เปิดกม. การอภิปรายไม่ไว้วางใจ สาเหตุที่ “รัฐบาลเสียงข้างน้อย” ตั้งได้ ..แต่อยู่ไม่ได้!!

ปัญหาการเจรจาจัดตั้งรัฐบาล ที่ยังไม่ได้ข้อสรุประหว่างเจ้าบ่าวอย่างพลังประชารัฐ กับเจ้าสาวอย่างพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านได้ยกขบวนแห่ขันหมากไปเทียบเชิญ แต่ดูเหมือนดีลนี้ยังไม่สำเร็จ  ด้วย”สินสอด”  ที่ยังไม่ลงตัว โดย กระทรวงเกษตร ฯ ตกลงแล้วจะไปโควต้าของพรรคใด

ปัญหาการเจรจาจัดตั้งรัฐบาล ที่ยังไม่ได้ข้อสรุประหว่างเจ้าบ่าวอย่างพลังประชารัฐ กับเจ้าสาวอย่างพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านได้ยกขบวนแห่ขันหมากไปเทียบเชิญ แต่ดูเหมือนดีลนี้ยังไม่สำเร็จ  ด้วย”สินสอด”  ที่ยังไม่ลงตัว โดย กระทรวงเกษตร ฯ ตกลงแล้วจะไปโควต้าของพรรคใด

 

 

เปิดกม. การอภิปรายไม่ไว้วางใจ สาเหตุที่ “รัฐบาลเสียงข้างน้อย” ตั้งได้ ..แต่อยู่ไม่ได้!!

 

 ท่ามกลางความสับสนไม่น้อยของประชาชนคนทั่วไป ต้นเรื่องของปัญหาอยู่ที่ตรงไหน จะใช่การโก่งค่าตัวของพรรคประชาธิปัตย์ หรือมีตัวป่วน สร้างความวุ่นวายเกิดขึ้นในพรรคพลังประชารัฐ และล่าสุด“สมศักดิ์ เทพสุทิน” ปีกสามมิตรแห่ง พลังประชารัฐที่ หมายมั่นจะนั่งเป็นเจ้ากระทรวงจะยอมถอย แล้วก็ตาม แต่การแย่งชิงตำแหน่งที่ผ่านมา จนพี่น้องประชาชนเริ่มละอา ก่อให้เกิดกระแสสนับสนุนให้จัด “ตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย” เริ่มได้ดังขึ้นแล้ว

 

ทางด้าน นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวแสดงทัศนะ การจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย สามารถอยู่ได้ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน 2560 โดยให้เหตุผลว่า  ...รัฐบาลจะมีเสถียรภาพหรือไม่ก็คงขึ้นอยู่กับตัวรัฐบาลเองที่จะต้องไม่ทุจริตคอรัปชั่น หรือไม่ไปทำอะไรที่ผิด ๆ ต่อกฎหมาย และยังต้องขยันทำงานให้หนักขึ้นก็จะไม่มีใครมาเล่นงานรัฐบาลได้  ( อ่านเพิ่มเติม   เสรี สุวรรณภานนท์ ชี้ชัด รัฐบาลเสียงข้างน้อยอยู่ได้ แต่ต้องไม่โกง)

 

ทั้งนี้การตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยจะต้องจะสามารถอยู่ได้นานจริงหรือไม่  หรือเป็นเพียงภาพในจินตนาการ ก็ต้องมาพิจารณาถึงข้อกฎหมาย..  “การอภิปรายไม่ไว้วางใจ”

 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติวิธีการตรวจสอบด้วยวิธีนี้เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ แต่ได้เพิ่มหลักการสำคัญซึ่งแตกต่างไปจากฉบับอื่น เรียกว่า "การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล" ซึ่งถูกนำมาใช้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วย

 

ตามมาตรา 151 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 การอภิปรายไม่ไว้วางใจจำแนกได้เป็น:

1.การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล

2.การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะ

 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะเมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐมนตรีหลีกหนีการถูกอภิปราย

การออกเสียงลงมติไม่ไว้วางใจ ห้ามมิให้กระทำในวันเดียวกันกับที่การอภิปรายสิ้นสุด ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีเวลาไตร่ตรอง มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร (โดยทั่วไปคือเท่ากับหรือเกินกว่า 251 เสียง) หากสภาลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรีผู้นั้นจะต้องพ้นจากตำแหน่งในทันทีตามมาตรา 170 ของรัฐธรรมนูญ

 

นายกรัฐมนตรีมีสถานภาพเป็นรัฐมนตรีคนหนึ่งที่อาจถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ หากนายกรัฐมนตรีถูกลงมติไม่ไว้วางใจแล้ว ย่อมทำให้ทั้งคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงด้วย

 

อีกทั้ง ส.ว. ไม่สามารถร่วมประชุมและลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ดังนั้นหากนายกฯ ไม่ได้เสียงข้างมากจาก ส.ส.ที่เกินกึ่งหนึ่ง หรือ จำนวน 250 เสียงขึ้นไป เท่ากับว่านายกฯ หรือคณะรัฐมนตรีจะถูกถอดออกจากตำแหน่ง และส่งผลให้รัฐบาลชุดนั้นสิ้นสุดลงทันที

 

ตอกย้ำด้วยสภาพการณ์การเมืองไทย จากผลคะแนนการเลือกประธานสภา  รองประธานสภาคนที่1 และ ที่ 2  ถือเป็นการหยั่งเสียงกันครั้งแลก ระหว่าง ฝ่ายเพื่อไทย และฝ่ายพลังประชารัฐ ถึงแม้ว่าผมจะเป็นไปตามเป้าที่ "พรรคพลังประชารัฐ" ได้ตกลงกับบรรดาพรรคร่วมไว้ก็ตาม  คือ นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็น ประธานสภาผู้แทนราษฎร ชนะนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ จากพรรคเพื่อไทย ด้วยมติ 258 ต่อ 235 เสียง

เปิดกม. การอภิปรายไม่ไว้วางใจ สาเหตุที่ “รัฐบาลเสียงข้างน้อย” ตั้งได้ ..แต่อยู่ไม่ได้!!

 

รองประธานสภาฯ คนที่1 นายสุชาติ ตันเจริญ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ ชนะ นางสาวเยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ อนาคตใหม่ อย่างเฉียดฉิวเพียง2คะแนนเสียง  ด้วยมติ 248 ต่อ 246  ขณะที่รองประธานสภาฯ คนที่2 นายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม พรรคภูมิใจไทย ชนะ นพ.ประสงค์ บูรณ์พงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย ด้วยคะแนน ที่ทิ้งห่าง17 คะแนน  ด้วยมติ 256 ต่อ 239

 

เปิดกม. การอภิปรายไม่ไว้วางใจ สาเหตุที่ “รัฐบาลเสียงข้างน้อย” ตั้งได้ ..แต่อยู่ไม่ได้!!

 

เสียงที่โหวตนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความผันผวนของคะแนน  เทกันไป-เทกันมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้มาความไม่พอใจในสิ่งที่ได้ เพราะฉะนั้นหากฝ่ายค้าน เลือกอภิปรายไม่ไว้วางใจทิ่มไปที่ตัวบุคคล คู่ขัดแย่งคู่ใดคู่หนึ่ง  เกิดงูเห่าเลื้อยไปเลื้อยมา ทำให้เสียงสั่นคลอน เสถียภาพของรัฐบาลไม่มี

 

เพราะฉะนั้นสรุปได้ว่า แม้จะจัดตั้งเสียงข้างน้อยได้เป็นผลสำเร็จ แต่จะอยู่จนครบวาระ 4 ปีนั้น โอกาสเป็นไปได้ยาก หรือเรียกได้ว่า แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย  ดังนั้นแนวคิดที่ว่าจะมีนายกฯ เสียงข้างน้อยที่อาศัย ส.ว. 250 เสียง ช่วยให้ตั้งรัฐบาลและบริหารประเทศได้ เพราะมันเป็นไปไม่ได้ในเชิงปฏิบัติด้วยประการทั้งปวง!!!