จ่านิวพวกไม่รอด! อุทธรณ์ยืนละเมิดอำนาจศาล ชี้แม้รธน.ให้เสรีภาพแต่ไม่ใช่ใช้อย่างไร้ขอบเขต

พึงสำเหนียก!จ่านิวพวกไม่รอด อุทธรณ์ยืนละเมิดอำนาจศาล ชี้แม้รธน.ให้เสรีภาพแต่ไม่ใช่ใช้อย่างไร้ขอบเขต

จากกรณีเมื่อวันที่ 2 พ.ย.60  ศาลจังหวัดขอนแก่น ได้มีคำสั่งนัดอ่านคำพิพากษาคดีละเมิดอำนาจศาล เลขที่ ลม.1/60 จากการแสดงออกทางสัญลักษณ์และจัดกิจกรรมทางการเมืองภายในเขตอำนาจศาล เหตุเกิดเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2560 โดยผู้ต้องหาในคดี ประกอบด้วย 1. “จ่านิว” หรือนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ แกนนำกลุ่มพลเมืองโต้กลับ 2. นายอภิวัฒน์ สุนทรารักษ์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง 3. นายณรงค์ฤทธิ์ อุปจันทร์ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ ม.ขอนแก่น  4. นายพายุ บุญโสภณ 5. นายอาคม ศรีบุตตะ 6. นายจุฑามาศ ศรีหัตถผดุงกิจ และ 7. นายภาณุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์  ซึ่งอันดับ 3-7 เป็นแกนนำกลุ่มพลเมืองคนรุ่นใหม่ และสมาชิกกลุ่มดาวดิน นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ม.ขอนแก่น

 

ต่อมา ผู้พิพากษาได้อ่านคำสั่งศาล ก่อนส่งเรื่องให้ผู้ต้องหาทั้ง 7 คนไปรายงานตัวที่สำนักงานคุมประพฤติ จ.ขอนแก่น โดยน.ส.ภาวิณี ชุมศรี ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า ศาลได้มีคำพิพากษา แยกเป็นผู้ต้องหาที่ 2-7 ให้รอการลงโทษเป็นเวลา 2 ปี คุมประพฤติ 1 ปี โดยให้มารายงานตัว 6 ครั้ง ในส่วนของผู้ต้องหาที่ 1 คือ จ่านิว หรือนายสิรวิชญ์ แกนนำกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ในฐานะที่จบการศึกษาแล้ว เป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะ ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 6 เดือนปรับ 500 บาท โทษจำคุก 6 เดือนให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี และให้คุมความประพฤติไว้อีก 1 ปี เช่นเดียวกัน คือต้องมารายงานตัว 6 ครั้ง เช่นเดียวกันผู้ต้องหาที่ 1-6 และให้ทุกคน บำเพ็ญประโยชน์ อีก 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ศาลยังมีคำสั่งห้ามไม่ให้ทั้ง 7 คน ไปคบค้าสมาคมหรือรวมตัวกัน หรือจัดกิจกรรมอันที่เป็นลักษณะที่จะเป็นความผิดในทำนองเดียวกันอีก

 

ล่าสุดเฟซบุ๊ก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้โพสต์ข้อความถึงความคืบหน้าในคดีดังกล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 62 วานนี้ ศาลจังหวัดขอนแก่นนัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 คดีซึ่ง 7 นักศึกษา ถูกกล่าวหาโดยผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดขอนแก่น และศาลจังหวัดขอนแก่นพิพากษาว่ามีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล จากการจัดกิจกรรมบริเวณฟุตบาทหน้าศาลจังหวัดขอนแก่น เพื่อสะท้อนปัญหาในกระบวนการยุติธรรมและให้กำลังใจ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” ขณะตกเป็นจำเลยในคดี ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

 

 

 

ประชาชน

 

โดยศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น มีรายละเอียดว่า “…แม้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งเจ็ดมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น แต่มิใช่ว่าจะสามารถใช้เสรีภาพดังกล่าวอย่างไร้ขอบเขต โดยต้องอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งในกรณีนี้คือบทบัญญัติของความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

 

และการที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1-6 กับพวก ไปรวมตัวกันอ่านแถลงการณ์ที่บริเวณหน้าป้ายศาล โดยมีไม้แปรรูปทำเป็นสัญลักษณ์คล้ายตาชั่ง อันหมายถึงศาลเอียงไปทางรองเท้าบู๊ทซึ่งหมายถึงทหาร ตั้งอยู่ข้างหน้า สื่อแสดงให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า ศาลพิจารณาคดีของนายจตุภัทร์อย่างไม่ยุติธรรม เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายทหาร ย่อมทำให้สถาบันศาลซึ่งทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีด้วยความเที่ยงธรรม ต้องถูกลดทอนศักดิ์ศรีและความน่าเชื่อถือ

 

รัฐธรรมนูญ 2560

 

 

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก : ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน