ถอดรหัสรุก?? "เจ้าสัวธนินท์"จองรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินค่ากว่า 2 แสนล้าน ถึงยังไม่เปิดซองประมูล

ถอดรหัสรุกเขมือบ?? "เจ้าสัวธนินท์"จองรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินค่ากว่า 2 แสนล้าน ถึงยังไม่เปิดซองประมูล

กำลังเป็นประเด็นร้อนฉ่าสุดๆ  เมื่อ"นสพ.ฐานเศรษฐกิจ " พาดหัวเขย่าวงการธุรกิจให้ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด    "รถไฟฟ้า 3 สนามบินข้า..ใครอย่าแตะ..เจ้าถิ่นถอยไป-เจ้าสัวธนินท์จอง"   สื่อโดยนัยก็คืออภิมหาโปรเจ็คยักษ์ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา   ซึ่งจะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับประเทศไทย  และกำลังอยู่ในกระบวนการคัดสรรผู้เหมาะสมดำเนินการ   โดยยังไม่มีข้อสรุปใด ๆ ทั้งสิ้น   กลายเป็นว่าทางกลุ่ม "ซีพี"  ภายใต้การกำกับของ "เจ้าสัวธนินท์  เจียรวนนท์" จะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ???

ข้อคำถามตามมาในทันทีก็คือเป็นไปได้หรือไม่อย่างไร  มีรายละเอียดปรากฎเพิ่มเติมอยู่ในคอลัมน์ "ทางออกนอกตำรา"  ระบุเพิ่มเติมว่า  "หลายคนตกตะลึงพรึงเพริดกับการที่เจ้าสัว “ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ เศรษฐีอันดับ 1 ของไทย ผู้มีสินทรัพย์ในการครอบครองรวมกัน 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1 ล้านล้านบาท ประกาศยุทธศาสตร์กินรวบโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” มูลค่าลงทุน 2.3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็น 1 ใน 6 โครงการที่เป็นหัวใจในการยกระดับการลงทุนของประเทศในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รังสรรค์ขึ้นให้เป็น “ประตูทองการลงทุนของไทย”

 

ทั้งนี้โครงการที่เป็นหัวใจในอีอีซีที่ต้องมีการลงทุนในระยะ 5 ปีข้างหน้าใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1.7 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย

 

1. รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 2 แสนล้านบาท

2. โครงการรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ มาบตาพุด-แหลมฉบัง-สัตหีบ วงเงินลงทุน 6.43 หมื่นล้านบาท

3. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเชิงพาณิชย์ ในพื้นที่ 6,500 ไร่ วงเงินลงทุนรวม 2 แสนล้านบาท

4. โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 วงเงิน 1.11 หมื่นล้านบาท

5. โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางเรือ วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท

6. โครงการพัฒนาถนนเชื่อมระหว่างเมืองมอเตอร์เวย์ วงเงิน 3.53 หมื่นล้านบาท

 

 

ถอดรหัสรุก?? \"เจ้าสัวธนินท์\"จองรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินค่ากว่า 2 แสนล้าน ถึงยังไม่เปิดซองประมูล

 

ตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่  24 มิ.ย. ที่ผ่านมา  นายธนินท์  ในฐานะประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์  หรือรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ "ซีพี"   ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ โกลเบิลไทม์ส  ซึ่งเป็นสื่อภาษาอังกฤษของจีน  แสดงเจตนาชัดเจนว่าจะเสนอตัวเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน  โดยมีบริษัททุนต่างชาติเป็นพันธมิตรร่วมลงทุน  “บริษัทจากจีนและญี่ปุ่นต่างต้องการร่วมเป็นพันธมิตรกับไทย เป้าหมายคือพื้นที่อีอีซี และรองรับตลาดเกิดใหม่ โดยจะพัฒนาและเปลี่ยนผ่านพื้นที่เขตเศรษฐกิจย่านดังกล่าวให้เป็นโครงการร่วมลงทุนจากหลายฝ่าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม”

ไฮไลต์สำคัญ "เจ้าสัวธนินท์" เกริ่นถึงหัวใจของผลประโยชน์จากการเข้าร่วมเป็นหนึ่งในกลุ่มทุนดำเนินโครงการดังกล่าว ว่า  หัวใจของแผนพัฒนาโครงการรถไฟฟ้านี้ คือ "การได้สิทธิพัฒนาที่ดินในเชิงพาณิชย์"

 

อย่างไรก็ตามจากข้อมูลที่ปรากฎจากการรถไฟว่า ภายหลังการเปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน เป็นต้นมาจนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2561  ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการขายเอกสาร  ปรากฎว่ามีเอกชนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศให้ความสนใจ  เข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จำนวน 31 ราย ประกอบไปด้วย

 

 

 

1. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

?2. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย)

3. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

?4. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

?5. บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (ประเทศไทย)

6. ITOCHU Corporation (ประเทศญี่ปุ่น)

?7. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (ประเทศจีน)

8. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

9. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย

10. บริษัท ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น)

11. China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

12. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

13. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

14. บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

15. CHINA RAILWAY GROUP LIMITED (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

16. China Communications Construction Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

17. China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

18. CITIC Group Corporation (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

 

ถอดรหัสรุก?? \"เจ้าสัวธนินท์\"จองรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินค่ากว่า 2 แสนล้าน ถึงยังไม่เปิดซองประมูล

 

19. Korea-Thai High-speed Railroad Consortium Inc. (ประเทศไทย)

20. บริษัท เทอดดำริ จำกัด (ประเทศไทย)

21. Salini Impregio S.p.A. (ประเทศอิตาลี)?

22. บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด (ประเทศไทย)

23. TRANSDEV GROUP (ประเทศฝรั่งเศส)

24. SNCF INTERNATIONAL (ประเทศฝรั่งเศส)

25. Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ประเทศญี่ปุ่น)

26. บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

27. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

28. บจก. แอล เอ็ม ที สโตน (ประเทศไทย)

29. WANNASSER INTERNATIONAL GREEN HUB BERHAD (ประเทศมาเลเซีย)

30. บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

31. MRCB Builders SDN. BHD. (ประเทศมาเลเซีย)

 

ขณะที่ไทม์ไลน์หรือแผนการปฏิบัติงานโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน  กำหนดไว้อย่างชัดเจนดังนี้ 

1.ประกาศเชิญชวนนักลงทุน   ต้นเดือนพฤษภาคม 2561   

2.ให้เอกชนเตรียมเอกสารยื่นข้อเสนอ กลางพฤษภาคม-สิงหาคม 2561

3.ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือก ตุลาคม 2561

4.ลงนามในสัญญา  ภายใน 2561

5.เปิดให้บริการ  พ.ศ.2566

 

ถอดรหัสรุก?? \"เจ้าสัวธนินท์\"จองรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินค่ากว่า 2 แสนล้าน ถึงยังไม่เปิดซองประมูล

 

ประเด็นทิ้งท้ายจึงน่าสนใจว่า เคสกรณีที่มีการระบุว่า "เจ้าสัวธนินท์"  มั่นใจว่าจะเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินโครงการ  มีเหตุผลอะไรรองรับ  ในขณะที่ผลการประมูลยังไม่แล้วเสร็จ ในทางกลับกันการเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนซีพีเองในปัจจุบัน  ก็มีสัญญาณบ่งชี้อย่างมีนัยสำคัญตามที่ "ฐานเศรษฐกิจ" จั่วหัวอยู่ไม่น้อยว่า   "รถไฟฟ้า 3 สนามบินข้า..ใครอย่าแตะ..เจ้าถิ่นถอยไป-เจ้าสัวธนินท์จอง"  ???

 

อ้างอิง    ทางออกนอกตำรา : รถไฟฟ้า 3 สนามบินข้า ‘ใครอย่าแตะ’ เจ้าถิ่นถอยไป-เจ้าสัวธนินท์จอง http://www.thansettakij.com/content/318025