพิ่มเติม อาจช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างได้ และช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกได้อีกด้วย
ความดันโลหิต
มีการทดลองศึกษาประสิทธิผลของเครื่องดื่มที่ทำมาจากถั่วเหลือง ในด้านคุณค่าทางโภชนาการและอิทธิพลต่อการลดน้ำหนัก พบว่าเครื่องดื่มที่ทำมาจากถั่วเหลืองอาจช่วยลดระดับความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกลงได้ ซึ่งเป็นความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัว ในกลุ่มตัวอย่างเยาวชนเพศหญิงที่มีภาวะอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน อย่างไรก็ตาม ในการทดลองนี้ยังไม่พบผลลัพธ์ในด้านน้ำหนักตัวที่ลดลง หรือขนาดเส้นรอบเอวที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด อีกงานทดลองที่ศึกษาผลลัพธ์จากการบริโภคน้ำเต้าหู้ที่สัมพันธ์กับระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตผิดปกติร่วมด้วย พบว่าการบริโภคน้ำเต้าหู้มีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้
แบคทีเรียในลำไส้
งานค้นคว้าเกี่ยวกับการบริโภคนมเปรี้ยวที่เป็นนมถั่วเหลืองหมักที่อาจมีอิทธิพลต่อแบคทีเรียในลำไส้เล็ก มีผลลัพธ์ชี้ว่า การบริโภคนมเปรี้ยวที่เป็นนมถั่วเหลืองหมักช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้เล็ก (Probiotics) ซึ่งเป็นผลดีต่อลำไส้และระบบย่อยอาหารอย่างมีนัยสำคัญ
จึงมีการค้นคว้าทดลองมากมายถึงคุณประโยชน์ของน้ำเต้าหู้ เพื่อศึกษาว่าน้ำเต้าหู้เป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการหลากหลายหรือไม่ หรือเป็นเพียงสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์เท่านั้น
ด้วยเหตุเรามีประสบการณ์จากผู้ที่ไม่เคยชอบดื่มน้ำเต้าหู้แต่กลับเปลี่ยนใจรายหนึ่งมาฝาก "งานนี้มีผู้ต้องบอกก่อนว่าเราเป็นคนไม่ชอบกินน้ำเต้าหู้เลยเพราะไม่ชอบกลิ่นมัน วันนึงก็ได้คุยกับพี่คนนึง พี่แกเป็นคนรักสุขภาพมาก หุ่นของแกดูเฟิร์มมาก เราเห็นแกชอบกินน้ำเต้าหู้ แกก็บอกว่ามันมีประโยชน์มากมายอย่างนั้นอย่างนี้ ไอเราที่ช่วงนี้รู้สึกว่ากำลังอ้วนอยู่นะ เลยคิดจะกินบ้าง เราเลยซื้อมากินแทนอาหารมื้อเย็น แรกๆก็ต้องอดทนกับความโหยหิว แต่พอประมาณวันที่ 3 ก็เริ่มชินและเริ่มไม่ค่อยหิวไปเอง และสิ่งที่เราได้มานั่นก็คือ
-น้ำหนักลดลง ทีแรกน้ำหนักเรา 53 แต่หลังจากลดอาหารเย็นเปลี่ยนมากินน้ำเต้าหู้แทน น้ำหนักเราเหลือแค่ 50 ก็เริ่มรู้สึกดีกับมันขึ้นมา เรากินแบบใส่น้ำตาลปกติ และใส่เครื่องเฉพาะแมงลักเพราะแมงลักมันทำให้อิ่ม มันไปพองในท้องคล้ายๆกับการกินซีโลสนั่นเอง
-ผิวดีขึ้น อาจจะเห็นผลไม่ชัดเจนเท่าไหร่ เพราะเราสีผิวกลางๆ ไม่ขาวไม่ดำ หลังจากที่เราน้ำหนักลดเราเลยกินต่อไปเรื่อยๆ ประมาณเดือนนึงมาสังเกตตัวเองเพราะมีคนทักว่าขาวขึ้น เนียนขึ้น พอมาดูก็ เออ!! มันดีขึ้นจริงๆนะ อันนี้เคยได้ยินหลายคนพูดมาเหมือนกันว่ากินน้ำเต้าหู้แล้วจะขาว ทีแรกไม่เชื่อจนมาลองกินเองนี่แหละ
-ผมสวยขึ้น อันนี้หลายคนคงทราบกันอยู่แล้วว่าถั่วเหลืองเป็นอาหารผมชั้นดีเลย บางคนกินน้ำเต้าหู้เพื่ออยากให้ผมสวย รักษาผมเสีย แต่สำหรับเราเริ่มจากกินเพื่อลดน้ำหนักแต่ได้ผลข้างเคียงมาเป็นผมที่สวยขึ้น ที่รู้ได้เพราะเราเป็นคนผมแห้งเสีย (ชอบทำสีผม) แต่พอกินไปนานๆผมมันดูลื่นขึ้น มันวาวขึ้น จนมั่นใจว่ามันมาจากน้ำเต้าหู้ที่เรากินนี่ก็เป็นสิ่งที่ตัวเรารู้สึกว่าเห็นผลกับตัวเรามากที่สุดเลยอยากมาแชร์ให้ผู้ที่ไม่ชอบกินน้ำเต้าหู้ได้รู้ถึงประโยชน์ของมัน"
จริงๆแล้วมันยังมีประโยชน์อื่นๆอีกที่ไม่ได้แสดงมาให้เราเห็น ใครที่อยากลดน้ำหนักก็ลองเอาเป็นตัวเลือกก็ได้นะ ไม่ต้องอดอาหารแถมยังได้ประโยชน์อีกเยอะแยะเลย
ความปลอดภัยในการบริโภคน้ำเต้าหู้และถั่วเหลือง
-ผู้บริโภคทั่วไป
1)การบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลืองหรือมีโปรตีนจากถั่วเหลืองรวมถึงน้ำเต้าหู้ในปริมาณที่เหมาะสม จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค
2)การบริโภคโปรตีนถั่วเหลืองในรูปของอาหารเสริมที่สกัดมาจากถั่วเหลืองจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย หากบริโภคติดต่อกันเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 6 เดือน แต่หากบริโภคติดต่อกันในระยะยาว อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่สำคัญได้
3)การดื่มน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลืองเพียงอย่างเดียวเป็นประจำเพื่อทดแทนอาหารชนิดอื่น อาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารได้โดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้รับสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณเพียงพอ
4)การดื่มน้ำเต้าหู้และรับประทานถั่วเหลืองอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ในบางกรณี เช่น ท้องผูก ท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้ หรือมีอาการแพ้ อย่างมีผดผื่นคัน ใบหน้าบวมแดง เป็นต้น ซึ่งผู้ที่พบผลข้างเคียงหลังการบริโภค ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา
-ผู้ที่ควรระมัดระวังในการบริโภคเป็นพิเศษ
1)เด็ก การบริโภคถั่วเหลืองจะปลอดภัยหากรับประทานเป็นเครื่องดื่มหรืออาหารในปริมาณที่พอดี ในบางรายที่แพ้นมผงที่ทำจากนมวัว แพทย์อาจแนะนำให้บริโภคนมผงที่ทำจากถั่วเหลืองแทน แต่ต้องไม่ให้นมที่ทำจากถั่วเหลืองในเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เด็กแพ้ถั่วเหลือง
สตรีมีครรภ์ และผู้ที่กำลังให้นมบุตร การบริโภคถั่วเหลืองจะปลอดภัยหากรับประทานเป็นเครื่องดื่มหรืออาหารในปริมาณที่พอดี แต่อาจเป็นอันตรายได้หากบริโภคในรูปแบบอื่นเพื่อหวังผลทางการรักษา ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำเต้าหู้หรือถั่วเหลืองในปริมาณที่มากจนเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อเด็กทารก
ผู้ป่วย เนื่องจากปัจจัยทางสุขภาพ ผู้ที่กำลังป่วยหรือมีโรคประจำตัวควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการบริโภคอาหารประเภทใดก็ตาม รวมทั้งการบริโภคน้ำเต้าหู้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากมีข้อสงสัยว่าการดื่มน้ำเต้าหู้หรืออาหารอื่น ๆ ที่ทำมาจากถั่วเหลืองจะส่งผลต่ออาการป่วยของตนหรือไม่ ผู้ป่วยควรสอบถามและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้