กางปฏิทิน ดูความเป็นไปได้วันเลือกตั้ง เลื่อน-ไม่เลื่อน?!? เดดไลน์มิใช่เดดล็อก!?! ไขรหัส16มกรา

กางปฏิทิน ดูความเป็นไปได้วันเลือกตั้ง เลื่อน-ไม่เลื่อน?!? เดดไลน์มิใช่เดดล็อก!?! ไขรหัส16มกรา

จากกรณีพระราชกฤษฎีกา (พรฏ.)ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.จะยังไม่ประกาศออกมา ทำให้ดูเหมือนว่า ขณะนี้บรรยากาศทางการเมืองจะอึมครึมหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้เป็นไปตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมายปกติ เมื่อร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่ประกาศออกมา นั่นก็หมายความว่าทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ก็ยังไม่สามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้ ย้ำว่านี่คือขั้นตอนปกติของกระบวนการทางกฎหมาย ไม่ได้เกี่ยวข้องอันใดกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่จะต้องทำให้การเลือกตั้งขยับปรับออกไปแต่อย่างใดไม่

 

กางปฏิทิน ดูความเป็นไปได้วันเลือกตั้ง เลื่อน-ไม่เลื่อน?!? เดดไลน์มิใช่เดดล็อก!?! ไขรหัส16มกรา

 

ก่อนอื่นลองไปไล่ดูที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เคยแถลงถึงโรดแมปทางการเมืองไว้หลังการประชุมแม่น้ำ5สายถึงปฏิทินเลือกตั้ง ที่เริ่มกระบวนการ ตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค. 61 ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส. มีผลบังคับใช้  จากนั้นก็จะมีขั้นตอนดังนี้

20 ธ.ค.61 กกต. ประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.

2 ม.ค.62 ประกาศใช้ พรฎ. ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.

4 ม.ค.62 กกต. ประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัคร จำนวน สส.แต่ละจังหวัด เขตเลือกตั้ง สถานที่สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ

14-18 ม.ค.62 รับสมัคร ส.ส.

25 ม.ค.62 ประกาศรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.

17 ก.พ.62 เลือกตั้งล่วงหน้า 

24 ก.พ. 62 วันเลือกตั้ง

25 เม.ย.62 เป็นวันสุดท้ายของการประกาศผลการเลือกตั้ง ซึ่งจะประกาศผลภายใน60วันหลังการเลือกตั้ง

28 เม.ย.62 เป็นวันสุดท้ายที่ คสช. จะคัดเลือก ส.ว. 250 คน นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายและประกาศแต่งตั้ง

9 พ.ค.62 จะเป็นวันสุดท้ายที่จะต้องจัดการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก จากนั้นจะเป็นช่วงเวลาประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา เลือกนายกรัฐมนตรี ตั้งคณะรัฐมนตรี จากนั้นเมื่อครม.ชุดใหม่ถวายสัตย์ฯ ก็จะทำให้ครม.ชุดเก่าและคสช.พ้นจากตำแหน่ง และครม.ชุดใหม่เข้าแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยต้องกระทำภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันถวายสัตย์ปฏิญาณตน

 

กางปฏิทิน ดูความเป็นไปได้วันเลือกตั้ง เลื่อน-ไม่เลื่อน?!? เดดไลน์มิใช่เดดล็อก!?! ไขรหัส16มกรา

 

 

 

ทั้งหมดที่ว่ามา นั่นคือกำหนดการการเตรียมการเลือกตั้ง ที่นายวิษณุได้ออกมาก่อนที่จะมีพระราชโองการตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่1 มกราคม 2562ที่ผ่านมา กระนั้นก็ทำให้ทางรัฐบาลต้องมาดูวันเลือกตั้งกันอีกครั้งว่าจะทับซ้อนกับพระราชพิธีสำคัญของคนไทยอันเป็นมงคลยิ่งนี้หรือไม่

 

นั่นเองทำให้นายวิษณุต้องเดินทางไปที่กกต.เพื่อนำเอกสารไปแจ้งข้อมูลการเตรียมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก"ก่อน "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก" 4-6 พ.ค.2562 จะต้องมีพระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องก่อน ประมาณ 15 วัน และหลัง 6 พ.ค. ก็จะมีกิจกรรมอื่นอีกประมาณ 15 วัน โดยทั้ง 2 ส่วนนี้ ไม่ได้อยู่ในประกาศพระราชโองการ แต่อยู่ในประกาศของส่วนคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีฯจะเป็นผู้กำหนด

 

ทีนี้ลองมาดูพร้อมๆกันว่า 15 วัน ก่อนวันที่ 4 พ.ค.นั้นจะต้องทำอะไรกันบ้าง เริ่มจากการทำน้ำอภิเษก ซึ่งมาจากแหล่งน้ำต่างๆ 4 แหล่ง หลังพระราชพิธีทำน้ำอภิเษก ก็จะต้องมีพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏพระปรมาภิไธยของรัชกาลใหม่ รวมถึงพิธีเสด็จพระราชดำเนินไปถวายราชสักการะพระบรมอัฐิพระบรมราชบรรพบุรุษตามโบราณราชประเพณี  ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ 4 พ.ค.

 

กางปฏิทิน ดูความเป็นไปได้วันเลือกตั้ง เลื่อน-ไม่เลื่อน?!? เดดไลน์มิใช่เดดล็อก!?! ไขรหัส16มกรา

 

ขณะที่หลังวันที่ 6 พ.ค.ก็จะมีกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติอื่นตามมาตามโบราณราชประเพณี ใช้เวลาประมาณ 15 วัน โดยนายวิษณุคาดว่าจะจบลง ไม่เกินวันที่ 20 พ.ค. ซึ่งหากเลือกตั้งวันที่ 24 ก.พ. ช่วงเวลาหลังเลือกตั้ง ยังมีกิจกรรมทางการเมืองเกิดขึ้นต่อเนื่องอีก เช่น กกต.ต้องประกาศรับรองผลเลือกตั้งภายใน 60 วัน หรือภายในวันที่ 24 เม.ย. ก็จะเป็นช่วงเวลาเดียวกับการประกอบพระราชพิธีทำน้ำอภิเษก รวมทั้งพระราชพิธีที่เสด็จฯ มาทรงเปิดประชุมรัฐสภาภายใน 15 วัน หลัง กกต.รับรองผลหรือภายในวันที่ 8 พ.ค. ซึ่งในช่วงก่อนถึงวันที่ 8 พ.ค.ก็มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทุกวัน

 

ทั้งนี้นายวิษณุ จึงเห็นว่าการเลือกตั้งควรเกิดขึ้นภายในเดือน มี.ค.เพื่อไม่ให้วันประกาศผลเลือกตั้งไปทับซ้อนกับพระราชพิธี เพราะหากกำหนดวันเลือกตั้งเป็น 24 มี.ค.หรือ 31 มี.ค.ก็สามารถประกาศผลเลือกตั้งได้หลังพระราชพิธี

 

กางปฏิทิน ดูความเป็นไปได้วันเลือกตั้ง เลื่อน-ไม่เลื่อน?!? เดดไลน์มิใช่เดดล็อก!?! ไขรหัส16มกรา

 

กระนั้นต้องไม่ลืมด้วยว่าพรฏ.เลือกตั้ง ยังไม่ได้ประกาศออกมา โดยกำหนดเดิมคาดว่าจะออกมาเมื่อวันที่2 ม.ค. นี่เองที่ทำให้กกต.ยังไม่สามารถประกาศวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการได้ นี่คือขั้นตอนปกติทางกฎหมายที่ขีดเป็นเดดไลน์เอาไว้ให้ปฏิบัติ ไม่ใช่เดดล็อกอย่างที่มีคนบางฝ่าย บางกลุ่มพยายามบิดเบือนเพียงเพื่อเป้าประสงค์บางอย่างที่ซ่อนผลประโยชน์ทางการเมืองเอาไว้ โดยออกมาเคลื่อนไหวทำให้ข้อเท็จจริงบิดเบี้ยว ทั้งที่น่าจะรู้ว่านี่คือรูปแบบปฏิบัติทางกฏหมายที่กำหนดเอาไว้ให้ทางกกต.หรือรัฐบาลต้องปฏิบัติ

 

อย่างไรก็ตามสำหรับเรื่องพรฏ.เลือกตั้งที่ยังไม่ประกาศออกมา ทางร.ศ. สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต.ออกมาให้ความเห็นกับทีมข่าวการเมือง สำนักข่าวทีนิวส์ ไว้อย่าน่าสนใจ โดยบอกว่า กฎหมายดังกล่าวนี้ไม่มีกำหนดในวันที่จะประกาศออกมาว่าจะเป็นวันไหน นั่นหมายความว่าไม่มีเดดไลน์วันประกาศนั่นเอง หากแต่ต้องมีความเหมาะสมในการจะประกาศออกมา เพราะจะมีความเกี่ยวเนื่องกับวันเลือกตั้งที่สำคัญยิ่ง ซึ่งขณะนี้จังหวะแรกที่จะประกาศวันที่2 มกราคมได้ผ่านพ้นไปแล้ว จะต้องรอจังหวะที่สองนั่นคือ วันที่16 มกราคม ทำไมอดีตกกต.จึงมองว่าวันที่ 16 มกราคม เป็นวันเหมาะสม ซึ่งมีการขยายความให้ฟังว่า หากพรฏ.เลือกตั้งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 16 มกราคมนี้ การเลือกตั้งก็จะถูกกำหนดไว้ทันในวันที่ 10 มีนาคม  ดังนั้นพรรคการเมืองก็สามารถมีเวลาหาเสียง52วัน ก่อนวันเลือกตั้ง ซึ่งตนเองมองว่าเพียงพอ

 

นี่เป็นปฏิทินที่ถูกกางออกมาให้พอเห็นหน้าเห็นหลัง ถึงวันเลือกตั้ง โดยที่ไม่ทับซ้อนกับพระราชพิธีมงคลของคนไทย ซึ่งท้ายที่สุดทุกอย่างดำเนินไปตามครรลอง หลักกฎหมาย ระเบียบขั้นตอน เพียงรอช่วงวันเวลาเท่านั้น อย่างที่รศ.สมชัย ได้ให้ความเห็นไว้นั่นคือ เวลาที่เหมาะสม ทุกอย่างเดินไปตามเดดไลน์ มิใช่เดดล็อก!!!

 

กางปฏิทิน ดูความเป็นไปได้วันเลือกตั้ง เลื่อน-ไม่เลื่อน?!? เดดไลน์มิใช่เดดล็อก!?! ไขรหัส16มกรา