- 19 มี.ค. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
เงียบหายไประยะเวลานานพอสมควร ภายหลังสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ ไอแบงค์ (สร.ธอท.) ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาการทุจริตภายในองค์กร ที่เป็นปัญหาสำคัญทำให้ธนาคารประสบภาวะการขาดทุนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด นับเนื่องตั้งแต่ปี 2554 มาถึงปัจจุบัน อีกทั้งรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้พยายามสรรหาบุคลากรเข้าไปแก้ไขปัญหา แต่ดูเหมือนว่าประเด็นที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการสร้างภาพแต่เปลือกนอก แต่ปมวิกฤตจริงๆยังไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง
ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (สร.ธอท.) ได้นัดหมายชุมนุมพร้อมแถลงการณ์ฉบับใหม่ในวันนี้ (20 มี.ค.) เวลาประมาณ 12.00 น. ที่ด้านหน้าอาคารสำนักงานใหญ่ เพื่อเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองเข้ามาสะสางวิกฤตการณ์ทั้งหมดอย่างจริงจัง ด้วยความเป็นห่วงว่าถ้าถึงช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลจากคสช.ไปสู่ยุคนักการเมืองอีกครั้ง สิ่งที่เป็นปัญหาทั้งเรื่องการทุจริตและการบริหารจัดการองค์กรที่คาดหวังว่าจะช่วยฟื้นฟูไอแบงค์ให้กลับมามีเสถียรภาพมั่นคงจะเกิดขึ้นยาก รวมถึงบุคคลที่กระทำการทุจริตในอดีตก็จะรอดพ้นจากการลงโทษเหมือนในยุคอดีตที่ผ่านๆมา
โดยเบื้องต้นทางสหภาพแรงงานฯไอแบงค์ (สร.ธอท.) มีจุดยืนชัดเจนในเรื่องขอให้รัฐบาลคสช.พิจารณาการเปลี่ยนคณะกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่าตั้งแต่การเข้ามาบริหารงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธนาคาร) ของคณะกรรมการธนาคาร (บอร์ด) ชุดปัจจุบันตั้งแต่ ส.ค. ๒๕๕๗ ไม่ปรากฏผลที่เป็นรูปธรรมตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดกระบวนการนำไปสู่ขั้นตอนเการฟื้นฟูธนาคาร ดังนี้
๑. โอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPFs) ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ที่กระทรวงการคลังจัดตั้งขึ้น
๒. ตรวจสอบฟ้องร้องดําเนินคดีกับผู้ที่ทําให้ธนาคารเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อ
๓. สรรหาพันธมิตรเข้าร่วมทุน
๔. ปรับปรุงการบริหารงานภายในให้มีประสิทธิภาพ
อีกทั้งจากการที่สร.ธอท.ติดตามการทํางานของบอร์ดอย่างใกล้ชิด พบว่า ในช่วงปลายปี ๒๕๕๗ ถึง กลางปี ๒๕๖๐ ธนาคารดําเนินการตามข้อสั่งการของรัฐบาลอย่างล่าช้า เช่น การลดจํานวนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPFs) ที่ขาดประสิทธิภาพ ธนาคารมี NPFs เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ณ สิ้นปี ๒๕๕๖ จํานวน ๓๒,๑๑๘.๑๘ ล้านบาท (๓๐%), ปี ๒๕๕๗ จํานวน ๔๗,๘๘๗.๖๐ ล้านบาท (๔๔%),
ปี ๒๕๕๘ จํานวน ๔๖,๙๑๗.๓๒ ล้านบาท (๔๓%), ปี ๒๕๕๙ จํานวน ๕๒,๕๗๐.๙๐ ล้านบาท (๔๘%) และ ณ เดือนพ.ค. ปี ๒๕๖๐ ก่อนการโอน NPFs ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ธนาคารอิสลามแห่ง
ประเทศไทย (IAM) ถึง ๕๖,๕๔๒ ล้านบาท (๖๐.๙๕%) ต่อมาในเดือนมิ.ย. ๒๕๖๐ จึงมีการโอน NPFs เฉพาะในส่วนที่ไม่ใช่ลูกค้ามุสลิมให้ IAM ประมาณ
๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าธนาคารมิได้ใส่ใจและจริงจังในการลด NPFs แต่มุ่งไปที่การโอน NPFs เท่านั้น
(แฟ้มภาพ ปี 2560)
ส่วนการตรวจสอบฟ้องร้องดําเนินคดีกับผู้ที่ทําให้ธนาคารเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อ สร.ธอท.พบว่า ธนาคารมิได้ดําเนินการตามข้อบังคับธนาคารโดยข้ามขั้นตอนการสอบสวนทางวินัย และไปสอบสวน
ความรับผิด ทางละเมิด ซึ่งที่ผ่านมา ธนาคารยังไม่ดําเนินการทางด้านวินัยกับพนักงานที่เกี่ยวข้อง พนักงานหลายรายยังคง ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการอํานวยสินเชื่อ และยังมีการเลือกปฏิบัติโดย
ไม่มีการสอบสวนความผดิ ในการ ปล่อยสินเชื่อที่ทําให้ธนาคารเสียหายในกรณีอื่นๆ เช่น สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ มูลค่าความเสียหายกว่า ๒,๐๐๐ ล้านบาท อีกทั้งยังมีการแต่งตั้งพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อที่สร้างความเสียหายต่อธนาคารมาเป็น กรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงด้วย
(แฟ้มภาพปี 2560)
ในกระบวนการสรรหาพันธมิตรเข้าร่วมทุนซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อขอแก้ไขพรบ.ธนาคารให้กระทรวงการคลังสามารถถือหุ้นธนาคารได้มากกว่า ๔๙% เป็น
การชั่วคราว เพื่อเปิดช่องให้กระทรวงการคลังเพิ่มทุนให้ธนาคารจํานวน ๑๘,๑๐๐ ล้านบาท เพื่อให้ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อ สินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ไม่ติดลบ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญในการสรรหาพันธมิตร โดยสมาชิกสนช.หลายท่าน
(แฟ้มภาพปี 2560)
สอบถามธนาคารว่า “การนําคนผิดมาลงโทษ ธนาคารดําเนินการถึงไหน อย่างไรบ้าง” ซึ่งผู้แทนธนาคารชี้แจงว่า “ธนาคารได้ดําเนินการลงโทษทางวินัยกับพนักงานของธนาคารแล้ว ๔๘ ราย ในจํานวนนี้มีการลงโทษวินัย ร้ายแรง ๒๔ ราย ส่วนคดีอาญาได้ส่งรายชื่อผู้กระทําความผิดให้สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จํานวน ๒๒ ราย และยื่นต่อสํานักงาน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) อีก ๑๖ ราย ด้านคดีแพ่งสอบสวนเสร็จแล้ว ๔ ราย อยู่ระหว่างส่งฟ้องอัยการเพื่อเรียก เงินคืนและสอบสวนทางแพ่งอยู่อีก ๒๒ ราย”
ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ สร.ธอท.ขอเรียนว่า ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ถึง ปัจจุบันมีพนักงานถูกลงโทษทางวินัยร้ายแรง (พ้นสภาพการเป็นพนักงาน) ประมาณ ๒๐ ราย และมีไม่ถึง ๒ ราย ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตที่ทําให้ธนาคารเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อที่รัฐบาลต้องการให้ธนาคารดําเนินการ ส่วนที่เหลือเป็นการทุจริตที่มีความเสียหายเล็กน้อยและเป็นการทุจริตเพียงลําพัง โดยเห็นได้ชัดเจนว่า ธนาคารไม่ได้มีความใส่ใจคําสั่งของรัฐบาลในการตรวจสอบฟ้องร้องดําเนินคดีกับผู้ที่ทําให้ธนาคารเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อ จนกระทบต่อการแก้ไขพรบ.ธนาคารและการเพิ่มทุนซึ่งเป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการสรรหาพันธมิตร
ทั้งนี้ การที่จะฟื้นฟูธนาคารให้อย่างยั่งยืนและมั่นคง นอกจากการโอน NPFs ให้ IAM และตรวจสอบ ฟ้องร้องดําเนินคดีกับผู้ที่ทําให้ธนาคารเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อแล้ว จะต้องมีการปรับปรุงการบริหารงาน ภายในธนาคารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรองรับการเพิ่มทุนและการเข้ามาของพันธมิตร (ถ้ามี) ซึ่งมีหลายๆ ส่วนประกอบกัน ทั้งการกลับไปให้บริการกลุ่มลูกค้ามุสลิม, การเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการด้านต่างๆ, การ ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ ข้อบังคับ หรือกฎหมาย ด้วยความถูกต้อง อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน และภาครัฐ
แต่สิ่งที่คณะกรรมการธนาคารดําเนินการอยู่ในปัจจุบัน มิได้สะท้อนถึงหลักการ ดังกล่าว ไม่ดูแลผู้ถือหุ้น ไม่ใสใจลูกค้า ไม่เห็นใจพนักงาน และไม่ปกป้องผลประโยชน์ของธนาคาร เช่น กรณี ยกเลิกระบบบัตรเครดิตที่อาจทําให้ธนาคารต้องจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นอีกหลายล้านบาท หรือการลดกําไรค้างรับ ลูกค้าที่ทําให้ธนาคารต้องสูญเสียรายได้กว่า ๑๙๐ ล้านบาท เป็นต้น ถึงแม้ว่าพนักงานที่เกี่ยวข้องหรือสร.ธอท.จะ นําเสนอธนาคาร แต่ธนาคารกลับนิ่งเฉย ไม่ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่แสดงถึงการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ธนาคารมิได้ดูแลพนักงานซึ่งเป็นกลไกสําคัญในการผลักดันให้ธนาคารรอดพ้นจากปัญหา ต่างๆ เช่น หลักเกณฑ์สินเชื่อสวัสดิการพนักงานที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย หรือแม้กระทั่งการพิจารณาการ จ่ายเงินโบนัส ประจําปี ๒๕๕๖ ที่สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้แจ้งมายังธนาคารให้ธนาคารพิจารณาจัดสรรโบนัส ประจําปี ๒๕๕๖ ตามข้อสังเกตของสคร. แต่ธนาคารไม่พิจารณาและให้รอผลการ พิจารณาของศาลเท่านั้น ทั้งที่ธนาคารสามารถยืนยันผลการดําเนินการของธนาคารตามที่ได้เคยแจ้งสคร.ไปแล้ว แต่ธนาคารกลับเพิกเฉย ทําให้พนักงานเดือดร้อน และต้องรอผลการพิจารณาของศาลซึ่งอาจใช้เวลาอีกหลายปี
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าคณะกรรมการธนาคารขาดความชอบธรรมในการบริหารธนาคาร ไม่สามารถที่จะกํากับดูแลเพื่อแก้ไขปัญหาภายในได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งคณะกรรมการธนาคารจะต้องเป็นผู้ที่มี วิสัยทัศน์ มีคุณธรรม มีความสามารถ มีธรรมาภิบาล กล้าตัดสินใจ และมุ่งปกป้องรักษาผลประโยชน์ของธนาคาร เป็นสําคัญ
สร.ธอท. เห็นว่า คณะกรรมการธนาคารชุดปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาและรักษาผลประโยชน์ของภาครัฐ ผู้ถือหุ้น และพนักงานได้ จึงขอให้ภาครัฐเปลี่ยนคณะกรรมการชุดปัจจุบันโดยเร่งด่วน เพื่อให้ธนาคาร เติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง เป็นเครื่องมือทางการเงินอิสลามที่มีประสิทธิภาพของประเทศชาติต่อไป
ทั้งนี้ สร.ธอท.และพนักงานจะยึดถือผลประโยชน์ของธนาคาร พนักงาน ผู้ถือหุ้น และประเทศชาติเป็นสําคัญ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะนําข้อเสนอข้างต้นไปพิจารณาดําเนินการอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ขอบคุณภาพ : มูลนิธิสภายุวมุสลิมโลก , เว็บไซด์ www.tangnamnews.com