อ.สุวินัย รีวิว อ่าน  Animal Farm อย่างปราศจากอคติ มองทะลุสันดานนักการเมืองเห็นแก่ตัว ..  ไม่ว่าใส่เสื้อคลุมอุดมการณ์ใด

ล่าสุดดร. สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ระบุว่า... หนังสือ Animal Farm หนังสือ Animal Farm นี้ชัดเจนว่าผู้เขียนต้องการวิพากษ์การปฏิวัติรัสเซีย ปี 1917 และการเกิดขึ้นของระบอบสตาลินที่สร้างหายนะให้แก่สหภาพโซเวียตหลังจากนั้นเพราะมันเป็นระบอบเผด็จการอำนาจนืยมเต็มรูปแบบภายใต้อุดมการณ์อันสวยหรูของสังคมนิยม

จากกรณีพล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.โดยช่วงหนึ่งระบุว่านายกฯฝากแนะนำให้อ่านหนังสือ Animal Farm ซึ่งเป็นหนังสือน่าอ่านที่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี สำหรับหนังสือ Animal Farm การเมืองเรื่องสรรพสัตว์ เขียนโดย จอร์จ ออร์เวลล์ นักเขียนชาวอังกฤษ และต่อมาเป็นประเด็นร้อนแรงเมื่อโลกโซเชียลฯและสังคม ได้พูดถึงหนังสือเล่มดังกล่าว โดยเฉพาะฝ่ายต่อต้านรัฐประหารที่มองว่าวรรณกรรม ที่กล่าวกันนี้เสียดสีโจมตีการยึดอำนาจทั้งยังเชื่อมโยงมาถึงพล.อ.ประยุทธ์ด้วย

ล่าสุดดร. สุวินัย ภรณวลัย' อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ระบุว่า... หนังสือ Animal Farm

 

หนังสือ Animal Farm นี้ชัดเจนว่าผู้เขียนต้องการวิพากษ์การปฏิวัติรัสเซีย ปี 1917 และการเกิดขึ้นของระบอบสตาลินที่สร้างหายนะให้แก่สหภาพโซเวียตหลังจากนั้นเพราะมันเป็นระบอบเผด็จการอำนาจนืยมเต็มรูปแบบภายใต้อุดมการณ์อันสวยหรูของสังคมนิยม

 

ถ้าคนไทยในยุค 2019 อ่านหนังสือ Animal Farm ผมคิดว่า สามารถตีความได้สองแบบด้วยกัน แบบไหนก็ไม่ผิดเพราะขึ้นกับจริตทางการเมืองของคนอ่าน  คนที่ต่อต้านคสช. หากอ่าน Animal Farm คงมีแนวโน้มคล้อยตามว่าจะเกิด "ระบอบประยุทธ" ที่สถาปนาขึ้นหลังการรัฐประหารปี 2014 (2557)

 

อ.สุวินัย รีวิว อ่าน  Animal Farm อย่างปราศจากอคติ มองทะลุสันดานนักการเมืองเห็นแก่ตัว ..  ไม่ว่าใส่เสื้อคลุมอุดมการณ์ใด

 

ส่วนคนที่ต่อต้านระบอบทักษิณ หากอ่าน Animal Farm คงมีแนวโน้มคล้อยตามว่า หากธนาธรและพรรคอนาคตใหม่ยึดอำนาจรัฐสำเร็จ คงเกิดสิ่งที่เลวร้ายตามมาแบบเขมรแดงภายใต้คำขวัญ  "มนุษย์เท่าเทียมกัน"

 

ส่วนผู้ที่มีปัญญาอย่างแท้จริงย่อมอ่าน Animal Farm อย่างปราศจากอคติ และมองทะลุสันดานนักการเมืองที่เห็นแก่ตัว ทำเพื่อตัวเองเมื่อได้อำนาจแล้ว ไม่ว่าจะใส่เสื้อคลุมอุดมการณ์ใด

 

นอกจากนี้ผู้มีสติปัญญาอย่างแท้จริงย่อมมองทะลุในมายาของอำนาจ และความน่าหลงไหลของการเสพติดในอำนาจ

 

สิ่งที่คนอ่านต้องระวังจริงๆและระวังให้มากคือ อคติแห่งความยึดมั่นถือมั่นอันเป็นอุปทานแห่งตัวตนของตัวเอง เพราะสิ่งนี้แหละคือกรงขังที่กักขังจิตวิญญาณของผู้นั้นไม่ให้หลุดพ้น ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏไปอีกนานแสนนาน

 

อ.สุวินัย รีวิว อ่าน  Animal Farm อย่างปราศจากอคติ มองทะลุสันดานนักการเมืองเห็นแก่ตัว ..  ไม่ว่าใส่เสื้อคลุมอุดมการณ์ใด

 

อ.สุวินัย รีวิว อ่าน  Animal Farm อย่างปราศจากอคติ มองทะลุสันดานนักการเมืองเห็นแก่ตัว ..  ไม่ว่าใส่เสื้อคลุมอุดมการณ์ใด

 

บทคัดย่อ หนังสือ Animal Farm

 

รู้จักหนังสือ Animal Farm ที่ พล.อ. ประยุทธ์ ชวนให้อ่าน เรื่องของหมูที่ปฏิวัติเอาฟาร์มมาจากมนุษย์ ก่อนตั้งตนเป็นเผด็จการ กดขี่ข่มเหงสัตว์อื่น ๆ แต่ป้ายยาให้สัตว์ทุกตัวเชื่อว่า สัตว์ทุกตัวเท่าเทียมกัน

 

หนังสือเรื่อง Animal Farm หรือชื่อภาษาไทยคือ ฟาร์มเดรัจฉาน ถือเป็นผลงานชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของ จอร์จ ออร์เวลล์ ที่ต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นภาพของการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 จนเข้าสู่ยุคการปกครองของสตาลิน และสหภาพโซเวียต โดยหนังสือเรื่อง Animal Farm เป็นเรื่องราวของฟาร์มปศุสัตว์ที่ชื่อว่า แมเนอร์ ฟาร์ม ที่มีเจ้าของฟาร์มเป็นมนุษย์คือ นายโจนส์

 

แต่เนื่องจากนายโจนส์ทั้งขาดความรับผิดชอบ และเป็นคนขี้เหล้า จึงส่งผลให้ชีวิตของสัตว์ในฟาร์มย่ำแย่ จึงทำให้ในคืนหนึ่ง ตาเฒ่าเมเจอร์ หมูพ่อพันธุ์ ได้ลุกขึ้นมาปฏิวัติในฟาร์มและชนะ จนเมื่อตาเฒ่าเมเจอร์เสียชีวิต หมูหนุ่ม 2 ตัวคือ หมูสโนว์บอล และ หมูนโปเลียน ก็ได้ยึดอำนาจ และเปลี่ยนชื่อฟาร์มจาก แมเนอร์ฟาร์ม เป็น แอนิมอล ฟาร์ม พร้อมกับประกาศใช้ บัญญัติ 7 ประการ โดยมีข้อสำคัญที่กล่าวว่า "สัตว์ทุกตัวเท่าเทียมกัน"

 

ในตอนแรก ทั้งฟาร์มนี้มีแต่ความสุข หมูสโนว์บอลสอนให้สัตว์อ่านเขียน ส่วนหมูนโปเลียนได้สอนลูกสุนัขให้รู้จักทฤษฎีแอนิมอลลิซึ่ม ในตอนนั้นแม้ว่าจะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่อาหารดี ๆ ก็เก็บไว้ให้หมูที่ตั้งตัวเป็นผู้นำของฟาร์ม

 

นายโจนส์ พยายามที่จะทวงคืนฟาร์ม แต่ล้มเหลว หมูสโนว์บอลจึงประกาศที่จะเปลี่ยนแปลงฟาร์มให้ทันสมัยขึ้นด้วยการสร้างกังหันลม แต่หมูนโปเลียนได้ใช้สุนัขไล่หมูสโนว์บอลออกไป พร้อมประกาศตัวเป็นผู้นำของฟาร์ม

 

ในฐานะผู้นำของฟาร์ม หมูนโปเลียน ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองฟาร์ม จากการประชุมของทุกฝ่ายกลายเป็นคณะกรรมการหมู และบอกว่าความคิดเรื่องการสร้างกังหันลมมาจากหมูสควีลเลอร์ สัตว์ทุกตัวในฟาร์มทำงานอย่างหนัก เพราะหวังว่าหลังจากที่มีกังหันลมแล้ว ชีวิตจะดีขึ้นกว่าเดิม

 

แต่วันหนึ่ง พายุได้พัดทำลายกังหันลม ทำให้ หมูสควีลเลอร์และหมูนโปเลียน บอกว่า การที่กังหันลมพัง เป็นเพราะหมูสโนว์บอล มีการกล่าวหาว่า หมูสโนว์บอล สมคบคิดกับนายโจนส์ เจ้าของฟาร์มคนเก่าที่เป็นมนุษย์ และหมูนโปเลียน ยังยกความดีความชอบว่า ตัวเองเป็นฮีโร่ในการต่อสู้กับนายโจนส์ ตอนที่นายโจนส์ต้องการทวงฟาร์มคืน ทั้งที่หมูนโปเลียน ไม่ได้อยู่ร่วมสู้รบกับสัตว์ตัวอื่น รวมทั้งหมูนโปเลียน ยังป่าวประกาศว่าชีวิตของสัตว์ทุกตัวตอนนี้ ดีกว่าชีวิตตอนอยู่ใต้การปกครองโดยมนุษย์

 

จากนั้น นายเฟเดอร์ริก ฟาร์มเพื่อนบ้าน ได้ระเบิดกังหันลม และกลายเป็นการสู้รบกัน แม้เหล่าสัตว์จะชนะ แต่ก็สูญเสียไปมาก รวมทั้งม้าที่ชื่อว่า บ็อกเซอร์ ที่ล้มขณะทำงานในกังหันลม และถูกคนกำจัดซากสัตว์เอาร่างไป

 

แต่กระนั้น หมูสควีลเลอร์ ยังบอกว่า รถที่มารับร่างของม้าบ็อกเซอร์นั้น เป็นรถของทางการแต่เพียงแค่ไม่ได้เปลี่ยนป้ายที่อยู่ด้านข้าง ม้าบ็อกเซอร์ได้ถูกยกย่องในฐานะวีรบุรุษ แต่หมูนโปเลียนเอง ก็ตั้งใจที่จะขายม้าบ็อกเซอร์ให้คนกำจัดซากสัตว์อยู่แล้ว เพื่อที่จะเอาเงินมาซื้อเหล้าดื่มเอง

 

สุดท้ายแล้ว หลายปีผ่านไป กังหันลมก็ถูกสร้างใหม่ แต่ไม่มีการติดไฟฟ้า เครื่องทำความร้อน และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกใด ๆ เพราะหมูนโปเลียนยืนยันว่า สัตว์ที่มีความสุขคือสัตว์ที่อยู่อย่างเรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อ สัตว์หลายตัวที่เป็นผู้นำการปฏิวัติก็ล้มตาย นายโจนส์ก็ตาย เหล่าหมูผู้นำก็เริ่มทำตัวเหมือนมนุษย์ ทั้งเดินด้วยขา 2 ข้าง ถือแส้ ดื่มแอลกอฮอล์ และบัญญัติ 7 ประการก็ถูกเปลี่ยนเป็น "สัตว์ทุกตัวเท่าเทียมกัน แต่สัตว์บางชนิดมีความเท่าเทียมมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น" และ "สี่เท้าก็ดี แต่ 2 เท้าดีกว่า" หมูนโปเลียนหันไปคบค้ามนุษย์จากฟาร์มอื่น และประกาศให้ฟาร์มอื่นเป็นพันธมิตร พร้อมกับเปลี่ยนคืนชื่อเดิมสู่ แมเนอร์ ฟาร์ม และจบตรงที่ว่า เหล่ามนุษย์ได้นั่งมองหมูและมนุษย์เล่นไพ่กัน และแยกไม่ออกว่า ทั้งมนุษย์และหมูต่างกันอย่างไร

 

พร้อมกันนี้ อ.สุวินัยได้แนบบทความ นายสมชัย เลี้ยววาริณ หรือ วินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2556 และนักเขียนรางวัลซีไรต์ 2 สมัย ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก วินทร์ เลียววาริณ  ถึงกรณีหนังสือ Animal Farm ด้วยซึ่งได้บอกเล่าถึงเนื้อหา อันเป็นสาระสำคัญของเรื่อง ที่ผู้อ่านหลายคนอาจมีความคิดไปในทำนองว่า เสียดสีเผด็จการแต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ทั้งหมด

 

อ่านเพิ่มเติม นักเขียนดับเบิ้ลซีไรต์ เลาะกระดูก Animal Farm เผด็จการไม่ใช่หัวใจของเรื่อง