คำว่า ลาง กับ ราง ในทางความเชื่อต่างกันอย่างไร

ความหมาย คำว่า ลาง กับ ราง ในทางความเชื่อต่างกันอย่างไร ลางไม่ดี กับ เครื่องราง คนโบราณมีความเชื่ออย่างไรบ้าง

เปิดความเชื่อ คำว่า ลางสังหรณ์ กับ เครื่องรางของขลัง คนไทยสมัยก่อนมีความเชื่อกันอย่างไร และคำสองคำนี้ อ่านเหมือนกัน แต่ทำไมถึงเขียนไม่เหมือนกัน สรุปแล้ว ลาง กับ ราง เหมือนหรือต่างกันอย่างไร 

 

คำว่า ลาง กับ ราง ในทางความเชื่อต่างกันอย่างไร

มาดูข้อมูลจาก สำนักงานราชบัณฑิตยสภา กันก่อนค่ะ  ราง กับ ลาง  ถึงแม้ว่าเป็นคนไทย แต่ก็ใช่ว่าจะเข้าใจและใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องโดยไม่มีข้อผิดพลาด ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยและใช้ให้ถูกต้อง บทความนี้ขอเสนอความหมายของคำว่า “ราง” กับ “ลาง” ตามที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 


ราง” เป็นนาม หมายถึง ร่องที่ขุดเป็นทางสำหรับให้น้ำไหล  สิ่งสำหรับรองน้ำฝนที่ชายคาเป็นต้น มักทำด้วยสังกะสียาวเป็นแนวไปตามชายคา ไม้ที่ขุดหรือต่อให้เป็นร่องยาว ๆ หรือปล้องไม้ไผ่ผ่าซีก มีด้านสกัดหัวท้าย สำหรับใส่อาหารหมูหรือย้อมผ้าเป็นต้น โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รางระนาด เหล็กที่ใช้เป็นทางเดินของล้อเลื่อน เช่น รางรถไฟ ไม้เจาะเป็นร่องยาวสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันได้ 80 เหรียญ หรือ 1 ชั่ง ปัจจุบันเป็นแผ่นไม้เจาะเป็นร่องสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันเป็นแถว ๆ แผ่นหนึ่งมี 10 แถว แถวหนึ่งใส่เหรียญบาทได้ 10 เหรียญ รวมเป็น 100 บาท ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นราง เช่น ลูกคิดรางหนึ่ง ระนาด 2 ราง รางรถไฟ 3 ราง เป็นกริยา หมายถึง คั่วข้าวเม่าให้กรอบ เรียกข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบว่า ข้าวเม่าราง  เป็นวิเศษณ์ หมายถึง ไม่กระจ่าง ไม่ชัดเจน เช่น เห็นราง ๆ ภาพราง ๆ 


ส่วนคำว่า “ลาง” เป็นนาม หมายถึง 1. สิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เชื่อกันว่าจะบอกเหตุดีหรือเหตุร้าย เช่น ผึ้งทำรังทางทิศตะวันออกของอาคารเชื่อกันว่าเป็นลางดี แมงมุมตีอกเชื่อกันว่าเป็นลางร้าย  2. หมาก ขนุน เรียกว่า หมากลาง (ไทยใหญ่) 3. นกกะลาง  เป็นวิเศษณ์ หมายถึง ต่าง แต่ละ บาง เช่น ลางคน ลางสิ่งลางอย่าง

 

ลาง กับ ราง ในทางความเชื่อต่างกันอย่างไร

คำว่า ลาง กับ ราง ในทางความเชื่อต่างกันอย่างไร ทีนี้มาดูกันค่ะ

 

คนไทยสมัยโบราณกาลมีคติค่านิยมตามความเชื่อเกี่ยวกับการเดินทางไกลอยู่ 2 อย่าง คือ “ลาง” กับ “ราง” และ “ลางสังหรณ์” คือความรู้สึกหรือสรรพสิ่งต่างๆรอบตัวมาดลใจ ทำให้รู้ว่าอาจจะมีเหตุเกิดขึ้นล่วงหน้า เช่น หากนกถ่ายรดบนศีรษะเชื่อว่าจะโชคร้าย หากกำลังจะออกเดินทางแล้วถูกนกถ่ายรดที่ศีรษะ ให้หยุดการเดินทางทันทีหรือเลื่อน กำหนดออกไปเป็นวันรุ่งขึ้น, ถ้าจิ้งจก ตุ๊กแกร้องทัก ห้ามออกจากบ้านเด็ดขาดโดยเฉพาะการเดินทางไกลอาจจะไม่ปลอดภัย โดยถ้าเสียงนั้นอยู่ด้านหลังหรือตรงศีรษะให้เลื่อนการเดินทาง แต่หากเสียงร้องทักอยู่ด้านหน้าหรือซ้ายให้เดินทางได้ จะเป็นไปอย่างราบรื่นปลอดภัย, หากมีของแตก หักก่อนการเดินทาง ประเภทกระจกหรือแก้ว แว่นตา ห้ามเดินทางโดยเด็ดขาด

 

อีกอย่างคือ “เครื่องรางของขลัง” นักรบไทยสมัยโบราณ นอกจากการสักยันต์ลงอาคมเต็มตัวแล้ว การออกศึกสู้รบกับฝ่ายศัตรู มักจะมีวัตถุมงคลพกติดตัว เกราะที่ดีที่สุดในโลก ผ้าซิ่นแม่ ของมงคลที่มีพุทธคุณในตัวไม่ต้องปลุกเสก เครื่องรางที่ทหารไทยในสมัยอยุธยาจะนำติดตัวไปรบในสงครามคือ ชายซิ่นผ้าถุงของแม่ผืนที่คลอดครั้งแรก มีพุทธคุณแก้อาถรรพณ์คุณไสยได้อย่างชะงัด

 

ความหมาย ราง กับ ลาง ความเชื่อ ลางสังหรณ์ เครื่องรางของขลัง

 

สรุปแล้ว คำที่ถูกต้องจะต้องใช้ว่า “ลาง” ที่หมายถึงสิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เชื่อกันว่าจะบอกเหตุดีหรือเหตุร้าย ส่วนคำว่า ราง ใช้ได้ใน เช่น เครื่องรางของขลัง เป็นต้น


ขอขอบคุณ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา