- 24 มิ.ย. 2562
ในรายการเที่ยงตรงกับสนธิญาณ ได้นำเสนอข้อมูลในตอนคณะราษฎรไม่ใช่นักประชาธิปไตย ๘๗ ปีที่ส่งอำนาจให้เผด็จการ โ
ในรายการเที่ยงตรงกับสนธิญาณ ได้นำเสนอข้อมูลในตอนคณะราษฎรไม่ใช่นักประชาธิปไตย ๘๗ ปีที่ส่งอำนาจให้เผด็จการ โดยคุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ระบุเอาไว้ว่า วันนี้ย้อนหลังไปเมื่อ ๘๗ปีก่อนนะครับ บุคคลกลุ่มหนึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญ นั่นคือวันสถาปนาประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย แต่สิ่งที่ผมจะเรียนท่านผู้ชมต่อไปนี้นะครับยืนยันว่าวันนั้นไม่ใช่วันสถาปนาประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทยแต่อย่างใด เป็นวันที่กลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งจะเรียกว่ากลุ่มอำมาตย์ กลุ่มขุนนางก็ได้ครับ ช่วงชิงอำนาจจากพระมหากษัตริย์และคณะเจ้า ถ่ายเทอำนาจมาไว้ในมือตัวเอง
พูดอย่างนี้ร้อนแรงสำหรับบรรดานักวิชาการและพวกคลั่งประชาธิปไตยทั้งหลาย แต่สิ่งเหล่านี้พูดมั่วๆซั่วๆไม่ได้ครับ โดนถล่มจมดิน ผมมีข้อมูลมีมุมมองและรายละเอียดบางประการที่จะนำเสนอให้ท่านผู้ชมเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ๒๔๗๕ นั้นไม่ใช่เป็นการปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตย แต่เป็นการรัฐประหารยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์และคณะเจ้ามาสู่มือของขุนนางและอำมาตย์กลุ่มหนึ่งเท่านั้นครับ การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ๒๔๗๕ นี่นะครับถูกคิดขึ้นด้วยคณะบุคคลที่เรียกว่าคณะราษฎร์ครับ
กลุ่มบุคคลเหล่านี้ไปเรียนอยู่ที่ตะวันตกนะครับ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน เรียนวิชากฎหมาย เรียนวิชาทหาร และเห็นความเปลี่ยนแปลงในกลุ่มประเทศยุโรปทางด้านฝากฝั่งตะวันตก ว่ามีการปกครองที่เรียกกันว่าระบอบประชาธิปไตย มีรัฐสภา มีผู้คนมาออกความเห็น ไปเห็นกันฉาบฉวยล่ะครับไม่กี่ปีที่ร่ำเรียนกันอยู่ คิดว่าสิ่งเหล่านี้เหมาะสมกับสังคมไทย ก็ขบคิดปรึกษากันที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วก็กลับมาเมืองไทย หลังกลับมาเมืองไทยแล้วก็มีการขยายหาเครือข่าย ท้ายที่สุดก็มีความพร้อมในการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง
มีกลุ่มเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าร่วมมีอยู่ ๓ กลุ่มด้วยกันครับ ภาพรวมใหญ่ๆ เวลาพูดกันจะบอกว่า๒ กลุ่ม นั่นก็คือกลุ่มทหารและกลุ่มพลเรือน แต่จริงๆทหารนั้นแบ่งเป็นสองกลุ่มครับ คือกลุ่มทหารที่เป็นข้าราชการระดับสูงหรือจะเรียกว่าทหารสูงวัย ทหารสูงอายุ ทหารกลุ่มที่ ๒ ก็คือทหารหนุ่ม และกลุ่มที่ ๓ ก็คือกลุ่มของพลเรือน กลุ่มทหารแก่นี่นะครับมี ๔ นายทหารใหญ่ร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครองนะครับ เรียก 4 ทหารเสือ หนึ่งคือพระยาพหลพลพยุหเสนา สองพระยาทรงสุรเดช สามพระยาฤทธิอัคเนย์ สี่พระประศาสน์พิทยายุทธ นะครับ นี่คือ ๔ ทหารเสือ
ทหารหนุ่มก็นำโดยจอมพล ป. กลุ่มพลเรือนก็นำโดยท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ครับ ผมเรียนนะครับการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นนะครับถ้าเราเรียกว่าเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยในความหมายของการปฏิวัตินะครับก็คือประชาชนส่วนใหญ่นะครับมีความสุกงอมต่อสิทธิเสรีภาพ ต้องการการเปลี่ยนแปลงเพราะถูกชนชั้นบนกดขี่ ขูดรีด แต่สภาพที่แท้จริงของสังคมไทยในขณะนั้นไม่ใช่นะครับ ระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดไม่ดีขึ้นมานะครับหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑
แต่การปกครองของไทยนะครับแม้จะอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่เรามีพระพุทธศาสนาเป็นแกนหลักของชาตินะครับ ทำให้การอยู่กันระหว่างชนชั้นปกครองกับประชาชนทั้งหลายอยู่กันเหมือนพ่อปกครองลูก มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ไม่ได้มีการกดขี่ เพราะฉะนั้นประชาชนไม่ได้รู้สึกอะไร แต่เพียงแต่ข้าราชการ ทหารหนุ่มที่ไปเรียนเมืองนอกไปเห็นยุโรป เห็นตะวันตกเปลี่ยนแปลงมาก็ไปขบคิดและขยายความคิดกันในหมู่นายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่พอใจการปกครองระบอบสมบูณรณายาสิทธิราชที่มีอำนาจเอาไว้กับพระบรมวงศานุวงศ์ระดับสูงหรือที่เรียกว่าคณะเจ้ามากเกินไปนะครับ
ก็ขบคิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ กำลังที่เคลื่อนออกมาก็เป็นกำลังจำนวนน้อย ทหารจำนวนหนึ่งถูกหลอกออกมา นี่จากปากคำคณะราษฎร์เองนะครับ และไปจับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ประทับอยู่ที่หัวหิน ถ้าพระองค์ท่านสั่งสู้นะครับไม่รู้ว่าผลจะเกิดอะไรขึ้น ใครแพ้ใครชนะไม่รู้ แต่ต้องเกิดการบาดเจ็บล้มตาย การเสียชีวิตของประชาชนคนไทยด้วยกันเองแน่นอน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ตัดสินใจไม่สู้ครับ ไม่สู้ไม่ใช่ยอมแพ้นะครับ เห็นกับเลือดเนื้อของประชาชนคนไทย และสาระสำคัญคือพระองค์ท่านเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว นี่มีหลักฐานชัดเจนยืนยันจากปากของนายปรีดี พนมยงค์เอง
คณะราษฎร์เมื่อยึดอำนาจก็ประกาศหลัก๖ ประการขึ้นมาบอกว่าจะสถาปนาสังคมที่งดงามขึ้นในสังคมไทย นั่นคือหลักเอกราช ความปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ และการศึกษา แต่แท้ที่จริงนะครับสาระดังกล่าวไม่ได้นำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างของสังคมไทยเลยนะครับ ความคิดในระดับโครงสร้างของสังคมไทย และผมคิดว่าคนที่มีอุดมการณ์แท้จริงที่คิดเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นนั่นก็คือท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ มีอุดมการณ์แท้จริง ศึกษาอย่างแท้จริงจนกลายมาเป็นเค้าโครงเศรษฐกิจที่ท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์เสนอต่อคณะรัฐบาลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว แต่ปรากฎว่าไม่ได้รับการตอบสนองจากคณะรัฐบาลในขณะนั้นคือนายกรัฐมนตรีที่ชื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และกลุ่มคณะราษฎร์ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเองด้วยบางส่วนเพราะกลัวจะสูญเสียประโยชน์ ในเค้าโครงเศรษฐกิจนะครับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ก็ทรงคัดค้าน
แต่โดยเนื้อหาจริงๆแล้วนะครับไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เป็นการไปยึดที่ดินมา แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยในระดับรากหญ้าคนยากคนจน มีโอกาสมีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจมากขึ้น เพราะการมีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจนั่นก็คือการได้มีส่วนร่วมในการถือครองที่ดิน แต่ไม่ใช่เป็นการไปยึด เป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงล้มล้าง ไม่ใช่ แต่อาจารย์ปรีดีถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์จากการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจนี้ และถูกรัฐประหารโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เค้าเรียกว่ารัฐประหารโดยการออกพระราชกฤษฎีกาในสภา แล้วก็เนรเทศท่านอาจารย์ปรีดีกลับไปยังประเทศฝรั่งเศสครับ ผมเรียนว่าตอนที่มีการพิจารณาเค้าโครงเศรษฐกิจนะครับ ผมมีรายละเอียดบันทึกการประชุมนะครับ ซึ่งบันทึกโดยท่านศาสตราจารย์ เดือน บุนนาค อยู่ในหนังสือเล่มนี้นะครับ เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ปรีดี แต่การบันทึกรายละเอียดของการประชุมในครั้งนี้มีประโยชน์และมีคุณค่าท่านประวัติศาสตร์มากครับ เพราะเป็นการบันทึกถอดถ้อยคำการประชุม รายงานการประชุมที่ถอดถ้อยคำทุกคำ
เพราะฉะนั้นจึงเห็นและรู้ว่าความคิดของคณะราษฎร์ส่วนใหญ่ไม่ได้มีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเลยนะครับ และในบันทึกการประชุมฉบับนี้ที่ท่านศาสตราจารย์เดือน บุนนาคเอามาเผยแพร่นะครับ ได้มีการบันทึกถ้อยคำของท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ไว้ ว่าจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ โฆษณา ให้ประชาชนรู้และเข้าใจเค้าโครงเศรษฐกิจ เพื่อได้ร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ มิฉะนั้นจะเกิดความล้มเหลว เหมือนที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนคนไทยอยู่แล้ว แต่ไม่ประชาสัมพันธ์ จึงทำใหเกิดการรัฐประหารและการยึดอำนาจขึ้น นี่เป็นถ้อยคำและบันทึกของท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์นะครับ จากหลักฐานดังกล่าวนะครับจึงเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นนะครับเป็นความต้องการของอำมาตย์กลุ่มหนึ่งเท่านั้น ประชาชนคนไทยไม่รู้ด้วย ไม่รู้ไม่เห็นแต่อย่างใด มุมมองและหลักฐานที่ผมเรียบเรียงมาผมจะให้ท่านผู้ชมได้เห็นภาพอีกภาพหนึ่งนะครับ คณะราษฎร์นะครับมีอำนาจตั้งแต่ปี๒๔๗๕-๒๕๐๐ นะครับ
มีนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น ๘ คน ในระยะเวลา ๒๕ ปีนะครับ พระยามโนปกรณ์นิติธาดาขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีถือว่าเป็นการประนีประนอมระหว่างกลุ่มเจ้ากับกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยามโนนะครับรัฐประหารตัวเองโดยการออกพระราชกฤษฎีกาเนรเทศท่านอาจารย์ปรีดีไปอยู่เมืองนอก ด้วยเหตุนี้ต่อมาคณะราษฎร์ที่นำโดยจอมพล ป. และพระยาพหลฯจึงทำการยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และหลังจากนั้นนะครับพระยาพหลฯก็เป็นนายกรัฐมนตรีมาอีก ๕ปี จากพระยาพหลฯเป็นมา ๕ ปีนะครับ จอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรีมาอีก ๖ ปีเศษ สองคนเกือบ ๑๒ ปี
ผมกำลังพูดถึงมุมมองอะไรครับ ใน ๑๒ ปี ตั้งแต่พระยาพหลฯมาจนถึงจอมพล ป.นะครับ ที่ต้องออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพราะพาประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้วพ่ายแพ้นี่นะครับ ผมถามว่า ๑๒ ปี ถ้าคณะราษฎร์ตั้งใจเปลี่ยนแปลการปกครองที่จะทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนจริงๆแล้วนี่ถามว่าทำไมคณะราษฎร์ถึงไม่หยิบเอาเค้าโครงเศรษฐกิจของอาจารย์ปรีดีมาปรับปรุงหรือนำมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ไม่ล่ะครับ คณะราษฎร์ในขณะนั้นมีแต่การรัฐประหาร เข่นฆ่ากันเอง จับกันเข้าคุกนะครับ
ไม่ว่าจะเป็นพระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ พระประศาสน์พิทยายุทธนะครับ ถูกจัดการ เข่นฆ่ากันเอง นี่แหละครับเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฎขึ้น ใน ๒๕ ปี ที่คณะราษฎร์ปกครองอยู่ เป็นช่วงที่เป็นประชาธิปไตยก็เฉพาะช่วงที่ท่านอาจารย์ปรีดี พนงยงค์ นายควง อภัยวงศ์ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีรวมกันแล้วเพียงแค่ปีสองปีเท่านั้น อีก ๒๐ กว่าปีอยู่ในมือของจอมพล ป.ซึ่งเป็นผู้เผด็จการ เป็นผู้ที่ใช้อำนาจเผด็จการมาโดยตลอด และเวลาพวกบรรดานักวิชาการชังเจ้าทั้งหลายจะโจมตีเอาเรื่อง ๒๔๗๕ เอาการปฏิวัติ ๒๔๗๕ บอกไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะเผด็จการทหาร
เพราะพวกเจ้า คณะเจ้า ผมก็เรียนครับว่าเผด็จการทหารที่มาก็มาจากคณะราษฎร์นะครับก็คือจอมพล ป.และต่อเนื่องถึงจอมพลสฤษฎิ์ จอมพลถนอม จอมพลประภาสนะครับ ก็เป็นระบบทหารที่จอมพล ป.สร้างขึ้น มาจากลูกน้องมาจากคนสนิทของจอมพล ป. มาจากระบบอุปถัมภ์ที่จอมพล ป.สร้างขึ้นตอนมีอำนาจ นั่นแหละครับคือวงจรอุบาทของกองทัพที่มีการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจอยู่ในคนกลุ่มเดียว ก็เป็นรากเหง้าเติบโตมาจากคณะราษฎร์ นี่คือข้อเท็จจริง พวกที่ต้องการโหนประชาธิปไตย คำสองคำก็อ้างประชาธิปไตย กลับมาศึกษาสิ่งเหล่านี้ แล้วมาพูดมาคุยกับผมได้ครับ
แลกเปลี่ยนกันว่าสิ่งที่ผมพูดนี่เป็นจริงหรือไม่ โหนประชาธิปไตย จะเดินตามรอยคณะราษฎร์ ตามรอยประชาธิปไตย ตามรอยอะไร เมื่อประชาธิปไตยยังไม่เคยเกิด จะมีประชาธิปไตยที่ไหนมาให้ตามรอย มีแต่การรัฐประหารเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ช่วงชิงอำนาจจากสถาบันพระมหากษัตริย์มาสู่มือขุนนางและอำมาตย์ และขุนนางอำมาตย์ก็คือกลุ่มคนที่คุณโจมตี แต่วันนี้ไม่รู้เรื่องรู้ราว หรือรู้แล้วแกล้งไม่รู้ กลับมาเชิดชูว่าเป็นนักประชาธิปไตย ผมยอมรับว่านักประชาธิปไตยในคณะราษฎร์มีแต่เพียงท่านอาจารย์ปรีดี พนงยงค์เท่านั้น ที่คิดถึงคนยากคนจนและคิดถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศจากการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจซึ่งมีความคิดอย่างเป็นระบบ แต่คณะราษฎร์เองไม่เอามาใช้ ไม่ต้องไปโจมตีใคร ไม่ต้องไปโจมตีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๗ ว่าทรงคัดค้าน เพราะในช่วงที่พระองค์ท่านสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ ขึ้นครองราษฎร์นะครับยังเป็นยุวกษัตริย์อยู่ อำนาจอยู่ในมือของคณะราษฎร์นะครับ เต็มไม้เต็มมือ ถามว่าทำไมถึงไม่ผลักดัน เพราะอะไรครับ เพราะคณะราษฎร์ไม่ใช่นักประชาธิปไตย เป็นเพียงเผด็จการ ขุนนาง อำมาตย์ กลุ่มหนึ่งเท่านั้น สวัสดีครับ