- 12 มิ.ย. 2567
นิโรธกรรม คืออะไร การเข้านิโรธกรรม หรือ พระที่เข้านิโรธกรรม คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบนี้กันค่ะ
การเข้านิโรธกรรม หรือ พระที่เข้านิโรธกรรม คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบนี้กันค่ะ
"การเข้านิโรธกรรม" ตามแบบฉบับของครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนาไทย ท่านให้ขุดหลุมลึก 1 ศอก กว้าง 2 ศอก พอดีเข่า แล้วสร้างซุ้มฟางครอบให้มีความสูงแค่เลยหัว 1 ศอก โดยจะยืนไม่ได้ ไม่ถ่ายหนัก ไม่ถ่ายเบา ฉันแต่น้ำ 1 บาตร ที่นำเข้าไปด้วย มีผ้าขาวปู
ส่วนเหตุที่เรียกว่า "นิโรธกรรม" เป็นการบำเพ็ญขั้นอุกกฤษฎ์นั้น คือ
1.งดฉันอาหารทุกประเภท
2.งดฉันน้ำทุกชนิด
3.งดการถ่ายหนัก (งดอุจจาระ)
4.งดการถ่ายเบา (ปัสสาวะ)
5.งดการนอนหลับ ทั้งกลางวันและกลางคืน
6.งดการลุกจากอาสนะ (ที่นั่ง)
7.งดการพูดจาด้วยการปิดวาจา
8. อยู่ลำพังบนแพลอยกลางน้ำ
9.ปฏิบัติกรรมฐาน ภาวนาอธิษฐานจิต นับเป็นอุบายธรรมสำคัญยิ่ง ในการประพฤติธรรมเพื่อสะกด ลด ละกิเลสทั้งหลาย มุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้น
ปัจจุบันนี้มีพระในจังหวัดภาคเหนือหลายรูปยึดการเข้านิโรธกรรม ตามแบบฉบับครูบาศรีวิชัย และมีอยู่รูปหนึ่งที่เข้านิโรธกรรมมาเป็นปีที่ 18 แล้ว คือ พระครูสิริศีลสังวร หรือ พระครูบาน้อย เตชะปัญโญ เจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล ต.ชมพู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้ท่านเริ่มเข้านิโรธกรรมครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นเวลา 3 วัน ครั้งที่สองเป็นเวลา 5 วัน ครั้งที่สามเป็นเวลา 7 วัน ครั้งที่สี่ถึงครั้งที่เก้า 9 วัน ครั้งที่สิบเอ็ด 7 วัน
สำหรับ วิธีการนิโรธกรรม ครูบาน้อยบอกว่า นิโรธ คือความดับทุกข์ ดับตัณหาได้สิ้นเชิง อันหมายถึงพระนิพพาน เป็นคุณสมบัติของพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลาย และเป็นที่ปรารถนาของนักปฏิบัติที่พึงเข้าถึงให้ได้ เป็นการตั้งจิตใจให้มั่นคง จากนั้น ภายใน 3 5 7 และ 9 วัน ความหมายการเข้านิโรธกรรม คือ
- เข้า 3 วัน เปรียบหมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
- เข้า 5 วัน คือพระเจ้าห้าพระองค์ พระกะกุสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป โคตะโมอริยเมตเตยโย
- เข้า 7 วัน คือพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ สัง วิ ทา ปุ กะ ยะ ปะ
- เข้า 9 วัน คือพระนวโลกุตรธรรมเจ้าเก้าประการ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1
“คิดก่อนทำ ไม่ใช่ทำแล้วคิด คิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดแล้วคิด คิดก่อนไป ไม่ใช่ไปแล้วคิด คิดดีเพื่อดี คิดดีสู่ดี ของจริงทำจริง เห็นจริง ของดีทำดี เห็นดี คิดดีเพื่อดี คิดดีสู่ดี คิดชั่ว ทำชั่ว ได้ชั่ว"
ข้อมูลจาก วัดศรีดอนมูล Watsridonmoon