ดร.บรรเจิด กางกม.ชี้ชัด!ความต่างพรฏ.-พรบ.เรื่องพระราชอำนาจ และฝ่ายบริหารโดยแท้

ทั้งที่รู้เป็นเรื่องพระราชอำนาจ! ดร.บรรเจิด กางกม.ชี้ชัด!ความต่างพรฏ.-พรบ.เรื่องพระราชอำนาจ ฝ่ายบริหารโดยแท้

จากการที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง จัดชุมนุมปราศรัยคัดค้านการเลื่อนวันเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้ง โดย"น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือโบว์" หนึ่งในแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ที่เคยออกมาพูดในลักษณะหมิ่นเหม่เกี่ยวกับน้ำอภิเษก กระทั่งล่าสุดนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว ได้อ่านคำแถลงภายหลังการชุมนุมซึ่งได้แสดงท่าทีที่แข็งกร้าว เหิมเกริมเป็นอย่างยิ่ง กับการยื่นคำขาดต่อรัฐบาล คสช. 3 ข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์นั่นคือ คำพูดที่สุดก้าวร้าวที่ว่า ภายในวันศุกร์ที่ 18 ม.ค.นี้ หากยังไม่มีการประกาศ พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) การเลือกตั้ง ในราชกิจจานุเบกษา เพื่อเปิดทางให้ กกต. กำหนดวันเลือกตั้งได้ จะยกระดับการชุมนุมในวันเสาร์ที่ 19 ม.ค.นี้  จึงเป็นที่มาของบิ๊กแดง พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบกว่า อย่าล้ำเส้น พร้อมย้ำทุกอย่าง ทุกขั้นตอนยังคงเป็นไปตามกรอบเวลา150วัน

 

ก่อนอื่นลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกา กันก่อน สำหรับพระราชกฤษฏีกา หรือ พรฏ. คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด

 

การตราพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องจะอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดนั้นๆ เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา โดยร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้อง โดยเมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จะต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกา ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้นๆ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการจากนั้นจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ต่อไป โดยพระราชกฤษฎีกาที่สำคัญ เช่น พระราชกฤษฎีกา(พรฏ.)ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

 

ขณะที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่นๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ

 

ทั้งนี้พระราชบัญญัติ มีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541

 

 

 

กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง

 

การตราพระราชบัญญัตินั้นจะทำได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

 

โดยมาตรา 146 ของรัฐธรรมนูญปี60 ระบุว่า ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

 

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ บรรเจิด สิงคะเนติ อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า เปิดเผยกับทีมข่าวการเมือง สำนักข่าวทีนิวส์ โดยผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรายนี้ ได้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่าง พระราชบัญญัติ กับพระราชกฤษฏีกา ไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ประชาชนได้รับรู้ถึงสาระสำคัญของกฎหมายนี้

 

กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง

“พระราชบัญญัติ หรือ พรบ. เป็นกฎหมายที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ที่มีกรอบเวลาอยู่ที่ 90วัน ส่วนพรฏ.ไม่ได้เขียนไว้ชัดในรัฐธรรมนูญถึงกรอบเวลา โดยพรฏ.นั้น เป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร นั่นคือ คณะรัฐมนตรี ที่ออกมาเป็นมติครม. ซึ่งรายละเอียดของเรื่องนี้ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ต่างจากการอออกพรบ.ที่ระบุไว้ชัดเจน การออกพรฏ.ซึ่งเป็นเรื่องของฝ่ายบริหารโดยแท้ คือ ครม. และเรื่องของพระมหากษัตริย์ เรื่องของพระราชอำนาจ เมื่อครม.นำทูลเกล้าฯแล้ว พระมหากษัตริย์ก็ใช้พระราชอำนาจวินิจฉัย ขณะที่พรบ.เป็นอำนาจของสภาฯ ออกกฎหมายแล้วนำทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย”

 

นอกจากนี้เมื่อถามว่า หากพระมหากษัตริย์ ทรงลงโปรดเกล้าฯมาแล้ว สำหรับพรฏ.นั้น ทางรัฐบาล จะต้องนำประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในกี่วัน มีกำหนดกรอบเวลาไว้หรือไม่ ซึ่งอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ นิด้า ให้ความเห็นในข้อกฎหมายไว้ว่า "แม้มีการโปรดเกล้าฯลงมาแล้ว ก็ไม่ได้มีกำหนดเวลาว่ากี่วันที่จะต้องประกาศในราชกิจจาฯ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ระบุกรอบเวลาไว้  นั่นหมายความว่า พรฏ.เมื่อโปรดเกล้าฯลงมาแล้วก็ไม่ได้กำหนดวันเวลาว่าจะต้องประกาศภายในกี่วัน สำหรับกรอบเวลาในการประกาศใช้พรฏ.เลือกตั้งจะทันในกรอบเวลา150วันหรือไม่นั้น จะต้องรอดูกันต่อไป เพราะเป็นเรื่องฝ่ายบริหารนั่นคือ รัฐบาลและเรื่องของพระราชอำนาจ" ดร.บรรเจิด กล่าว

 

เช่นนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าในเรื่องของพระราชกฤษฏีกานั้นเป็นเรื่องของพระราชอำนาจ ของพระมหากษัตริย์ที่ทรงจะวินิจฉัยโดยไม่มีเงื่อนกรอบเวลามากำหนด ฉะนั้นเรื่องนี้จึงต้องถามกลับไปที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่ออกมาขีดเส้นพร้อมคำขู่จะชุมนุมใหญ่ ซึ่งแทบจะมองไปอย่างอื่นไม่ได้ว่านี่คือ พฤติกรรมของคนเหิมเกริม ล้ำเส้น ใช้กำลังคำพูดกดดันบีบรัดเพื่อความต้องการของกลุ่มตนหรือไม่ ทั้งที่รู้ทั้งรู้อยู่แก่ใจกันดีว่า ในห้วงกรอบเวลาที่หากจะต้องขยับวันเลือกตั้งก็ไม่ได้กระทบต่อไทม์ไลน์ที่กำหนด นั่นคือ ยังอยู่ในกรอบกฏหมาย150วัน กระนั้นจึงบ่งบอกถึงการกระทำของคนกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดีว่า เหิมเกริม จงใจจาบจ้วงทั้งที่คนส่วนใหญ่ทั้งประเทศรู้กันเป็นอย่างดีว่า พระราชพิธีที่คนไทยรอคอยสำคัญเหนืออื่นใด

 

เเถลงการณ์

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-อัยการเลื่อนสั่งฟ้อง 2 คดี "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง"ไป 11 ก.ย. เหตุสรุปสำนวนไม่ทัน 

-โผล่มาตามนัด !! "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" เนติวิทย์นำทีม ยื่นศาลขอปล่อยตัวชั่วคราว....จ่านิวร่วมให้กำลังใจ (มีคลิป)