เปิดพ.ร.ป.รัฐธรรมนูญ “คณะกรรมการเลือกตั้ง”  เขียนชัดเรื่องกรอบ  “การสืบสวน การไต่สวนฯ”   จับตา“หุ้นวี-ลัค มีเดีย”  ไม่พ้นจบด้วยศาลวินิจฉัย!

หยุดบิดเบือน ขู่ฟ้องกกต. !! เปิดพ.ร.ป.รัฐธรรมนูญ “คณะกรรมการเลือกตั้ง” เขียนชัดเรื่องกรอบ “การสืบสวน การไต่สวนฯ” จับตา“หุ้นวี-ลัค มีเดีย” ไม่พ้นจบด้วยศาลวินิจฉัย!!

ถึงนาทีนี้ถือเป็นหน้าที่อันสำคัญยิ่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.ในการที่จะวินิจฉัยว่ากรณีการถือครองหุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย ของ นายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ  หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่  ตามคำร้องของ นายศรีสุวรรณ  จรรยา  เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย 

ว่า มีน้ำหนักเหตุผลเพียงต่อการนำเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายตามลำดับขั้นตอนต่อไป หรือไม่  อย่างไร   ท่ามกลางกระแสกดดันกลับในเชิงข่มขู่ว่าพร้อมจะดำเนินการฟ้องกลับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  ต่อกกต.ด้วยมูลฐานความผิด ด้วยข้อกล่าวาหาเรื่องการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

 

นายศรีสุวรรณ  จรรยา  เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย 

 

ทั้ง ๆ ที่กรณีนี้การทำหน้าที่ของกกต. มีความชัดเจน  ว่า เป็นไปตามที่มีผู้ร้องว่าการถือหุ้น   ทำให้นายธนาธรเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 98 (3) และ พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. 2561 มาตรา 42 (3)  ว่าด้วย  กำหนดห้ามมิให้ผู้สมัคร ส.ส. "เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ
 

และเพื่อให้เกิดข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วน   กรณีคำพูดในเชิงบิดเบือนการทำหน้าที่ของกกต. ซึ่งถูกมองว่าเข้าข่ายจะข่มขู่เจ้าพนักงานด้วยซ้ำ  ทำให้   นายแสวง บุญมี รองเลขาธิการ กกต.  จำเป็นต้องออกมาอธิบายต่อกรณีดังกล่าว ว่า โดยหลักการแม้นายธนาธรจะอ้างถึงการฟ้องร้องตามมาตรา 157  แต่ก็ต้องไม่ลืมว่ากระบวนการทำงานของกกต.  เริ่มต้นมาจากคำร้องตั้งแต่เดือนมีนาคม  2562 

 

จนกระทั่งมีการแจ้งข้อกล่าวหาเมื่อเวลาผ่านไปกว่าหนึ่งเดือน  จึงไม่ใช่เป็นเรื่องเร่งรัดอย่างแน่นอน  และการกล่าวหาว่ามีการแทรกแซงทางการเมือง  ก็ต้องถามกลับนายธนาธรเช่นกันว่าหลักฐานที่กล่าวหาว่ากกต.ถูกแทรกแซงทางการเมืองคืออะไร

 

นายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ  หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่

 

 

เพราะตามหลักข้อเท็จจริง  หน้าที่ของกกต.คือต้องทำตามกฎหมาย  และประเภทของคำร้องที่กกต.จำเป็นต้องดำเนินการพิจารณามีอยู่ 3 กรณี   ประกอบด้วย  1.มีเหตุอันควรสงสัยว่า 2.ความปรากฏ  และ 3.มีผู้ร้อง   โดยกฎหมายเลือกตั้งเองกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องมุ่งคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐ  แต่ยังคงให้สิทธิกับผู้ถูกร้องในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา  กฎหมายจึงระบุคำว่า 

 

ในกรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า   กกต.ย่อมสามารถพิจารณาหาข้อเท็จจริงได้แล้ว   ไม่เหมือนกับกรณีของกฎหมายอาญาซึ่งต้องปราศจากข้อสงสัย จึงจะสามารถเอาผิดได้เนื่องจากเป็นเรื่องกระทบสิทธิเสรีภาพ

 

ส่วนข้อสงสัยว่า กรณีข้อกล่าวหาเกี่ยวข้องกับ  นายธนาธรในฐานะเป็นหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่จะถือว่าเข้าข่ายทำให้ต้องยุบพรรคอนาคตใหม่หรือไม่ ที่ผ่านมาคณะกรรมสอบข้อเท็จจริงยังไม่ได้ดูรายละเอียดไปถึงตรงนั้น และเป็นเรื่องของข้อกฎหมายที่สามารถมีความเห็นไปได้หลายทาง   ตามการพิจารณาของกกต.ว่าหัวหน้าพรรครู้เห็นสนับสนุนหรือไม่

 

เปิดพ.ร.ป.รัฐธรรมนูญ “คณะกรรมการเลือกตั้ง”  เขียนชัดเรื่องกรอบ  “การสืบสวน การไต่สวนฯ”   จับตา“หุ้นวี-ลัค มีเดีย”  ไม่พ้นจบด้วยศาลวินิจฉัย!

 

 รวมทั้งต้องไปดูกระบวนการของพรรคการเมือง  ก่อนส่งเรื่องให้หัวหน้าพรรคเซ็นต์รับรองส่งผู้สมัคร รวมทั้งในกรณีนี้หากผู้สมัครรู้ตัวอยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติในการลงสมัครแต่ยังฝ่าฝืนข้อกฎหมาย  ถ้าพบว่าเป็นความผิดจริงก็ต้องรับผิดชอบตามม.138  ของพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.

 

อย่างไรก็ตามในกรณีที่นายธนาธร  เลือกที่จะใช้วิธีการตอบโต้ด้วยการแสดงความสงสัย  กรอบอำนาจการทำหน้าที่ของกกต.  จึงควรได้ลงลึกถึงประเด็นข้อเท็จจริง  โดยเฉพาะบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560    หมวด 2  การสืบสวน การไต่สวน และการดําเนินคดี   ตั้งแต่มาตรา 41 – 49  ซึ่งแสดงรายละเอียดไว้อย่างชัดเจน  เกี่ยวกับกรอบ  อำนาจ  หน้าที่ของกกต. ในการสืบสวน การไต่สวน และการดําเนินคดี

 

อาทิเช่น   มาตรา 41   วรรคแรก  บัญญัติใจความสำคัญเกี่ยวกับ อำนาจ  หน้าที่ของกกต. ไว้ว่า  “เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยหรือความปรากฏต่อคณะกรรมการไม่ว่าโดยทางใด  ไม่ว่าจะมีผู้แจ้งหรือผู้กล่าวหาหรือไม่ ถ้ามีหลักฐานพอสมควรหรือมีข้อมูลเพียงพอที่จะสืบสวนต่อไปว่ามี   การกระทําใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง

 

หรือจะมีผล  ให้การเลือกตั้ง มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม  หรือ เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย  คณะกรรมการมีหน้าที่ต้องดําเนินการให้มีการสืบสวน หรือไต่สวน เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานโดยพลัน   ถ้าผลการสืบสวนหรือไต่สวนปรากฏว่าไม่มีมูลความผิดให้สั่งยุติเรื่อง หากปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อว่า   มีผู้กระทําการตามที่มีการสืบสวนหรือไต่สวน ให้คณะกรรมการสั่งให้ดําเนินคดีโดยเร็ว หรือในกรณีจําเป็น  จะสั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้กระทําการดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้”

 

เปิดพ.ร.ป.รัฐธรรมนูญ “คณะกรรมการเลือกตั้ง”  เขียนชัดเรื่องกรอบ  “การสืบสวน การไต่สวนฯ”   จับตา“หุ้นวี-ลัค มีเดีย”  ไม่พ้นจบด้วยศาลวินิจฉัย!

 

ไม่เท่านั้นในขั้นตอนการดําเนินการให้มีการสืบสวนหรือไต่สวน  การสืบสวนและการไต่สวน และการสั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้ถูกกล่าวหาไว้เป็นการชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ  และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด

 

ขณะที่ในมาตรา 42   กำหนดว่า  ให้กรรมการมีอํานาจสืบสวน ไต่สวน หรือดําเนินคดีตามมาตรา  41  และเพื่อให้การดําเนินการสืบสวนหรือไต่สวน หรือการดําเนินคดีดังกล่าวเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  ให้คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งเลขาธิการหรือพนักงานของสํานักงานเป็นเจ้าพนักงานมีอํานาจในการสืบสวน  สอบสวน หรือไต่สวน หรือดําเนินคดีได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด   

 

ซึ่งอย่างน้อยต้องกําหนดระยะเวลาในการดําเนินการ และขอบเขตแห่งหน้าที่และอํานาจของผู้ได้รับแต่งตั้งแต่ละระดับไว้ให้ชัดเจน  รวมตลอดทั้งการออกบัตรประจําตัวเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องด้วย

 

ขณะเดียวกันในกรณีการสืบสวน  ไต่สวน  ข้อกล่าวหาซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินการ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม  รวมถึงเป็นไปโดยชอบข้อกฎหมาย  ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ    ต้องไม่ลืมว่า   นายธนาธรเองก็เคยได้รับประโยชน์จากการทำหน้าที่ของกกต.   เมื่อวันที่ 14  มีนาคม   2562   แต่ที่ผ่านมากลับไม่เคยนำมากล่าวถึง

 

ตามเอกสารชี้แจงในกรณีที่มีการยื่นคำร้องว่า   “คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติยุติเรื่อง จากกรณีที่มีผู้ร้องเรียนกล่าวหานายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่  และผู้สมัครรับเลือกตั้ง  ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ ว่ากระทำความผิดตามมาตรา 73 (5) แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. 2561

เนื่องจากปรากฏข่าวในโซเชียลและเว็บไซต์ของพรรคอนาคตใหม่ว่า  นายธนาธร เคยดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2 วาระ ตั้งแต่ปี 2551-2555 ซึ่งตามข้อเท็จจริงไม่เคยดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาก่อน  โดยกกต. เห็นว่าพยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่านายธนาธรกระทำผิด จึงมีมติดังกล่าว

 

เปิดพ.ร.ป.รัฐธรรมนูญ “คณะกรรมการเลือกตั้ง”  เขียนชัดเรื่องกรอบ  “การสืบสวน การไต่สวนฯ”   จับตา“หุ้นวี-ลัค มีเดีย”  ไม่พ้นจบด้วยศาลวินิจฉัย!

 

ด้วยเหตุด้วยผล   ข้อพิจารณาต่อการกระทำของนายธนาธร  สำหรับการเลือกวิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของกกต.ในหลายกรณี   จึงไม่อาจแปลความเป็นอื่นได้   นอกจากจะเห็นว่าเพื่อสร้างกรอบป้องกันผลกระทบจากคำวินิจฉัยในเชิงลบต่ออนาคตทางการเมืองเท่านั้น   และกรณีการถือหุ้น บริษัท วี-ลัค มีเดีย   กลายเป็นเคสกรณีสำคัญ  ที่อาจมีผลทางกฎหมายต่อนายธนาธรและพรรคอนาคตใหม่โดยตรงและทางอ้อม 

 

แม้ว่า นายธนาธรและนายปิยบุตร  แสงกนกกุล  เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่    จะร่วมกันพยายามกล่าวอ้างหลักฐานในแง่มุมต่าง ๆ   เพื่อเชื่อมโยงให้กกต.และสาธารณชนคล้อยตาม  เรื่องการขาย-โอนหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย เกิดขึ้นเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 8  มกราคม 2562   ถึงขั้นนำโชว์เอกสารใบสั่งจราจร และภาพเช็คสั่งจ่ายค่าหุ้น จำนวน  6,750,000  บาท  มาแสดงเพิ่มเติมจากคำบอกเล่าต่อสื่อมวลชนและข้อความโพสต์กล่าวอ้างก่อนหน้า

 

เปิดพ.ร.ป.รัฐธรรมนูญ “คณะกรรมการเลือกตั้ง”  เขียนชัดเรื่องกรอบ  “การสืบสวน การไต่สวนฯ”   จับตา“หุ้นวี-ลัค มีเดีย”  ไม่พ้นจบด้วยศาลวินิจฉัย!

 

แต่โดยหลักความจริงกรณีการถือหุ้น วี-ลัค มีเดีย   ท้ายสุดความผิดถูกจะต้องนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หรือ การวินิจฉัยโดยศาลยุติธรรม   ตามความเห็นเชิงกฎหมายของ  อ.ชูชาติ ศรีแสง  อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา  ดังต่อไปนี้

 

....เมื่อวันที่ 30  เมษายน  2562    นายปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวถึงกรณีที่ กกต. แจ้งข้อกล่าวหาแก่นายธนาธรถือหุ้นของบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ว่า กกต.ไม่รู้กฎหมายและไม่เคยศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกา

.....เคยนำคำพิพากษาศาลฎีกามาให้ทราบกันครั้งหนึ่งแล้วคือคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2543  ซึ่งวินิจฉัยว่า "การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129 วรรคสาม"

 

.....ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129  วรรคสาม บัญญัติว่า การโอนหุ้นให้แก่กันจะนํามาใช้แก่บริษัท หรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้ง ช่ือและสํานักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น

 

.....ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1141  บัญญัติว่า สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นน้ัน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องในข้อกระทงความบรรดาที่กฎหมายบังคับ หรือให้อํานาจให้เอาลงในทะเบียนนั้น

 

.....ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา   127 บัญญัติว่า เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทําขึ้นหรือรับรอง ฯลฯ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายัน ต้องนําสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร

 

.....บทบัญญัติของ ป.พ.พ.และ ป.วิ.แพ่ง หมายความว่า เอกสารที่ยื่นเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นโดยการคัดจากทะเบียนผู้ถือหุ้นเป็นเอกสารมหาชนท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ซึ่งเมื่อตามทะเบียนผู้ถือหุ้นระบุว่า มีการโอนหุ้นกันในวันที่ 21  มีนาคม 2562   ก็ต้องฟังว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องจะฟังเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ผู้ใดอ้างว่าไม่ถูกต้องๆ เป็นฝ่ายพิสูจน์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร

 

เปิดพ.ร.ป.รัฐธรรมนูญ “คณะกรรมการเลือกตั้ง”  เขียนชัดเรื่องกรอบ  “การสืบสวน การไต่สวนฯ”   จับตา“หุ้นวี-ลัค มีเดีย”  ไม่พ้นจบด้วยศาลวินิจฉัย!

 

.....ถ้ายึดตามหลักกฎหมายดังกล่าว การอ้างว่ามีการโอนหุ้นกันในวันที่ 8  มกราคม 2562  แม้มีเอกสารใส่กล่องกระดาษกล่องใหญ่ไม่ว่ากี่กล่องไปยื่นต่อ กกต. แต่เมื่อไม่ไปจดแจ้งการโอนหุ้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นก็ย่อมไม่อา  จรับฟังได้ว่ามีการโอนหุ้นกันในวันที่ 8 มกราคม 2562  จึงไม่อาจหักล้างหลักฐานในทะเบียนผู้ถือหุ้นที่ระบุว่า มีการโอนหุ้นในวันที่ 21 มีนาคม 2562  ได้

 

.....ดังนั้นจึงต้องฟังว่าในระหว่างวันที่ 4-8  กุมภาพันธ์  2562   นายธนาธรยังมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ซึ่งประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ จึงต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(3)และ พรป. การเลือกตั้งฯ มาตรา 42(3)

 

.....นายปิยบุตรคงจะได้รู้ในเวลาอีกไม่นานว่า กกต.ยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129  วรรคสามและยึดถือคำพิพากษาฎีกาที่  5873/2543   หรือไม่ ?

 

ทั้งหลายทั้งปวงกรณีการพิสูจน์ความผิดถูก เรื่องข้อกล่าวการถือครองหุ้นบริษัทวี-ลัค มีเดีย  ของนายธนาธร  จึงมิได้ขึ้นอยู่กับการวิพากษ์วิจารณ์  เพื่อดิสเครดิตการทำหน้าที่ของกกต. เพราะโดยบทบัญญัติกฎหมายได้ให้อำนาจกับกกต.ไว้อย่างเหมาะสมแล้ว  ในทางตรงข้ามประเด็นนี้อยู่ที่ว่า นายธนาธร  ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้ง   จะต้องพิสูจน์ให้ได้กระทำการถือครองหุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย อย่างถูกต้องหรือไม่  มากกว่าจะใช้วิธีการอื่นเพื่อชักจูงสาธารณชนให้เกิดความสับสน อย่างหนึ่งอย่างใด??

 

เปิดพ.ร.ป.รัฐธรรมนูญ “คณะกรรมการเลือกตั้ง”  เขียนชัดเรื่องกรอบ  “การสืบสวน การไต่สวนฯ”   จับตา“หุ้นวี-ลัค มีเดีย”  ไม่พ้นจบด้วยศาลวินิจฉัย!

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-"บิ๊กป้อม" สวนกลับ "ธนาธร" เล่นการเมืองนอกสภาฯถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ !?
-"ธนาธร-อนาคตใหม่" แสดงจุดยืน เตรียมส่งผู้สมัครเลือกตั้งท้องถิ่น พร้อมเคาะทุกประตูบ้านแสดงนโยบายพรรค!
-"ธนาธร"ท้า"ศรีสุวรรณ" ขอสัญญาณมือถือ ยืนยันที่อยู่ 8 ม.ค.
-อดีตบก.ดัง จับยามสามตาดูโหงวเฮ้ง"ธนาธร"เข้าตำรานรลักษณ์ศาสตร์ ฟันธง..อนาคตทางการเมืองดับ !
-หรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย?? เกมการเมือง "ธนาธร-ทักษิณ" หากคิดการใหญ่หมายปลุกระดมมวลชน ท้ายสุดไม่พ้นหนังม้วนเดิม!!