- 31 ก.ค. 2563
ล่าสุด พ.ต.ท.ทพ.พจนารถ พุ่มประกอบศรี นายกทันตแพทยสภา กล่าวถึงกรณีการตรวจพบสารโคเคนในเลือดของนายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ซึ่งตำรวจอ้างข้อมูลของทันตแพทย์ว่า สารโคเคนที่ตรวจพบเกิดจากการรักษาฟัน ทำให้ตำรวจไม่สั่งฟ้องคดียาเสพติดว่า ปัจจุบันไม่มีทันตแพทย์ใช้สารโคเคนที่สกัดจากพืชโคคาในการทำฟันแล้ว เนื่องจากออกฤทธิ์ให้ความชาไม่นาน และมีผลข้างเคียงกับสุขภาพของผู้ป่วย โดยทำให้มีความดันโลหิตสูง จนส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ทันตแพทย์จึงหันไปใช้สารสังเคราะห์ชนิดอื่นที่ให้ฤทธิ์การชา ได้แก่ ลิโดเคน ,เมพิวาเคน ,อะทิเคน ที่ออกฤทธิ์ให้ความชาดีกว่าและมีผลข้างเคียงกับผู้ป่วยน้อยกว่า ทำให้ทันตแพทย์เลือกใช้สารกลุ่มดังกล่าว จนกระทั่งโคเคนไม่ถูกนำมาใช้และหายไปจากวงการทันตกรรม
ยังคงเป็นประเด็นร้อนแรงที่ประชาชนยังคงให้ความสนใจ สำหรับเหตุกรณีการสรุปคดี นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา โดยการไม่สั่งฟ้อง ฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 4 โดยรองอัยการสูงสุด ขณะที่ ในฝ่ายของคณะทำงานสตช. ก็มีความเห็นไม่แย้งคำสั่ง ส่งผลให้คดีเป็นที่ยุติ และ ผู้ต้องหาที่หลบหนีคดีอาญากว่า 8 ปี กลายเป็นผู้บริสุทธิ์โดยปริยาย
กระทั่งต่อมามีรายงานว่า นายจารุชาติ มาดทอง 1 ใน 2 พยานปากเอก ได้เสียชีวิตแล้วจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อช่วงตี 1 ของวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ที่ จ.เชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า คณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ออกมาระบุว่า พนักงานสอบสวนคดี บอส วรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส กระทิงแดง ชี้แจงเหตุเจอโคเคนในร่างกาย ว่าเกิดจากการทำฟัน จึงไม่แจ้งข้อหายาเสพติด ซึ่งหลังจากที่ข่าวดังกล่าวถูกนำเสนอออกไปนั้น มีหลายคนได้ตั้งคำถามว่า โคเคน ใช้ในทางการแพทย์จริงหรือ แล้วโคเคนชนิดไหนกันที่ถูกนำมาใช้ แล้วใช้ในปริมาณเท่าไร ซึ่งหลายคนที่เป็นทันตแพทย์ก็ถึงกับงงว่า การใช้โคเคนมาใช้ในการทำฟันนั้นมีอยู่ในตำราจริงหรือ เพราะปกติที่รักษาคนไข้ ก็ไม่ได้ใช้โคเคนแล้ว
ล่าสุด พ.ต.ท.ทพ.พจนารถ พุ่มประกอบศรี นายกทันตแพทยสภา กล่าวถึงกรณีการตรวจพบสารโคเคนในเลือดของนายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ซึ่งตำรวจอ้างข้อมูลของทันตแพทย์ว่า สารโคเคนที่ตรวจพบเกิดจากการรักษาฟัน ทำให้ตำรวจไม่สั่งฟ้องคดียาเสพติดว่า ปัจจุบันไม่มีทันตแพทย์ใช้สารโคเคนที่สกัดจากพืชโคคาในการทำฟันแล้ว เนื่องจากออกฤทธิ์ให้ความชาไม่นาน และมีผลข้างเคียงกับสุขภาพของผู้ป่วย โดยทำให้มีความดันโลหิตสูง จนส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ทันตแพทย์จึงหันไปใช้สารสังเคราะห์ชนิดอื่นที่ให้ฤทธิ์การชา ได้แก่ ลิโดเคน ,เมพิวาเคน ,อะทิเคน ที่ออกฤทธิ์ให้ความชาดีกว่าและมีผลข้างเคียงกับผู้ป่วยน้อยกว่า ทำให้ทันตแพทย์เลือกใช้สารกลุ่มดังกล่าว จนกระทั่งโคเคนไม่ถูกนำมาใช้และหายไปจากวงการทันตกรรม
ส่วนกรณีมีการตั้งข้อสังเกตเรื่องฤทธิ์ของโคเคนจะอยู่ในร่างกายคน หากมีการใช้เพื่อรักษาฟันจริง นายกทันตแพทยสภา กล่าวว่า ตามปกติแล้วการใช้สารโคเคนในอดีตเพื่อให้ความชาในการรักษาฟันจะไม่ใช้ในปริมาณมาก แต่ไม่สามารถระบุได้ว่า จะอยู่ในร่างกายได้นานแค่ไหน เนื่องจากใช้ในปริมาณน้อยมากและใช้เฉพาะจุด ส่วนตัวยาชาสารสังเคราะห์ เลียนแบบ มีใช้ 2 แบบคือ การป้าย เยื่อบุ และการฉีดเฉพาะจุด จะออกฤทธิ์ไม่นาน ประมาณ 1-2 ชม. เท่านั้น ส่วนจะมีสารตกค้างอยู่ในร่างกายหรือไม่นั้น ก็เหมือนกับสารสังเคราะห์ชนิดอื่น ที่มีการตกค้างได้บ้าง แต่ไม่ได้อยู่นานตลอดวัน เช่น น้ำยาบ้วนปากที่ผสมแอลกอฮอล์ หากบ้วนแล้วเป่าเครื่องวัดแอลกอฮอล์ ก็จะพบปริมาณแอลกอฮอล์ตกค้างได้
ส่วนประเด็นตำรวจระบุว่าเป็นข้อมูลของทันตแพทย์ แต่ขณะนี้ยังไม่มีการเปิดเผยว่า ทันตแพทย์คนใดเป็นผู้รักษาในขณะนั้น จึงเป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ยาก และโดยปกติทันตแพทย์จะไม่เปิดเผยข้อมูลผู้ป่วย เนื่องจากเป็นเรื่องของจรรยาบรรณวิชาชีพ ยกเว้นเป็นคดีความตำรวจมีสิทธิ์เรียกข้อมูลมาประกอบการพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมายได้ แต่ทั้งนี้ทางทันตแพทยสภาพร้อมให้ข้อมูล และหากประชาชนร้องเรียนเข้ามาก็จะตรวจสอบทันตแพทย์คนนี้ รวมทั้งอยากขอข้อมูลจากตำรวจเพื่อใช้ตรวจสอบทันตแพทย์ที่ให้การรักษานายวรยุทธด้วยว่า มีการรักษาด้วยโคเคนจริงหรือไม่
ขณะที่การใช้โคเคนในประเทศไทย นายกทันตแพทยสภากล่าวว่า ปัจจุบัน พ.ร.บ.ยาเสพติด มีการอนุญาตให้ใช้สารเสพติดบางชนิด ในทางการแพทย์ได้ เช่น มอร์ฟีน,โคเคน แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพททย์และกฎหมาย เพราะมีคนบางกลุ่ม ลักลอบใช้เป็นยาเสพติด ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพและสังคม
ด้าน ทพ.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล อุปนายกทันตแพทยสภา ได้เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thongchai Vachirarojpisan ระบุว่า โคเคนใช้ในการทำฟันจริงหรือ ? ยาชาที่หมอฟันใช้ในปัจจุบันที่ขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติ คือ ลิโดเคน แม้จะลงท้ายด้วย เคนเหมือนกัน แต่เป็นคนละตระกูลกันกับ โคเคน
โคเคน เคยใช้เป็นยาชา จัดอยู่ในตระกูล Esters ที่เคยใช้มาเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันไม่มีหมอฟันคนใดในโลกใช้อีก เพราะว่าพบอาการแพ้ยาได้มากและมีฤทธิ์เสพติด ปัจจุบันยาชาที่หมอฟันใช้จะเป็น ยาชาตระกูล Amides ที่พัฒนาขึ้นมาเช่น ลิโดเคน เมพิวาเคน อาติเคน ซึ่งปลอดภัยกว่า มีโอกาสพบการแพ้ยาชาได้น้อยมากๆๆๆ
โคเคนที่เป็นสารเสพติด กับ ลิโดเคนที่ใช้เป็นยาชา อยู่กันคนละตระกูล โครงสร้างทางเคมี ไม่เหมือนกัน ดังนั้นไม่ต้องห่วงนะครับว่าเวลาหมอฟันฉีดยาชาแล้ว จะตรวจพบโคเคนในกระแสเลือด
อย่างไรก็ตาม ทพ.ธงชัย ระบุด้วยว่า ฉีดยาชาลิโดเคนแล้วจะตรวจเจอโคเคนในปัสสาวะไหม? มีรายงานวิจัยตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้ว 2019 พบว่าไม่มีหลักฐานใดๆที่พบว่าการฉีดยาชาลิโดเคนจะทำให้เกิดผลบวกเทียม (false positive) เกิดโคเคนในปัสสาวะได้ ผมเดาเอาเองว่า ในต่างประเทศ คนที่ถูกจับว่าเสพโคเคนคงจะอ้างว่าไปฉีดยาชาทำฟันมาอยู่เรื่อยๆ ดังนั่นจึงมีงานวิจัยมาพิสูจน์ว่า มันไม่เกี่ยวกันนะ