- 31 ม.ค. 2562
พนักงาน! โห่ไล่คน "ชินวัตร" หลัง "ไอแบงก์" พลิกฟื้นพ้นขาดทุนยับ
หนึ่งในองค์กรทางการเงินของไทยที่เกิดขึ้นแล้วประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนักหลายปีต่อเนื่อง ถึงขั้นแทบต้องปิดกิจการ ก็คือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ ไอแบงก์ ทั้ง ๆ ที่ ไอแบงก์ เป็นสถาบันการเงินที่มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อรองรับการให้บริการเพื่อชาวมุสลิม และเกิดขึ้นภายใต้ พ.ร.บ.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 โดยการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ด้วยตัวเลขทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท เนื่องด้วยสภาพการทำงานที่มีแต่ความขัดแย้งและการแทรกแซงทางการเมืองมาโดยตลอด กระทั่งล่าสุดเพิ่งจะมีข่าวใหญ่จากผู้บริหารว่า ไอแบงก์พลิกฟื้นธุรกิจกลับมามีผลประกอบการเป็นกำไรครั้งแรก
โดยทางด้าน นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย ผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ ไอแบงก์ เป็นผู้ให้ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2562 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ คนร. ได้พิจารณาเห็นชอบให้ไอแบงก์พ้นจากแผนฟื้นฟู เนื่องจากฐานะทางการเงินปัจจุบันของไอแบงก์ มีความแข็งแกร่งในระดับสำคัญจากการเพิ่มทุนในช่วงปลายปี 2561 และปรากฎว่าในปี 2561 ที่ผ่านมา ไอแบงก์มีผลประกอบการเป็นยอดกำไรสูงกว่าแผนงาน ถึงแม้ว่าหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPF (Non Performing Finance) จะยังคงสูงกว่าแผนเล็กน้อย แต่ก็ถือเป็นผลประกอบการที่มีกำไรครั้งแรกของธนาคาร หลังจากต้องประสบปัญหาการขาดทุนในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไอแบงก์ มีการพัฒนากระบวนการและระบบงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และการกำกับดูแล ซึ่งช่วยสนับสนุนในการสร้างความยั่งยืนทางการเงิน สู่การเติบโตของธนาคารในอนาคตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ 1/2562 จึงมีมติให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ ไอแบงก์ ออกจากแผนฟื้นฟูและออกจากกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ต้องจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาองค์กร โดยมอบหมายให้ทางกระทรวงการคลังเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของธนาคารตามปกติต่อไป
โดยจากนี้ ไอแบงก์ ก็จะมุ่งเน้นการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการยกระดับบริการทางการเงิน เพื่อสร้างความทัดเทียมในการให้บริการทางการเงินและเพิ่มความสะดวกสบาย โดยยังคงให้ความสำคัญ และยึดมั่นในพันธกิจในการให้บริการลูกค้ามุสลิม รวมทั้งพัฒนาบริการใหม่ๆ อย่าง Mobile Banking เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของการใช้ชีวิตในปัจจุบัน และสนองความต้องการของลูกค้า
"สำหรับปัจจุบัน ไอแบงก์ มีผลการดำเนินงานกำไรสุทธิ เบื้องต้นกว่า 500 ล้านบาท ( สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2561) หลังจากที่ธนาคารได้รับการเพิ่มทุนจำนวน 18,100 ล้านบาท เป็นที่เรียบร้อย เมื่อช่วงปลายปี 2561 ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นส่วนใหญ่ โดยกระทรวงการคลัง มีสัดส่วนที่ 99.59% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด" "สำหรับปัจจุบัน ไอแบงก์ มีผลการดำเนินงานกำไรสุทธิ เบื้องต้นกว่า 500 ล้านบาท ( สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2561) หลังจากที่ธนาคารได้รับการเพิ่มทุนจำนวน 18,100 ล้านบาท เป็นที่เรียบร้อย เมื่อช่วงปลายปี 2561 ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นส่วนใหญ่ โดยกระทรวงการคลัง มีสัดส่วนที่ 99.59% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด"
ประเด็นน่าสนใจก็คือ ไอแบงก์ซึ่งเริ่มต้นก่อตั้งมาแต่ยุครัฐบาลทักษิณ และมีลักษณะเฉพาะทางการดำเนินธุรกรรม จึงประสบปัญหาทางธุรกิจ ถึงขั้นต้องมีการเพิ่มทุน รวมถึงปรับปรุงโครงสร้างการทำงานบ่อยครั้งมาก
ย้อนกลับไปในช่วงที่คสช.เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทุกคนก็ต้องพบตัวเลขที่น่าตกใจ เนื่องจากสถานะทางการเงินของไอแบงก์ สิ้นสุด ณ เดือน ส.ค. 2557 ที่ผ่านมา พบว่าธนาคารมียอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) คงค้างเป็นยอดเงินกว่า 4.2 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 38% ของสินเชื่อรวม 1.1 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มจะย่ำแย่ไม่หยุด เนื่องจากมีลูกหนี้รายใหญ่ถูกลดอันดับลงเป็นเอ็นพีแอลเพิ่ม ทำให้ในปี 2557 ไอแบงก์มียอดหนี้เสียเพิ่มขึ้นมาก และคาดว่าการณ์ในขณะนั้นว่าจนถึงสิ้นปี 2557 ไอแบงก์อาจมียอดเอ็นพีแอลเพิ่มเป็น 5 หมื่นล้านบาท
การตรวจสอบของ "สนข.ทีนิวส์" ในขณะนั้นพบด้วยว่า ลูกหนี้ไอแบงก์ส่วนมากเป็นรายใหญ่เกือบทั้งหมด และแต่ละรายมีมูลค่าหนี้สูงตั้งแต่ 1-3 พันล้านบาท นอกจากนี้เมื่อตรวจสอบในบัญชีลูกหนี้จากระบบของสินเชื่อทั้งหมด มีแนวโน้มว่าลูกหนี้รายใหญ่หลายรายที่ไม่มีศักยภาพในการชำระหนี้ จะกลายเป็นเอ็นพีแอลได้ในอนาคต ที่สำคัญยังมีการคาดการณ์ว่ายอดเอ็นพีแอลของไอแบงก์ อาจสูงขึ้นถึง 80% จนทำให้ธนาคารไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้เคยมีการนำเสนอหลายครั้งว่า จุดหนึ่งที่ถูกตั้งข้อสังเกตุอย่างมาก ก็คือ ในช่วงรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ไอแบงก์ มาเป็น นายธานินทร์ อังสุวรังษี น่าจะมีส่วนสำคัญให้อาการป่วยของ ไอแบงก์ ยิ่งทรุดลงอย่างรวดเร็ว
ถามว่านายธานินทร์ เป็นใคร เป็นที่รับรู้ว่านายธานินทร์เองค่อนข้างจะมีความใกล้ชิดกับพรรคเพื่อไทยเป็นพิเศษ เนื่องจากในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการไอแบงก์ นายธานินทร์ ก็ยังนั่งควบคู่กับการเป็นบอร์ด บมจ.ท่าอากาศยานไทย ซึ่งมีนาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี ทำหน้าที่เป็นประธานบอร์ดอีกด้วย
นอกจากนี้ถ้าย้อนประวัติกลับไป นายธานินทร์ อดีตก็เคยเป็น กรรมการผู้จัดการ แมคไทยจำกัด , ประธานบริษัท 988 พลัส จำกัด , ที่ปรึกษา CEO บริษัทเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ จำกัด (มหาชน) , เป็นกรรมการบริษัทศัลยกรรมเพอร์เฟคเท็น จำกัด , บริษัทอีซีท็อปอัพ จำกัด , บริษัท แวง จำกัด , บริษัทเอ็มบาสซี่ ซีนีมา จำกัด , บริษัทอินโนเวทีฟ จำกัด , บริษัทอินโนเวทีฟ เอนเอจี แมเนจเมนท์ จำกัด และ ก่อนจะได้รับการคัดเลือกมาเป็นผู้จัดการไอแบงค์ นายธานินทร์ก็ทำหน้าที่ เป็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แคปปิตอล โอเค บริษัทในเครือชินคอร์ป
ขณะเดียวกันในช่วงที่มีการคัดเลือกกรรมการผู้จัดการไอแบงก์ นายธานินทร์ เคยถูกทักท้วงจากคณะกรรมการสรรหา ถึงขั้นให้เขียนกำหนดลงไปในรายงานการประชุมว่า คุณสมบัติของนายธานินทร์ ไม่เหมาะกับการเป็นเอ็มดีของไอแบงก์ เพราะไม่ใช่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร แต่เป็นเพียงผู้จัดการทั่วไปเท่านั้น นอกจากนี้ คุณสมบัติที่กำหนดยังระบุว่า ต้ องเคยผ่านการบริหารงานในสถาบันการเงิน และมีเงินทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท ปรากฎว่าแคปปิตอล โอเค เองมีเงินทุนหมุนเวียนไม่ถึงเกณฑ์ คณะกรรมการสรรหา จึงระบุว่า หากคุณสมบัติผู้สมัครไม่ครบ ให้ถือว่าเป็นความผิดของผู้สมัครเอง เพราะแรงสนับสนุนทางการเมืองต้องการให้นายธานินทร์ได้รับตำแหน่งนี้…
และจากการเข้าทำงานในไอแบงก์ไม่นาน ก็เกิดปฏิกริยาต่อต้านจากสหภาพพนักงานไอแบงก์ โดยการรวมตัวประท้วงและนำเสนอข้อมูล ให้สาธารณชนเห็นถึงวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นภายในสถาบันการเงินแห่งนี้ ผ่านการสื่อสารว่า ไอแบงก์ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2546 กำลังตกต่ำถึงขีดสุดในยุคของนายธานินทร์ ทั้งในด้านผลประกอบการ ที่มีขนาดสินทรัพย์ลดลงมากกว่า 20 % นับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2555
โดยเฉพาะกรณี ไอแบงก์ มีหนี้เอ็นพีแอลมากเป็นประวัติการณ์ถึง 3.9 หมื่นล้านบาท และการขาดทุนสะสมที่มากกว่าทุนการดำเนินการ ทำให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสียงติดลบถึง 14 % ซึ่งถ้าคิดเป็นตัวเลขการขาดทุน กลุ่มพนักงานไอแบงก์ระบุว่า มีการขาดทุนเฉพาะช่วงเดือนม.ค.- พ.ค. 2556 ประมาณ 7 พันล้านบาท ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของธนาคารลดลงเป็นลำดับกระทั่งมีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากถึง 2.9 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2555 – เดือน พ.ค.2556
1. สั่งการให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องยกเลิกกระบวนการอนุมัติและเบิกจ่ายสินเชื่อที่ไม่เป็นไปตามข้อบังคับธนาคาร ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของลูกค้าธุรกิจ จนมีผลทำให้ลูกค้าจำนวนมากประสบปัญหาในทางธุรกิจจนไม่สามารถชำระหนี้ให้กับธนาคารได้ ดังปรากฏจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารได้เพิ่มขึ้นจาก 24,000 ล้านบาทในเดือนพ.ย.2555 เป็นมากกว่า 38,000 ล้านบาท ในเดือนเม.ย.2556
2. สั่งการให้ยกเลิกการรวบอำนาจการอนุมัติตามลำดับชั้นโดยกรรมการผู้จัดการธนาคาร ซึ่งการสั่งการของกรรมการผู้จัดการธนาคาร ส่งผลให้การอนุมัติดำเนินการต่างๆ ได้เกิดความล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินงานในการสั่งซื้อสั่งจ้างพัสดุหรือการดำเนินการที่มีความจำเป็นในหน่วยงานต่างๆ ของธนาคาร และสุ่มเสี่ยงต่อการถูกคู่ค้าของธนาคารฟ้องร้อง
3. สั่งการให้ยกเลิกการว่าจ้างคณะที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการ ทุกราย เนื่องจากธนาคารมีค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการรวมมากกว่า 1 ล้านบาทต่อเดือน 4. สั่งการให้สอบข้อเท็จจริงกรณีที่มีการสั่งกันสำรองเป็นเงินจำนวน 7,000 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ธนาคารขาดทุนจนทุนติดลบโดยไม่มีความจำเป็น
5. สั่งการให้ตั้งคณะทำงานสอบข้อเท็จจริงกรณีที่มีการออกข่าวในทางเสียหายต่อธนาคาร โดยเฉพาะการเปิดเผยรายงานธนาคารแห่งประเทศไทย มีหนี้เสียถึง 39,000 ล้านบาท ทั้งที่ในข้อเท็จจริง ณ เดือน ม.ค.2556 ธนาคารมีหนี้เสียเพียง 24,000 ล้านบาท
6.สั่งการให้ตั้งคณะทำงานสอบข้อเท็จจริงกรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแก้ไขชั้นหนี้ลูกค้าเบิกเกินวงเงิน (OD) หลายรายเพื่อปกปิดหนี้เสียกว่า 3,000 ล้านบาท ในเดือนก.พ.2556 ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงยอดหนี้เสียรวมของธนาคารอย่างมีนัยสำคัญ
1. พฤติการณ์ตบแต่งบัญชีรับสินบน โดยมีรายละเอียดประกอบว่า นายธานินทร์ ในฐานะผู้จัดการไอแบงก์ขณะนั้น ได้ตบแต่งงบการเงินประจำเดือน ก.พ. 2556 และมีการรายงานเท็จต่อคณะกรรมการธนาคาร และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ด้วยการแก้ไขการจัดชั้นหนี้เพื่อให้ยอดหนี้เสียลดลงไปกว่า 4,000 ล้านบาท เนื่องจากต้องการปกปิดความไม่มีประสิทธิภาพของตัวเอง ซึ่งถือเป็นการเข้าข่ายการกระทำความผิดตามมาตรา 55 ของพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ไม่เท่านั้นมีรายงานข่าวด้วยว่า ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้มีการส่งบันทึกถึงประธานคณะกรรมการธนาคารไอแบงก์ (ในขณะนั้น) เพื่อขอให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนนายธานินทร์ใน 3-4 ประเด็น จากหนังสือร้องเรียน
2. พฤติการณ์ให้ข่าวที่สร้างความเสียหายต่อธนาคาร
3.พฤติการณ์สั่งระงับสินเชื่อจนทำให้ลูกค้าได้รับความเดือดร้อน โดยเป็นกรณีที่มีการกล่าวหาว่านายธานินทร์ มีการเรียกรับสินบนจากการปล่อยสินเชื่อกับบริษัท ท้าพิสูจน์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้มีการฟ้องร้องกับนายธานินทร์ ฐานเรียกรับสินบนที่โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2556 2. พฤติการณ์ให้ข่าวที่สร้างความเสียหายต่อธนาคาร
อย่างไรก็ตาม นายธานินทร์ ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด พร้อมยืนยันว่าในช่วงการเข้าบริหารงาน ไอแบงก์ ได้มุ่งมั่นจะแก้ปัญหาวิกฤตทางการเงินขององค์กรมาโดยตลอด กระนั้นท้ายสุด นายธานินทร์ ก็ตัดสินใจยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการไอแบงก์ โดยอ้างเหตุผลเรื่องสุขภาพ เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2556 และบอร์ดได้อนุมัติให้มีผลในวันที่ 30 มิ.ย. 2556 แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน คือ ในวันที่ 19 ก.ค. 2556 นายธานินทร์ ก็ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้ไปนั่งเป็นบอร์ดธนาคารอาคารสงเคราะห์ ทดแทนตำแหน่งผู้บริหารไอแบงก์ที่ลาออก ก่อนจะมีความพยายามแก้ไขปัญหาให้กับ ไอแบงก์ ในหลากหลายรูปแบบจนกระทั่้งมาเริ่มเห็นผลในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ นี้เอง..