- 21 ก.ค. 2563
สืบเนื่องจากที่สำนักงานเฝ้าระวังสุขภาพแห่งชาติของบราซิล (Anvisa) เปิดเผยว่า บราซิลคือประเทศแรกนอกสหราชอาณาจักร ที่จะมีการทดสอบวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ตามที่รัฐบาลอนุญาตให้มีการทดสอบวัคซีนตัวนี้ ในกลุ่มอาสาสมัครที่ยังไม่เคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มาก่อน ภายใต้การควบคุมของกระทรวงสาธารณสุขและสถาบันวิจัยของบราซิล
สืบเนื่องจากที่สำนักงานเฝ้าระวังสุขภาพแห่งชาติของบราซิล (Anvisa) เปิดเผยว่า บราซิลคือประเทศแรกนอกสหราชอาณาจักร ที่จะมีการทดสอบวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ตามที่รัฐบาลอนุญาตให้มีการทดสอบวัคซีนตัวนี้ ในกลุ่มอาสาสมัครที่ยังไม่เคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มาก่อน ภายใต้การควบคุมของกระทรวงสาธารณสุขและสถาบันวิจัยของบราซิล
โดยอาสาสมัครกลุ่มแรกที่จะเข้ารับการทดสอบในเดือนนี้คือบุคลากรทางสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานแนวหน้าจำนวน 2,000 คนในนครเซาเปาโล นายเดนิส มินซ์ ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิเลแมน ซึ่งสนับสนุนการทดสอบ เปิดเผยว่า เป็นก้าวที่สำคัญของบราซิล
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
สำหรับวัคซีนนี้ กำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบกับอาสาสมัคร 10,000 คนในสหราชอาณาจักร แต่เพื่อสร้างความมั่นใจ นักวิทยาศาสตร์จึงให้ขยายการทดสอบในบราซิล ซึ่งมีผู้ติดเชื้อมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวเท่านั้น
ล่าสุด สำนักข่าว บีบีซี รายงานว่า การทดลองวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กับอาสาสมัคร 1,077 คน พบว่ามีความปลอดภัยและสามารถฝึกฝนระบบภูมิคุ้มกันได้สำเร็จ โดยร่างกายของอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนสร้างแอนติบอดีและเม็ดเลือดขาวที่สามารถต่อสู้กับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้
งานวิจัยนี้ทำให้เกิดความหวังท่ามกลางความพยายามในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ แต่ยังถือว่าเร็วเกินไปที่จะรู้ว่าจะวัคซีนสามารถป้องกันโควิด-19 ได้ และนักวิจัยกำลังดำเนินการทดลองที่มีอาสาสมัครเข้าร่วมมากกว่านี้ แต่ถึงอย่างนั้น ขณะนี้ทางการสหราชอาณาจักรได้สั่งซื้อวัคซีนชนิดนี้ 100 ล้านเข็มแล้ว
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วัคซีนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วนี้มีชื่อว่า ChAdOx1 nCoV-19 เป็นวัคซีนที่พัฒนาขึ้นจากเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคหวัดในชิมแปนซี ที่ถูกนำมาดัดแปลงพันธุกรรมจนไม่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ได้ และทำให้มีลักษณะคล้ายเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์สามารถเรียนรู้ว่าจะจัดการมันได้อย่างไร
วัคซีนดังกล่าวมีความปลอดภัย แต่ก็มีผลข้างเคียงที่ไม่อันตราย อย่างไรก็ดี อาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดลองราว 70% บอกว่ามีอาการตัวร้อนและปวดศีรษะ ซึ่งนักวิจัยระบุว่าสามารถใช้ยาพาราเซตามอลบรรเทาอาการดังกล่าวได้
ทั้งนี้ ศ.ซาราห์ กิลเบิร์ต แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดกล่าวว่า ยังต้องทำการทดลองเพิ่มเติมอีกก่อนจะยืนยันได้ว่าวัคซีนชนิดนี้จะใช้ป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ แต่ผลการทดลองในเบื้องต้นนี้ถือว่าน่าพอใจ
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ขอบคุณข้อมูลจาก BBC