- 22 มิ.ย. 2562
ดร.สุวินัย ส่งเทียบเชิญ ธนาธรดีเบตสนธิญาณ ว่าด้วยสถาบัน รอคำตอบรับ
จากกรณีวันนี้(22มิ.ย.) รองศาสตราจารย์ สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก Suvinai Pornavalai ถึงเรื่องนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ รวมทั้งนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ และน.ส.พรรณิการ์ วานิช หรือ ช่อ โฆษกพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งมีการพูดถึงผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ถึงความคิดของบุคคลทั้งสามในพรรคอนาคตใหม่เกี่ยวกับสถาบัน และเรื่องราวของ ปฏิกษัตริย์นิยม
Sathit Amarekajorn
ผมว่าเรื่องนี้คุณสุวินัยอาจจะมองเอียงไปมากเลยครับ ผมเลยอยากจะลองถกกันเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้ครับ
1 ถึงแม้ว่าตัว คุณธนาธร คุณปิยะบุตร หรือ คุณพรรณิการ์ จะไม่ได้เคารพสถาบัน แต่ว่าเค้าไม่ได้ประกาศปฏิกษัตริย์นิยม ตามความหมายของคุณสุวินัย ไม่ว่าจะเป็นใน นโยบายพรรค หรือการประกาศต่อสาธารณชนหลังจากการตั้งพรรค ตามที่ผมติดตามมา (ซึ่งถ้ามีรบกวนเอามาให้ดูหน่อย) การแสดงความเห็นดังกล่าวก็เป็นในเชิงปัจเจกชนเท่านั้น ไม่ได้แสดงออกในนามของพรรคการเมือง...
จากนั้นเมื่อข้อความดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกมา ก็ปรากฏว่ามีบุคคลเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กของอาจารย์สุวินัย เป็นจำนวนมาก มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะช่วงหนึ่งมีการพูดถึงเรื่องดีเบต และการทาบทามนักสื่อสารมวลชนชื่อดังรายหนึ่งเพื่อร่วมดีเบตกับนายธนาธรด้วย โดยขอนำบางข้อความที่มีการพูดคุยกันระหว่างดร.สุวินัย กับผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า Pairoj Vongvipanond ดังนี้
Pairoj Vongvipanond ธนาธรชอบท้าคนดีเบต ผมนึกเอาเองอาจารย์สุวินัยจะเอาไหม จะได้ ไม่ต้องเสียเวลากันมากนิคกลุ่มนิติราษฎร์ด้วยถ้าอาจารย์สุวินัยคิดว่าธนาธรมีความคิดว่าสถาบันกษัตริย์คือต้นตอของปัญหาทั้งป่วงผมคิดว่าเป็นไปไม่ได้ธราธรปิยะบุตร เท่าที่ผมเข้าใจมาตลอดมันเป็นการตั้งโจทย์ที่ผมคิดว่าสำคัญและเป็นประโยชน์ว่าใน ระยะยาวสถาบันกษัตริย์ควรมี position ing อย่างไรเพื่อให้ประชาธิปไตยได้อย่างรากลึกมั่นคงและยังยืนในประเทศไทย ซึ่งผมคิดว่าเป็นคำถามที่ดีมากไม่มีอะไรเสียหายทั้งโลก อภิปรายเรื่องนี้กันมาตลอดและผมก็มองไม่เห็นว่ามันจะต้องเป็นพวกปฏิกษัตริย์นิยมไม่ใช่เลยสำหรับผม
Pairoj Vongvipanond ธนาธรชอบท้าคนดีเบต ผมนึกเอาเองอาจารย์สุวินัยจะเอาไหม จะได้ ไม่ต้องเสียเวลากันมากนิคกลุ่มนิติราษฎร์ด้วยถ้าอาจารย์สุวินัยคิดว่าธนาธรมีความคิดว่าสถาบันกษัตริย์คือต้นตอของปัญหาทั้งป่วงผมคิดว่าเป็นไปไม่ได้ธราธรปิยะบุตร เท่าที่ผมเข้าใจมาตลอดมันเป็นการตั้งโจทย์ที่ผมคิดว่าสำคัญและเป็นประโยชน์ว่าใน ระยะยาวสถาบันกษัตริย์ควรมี position ing อย่างไรเพื่อให้ประชาธิปไตยได้อย่างรากลึกมั่นคงและยังยืนในประเทศไทย ซึ่งผมคิดว่าเป็นคำถามที่ดีมากไม่มีอะไรเสียหายทั้งโลก อภิปรายเรื่องนี้กันมาตลอดและผมก็มองไม่เห็นว่ามันจะต้องเป็นพวกปฏิกษัตริย์นิยมไม่ใช่เลยสำหรับผม
Suvinai Pornavalai Pairoj Vongvipanond ถ้าธนาธรสนใจจริงเรื่องดีเบตผมจะทาบทามคุณต้อย สนธิญาณให้มาดีเบตกับธนาธรครับ ติดต่อผมหลังไมค์ได้ทุกเมื่อ
Pairoj Vongvipanond Suvinai Pornavalai ตอนนี้มันยังอ่านไม่เป็นประเด็นดังระดับชาติไม่รู้ว่าวันนึงมันจะมีโอกาสไหมเพื่อนผมว่าดีนะผมเองเห็นด้วย
Suvinai Pornavalai Pairoj Vongvipanond ผมว่าถ้าธนาธรสามารถเคลียร์ประเด็นนี้ต่อสาธารณชนได้ จะเป็นการดีต่อตัวธนาธรเองและพรรคอนาคตใหม่ครับ
Pairoj Vongvipanond Suvinai Pornavalai ผมจะหาโอกาสเมื่อเวลาที่เหมาะสมมาคุยกับอาจารย์วรเจต คุยกันซักสองวันอนาคตสถาบันกษัตริย์ไทยกับการพัฒนาประชาธิปไตยแบบจำลองที่เหมาะสมมีสักกี่แบบอะไรทำนองนี้
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ดร.สุวินัย ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก Suvinai Pornavalai เมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมาโดยบอกเล่าถึงการได้พบและพูดคุยกับนายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม นักสื่อสารมวลชน ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดระบุไว้ว่าดังนี้
ผมออกมาเคลื่อนไหวในเชิงลึกอีกครั้งเพื่อบ้านเมือง...
วันนี้ผมได้ไปคุยกับคุณต้อย สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรมมา เนื้อหาหลักๆที่เราสนทนากันมีดังต่อไปนี้
+++++
แผนปฏิบัติการโครงการขับเคลื่อนสังคมไทยด้วยประชาธิปไตยภายใต้จารีตประเพณีวิถีไทย
(1) นัยอันอันตรายยิ่งของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจกับพรรคอนาคตใหม่ก็คือการได้จุดประเด็นอุดมการณ์แบบ "ปฏิกษัตริย์นิยม" (Anti-royalism) ขึ้นได้สำเร็จแล้วในสังคมไทย
โดยพื้นฐานความเชื่อของอุดมการณ์นี้คือ การมองว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอุปสรรคต่อการทำให้สังคมไทยมีระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยแบบตะวันตกอย่างแท้จริง โดยการที่สถาบันพระมหากษัตริย์ได้สถาปนา "อำนาจนำ" (hegemony) เหนือสังคม วัฒนธรรม และความเป็นชาติ เหนือศาลยุติธรรม และเหนือกองทัพ
(2) ซึ่งความเชื่อนี้ได้รับการปลูกฝัง สืบสาน ต่อๆกันมาในสำนักคิดฝ่ายปฏิกษัตริย์นิยม ที่มีกลุ่มผู้เคารพนับถือ ปรีดี พนมยงค์และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นแกนหลักในการสร้าง ชี้นำ ชักจูง "คนรุ่นใหม่" โดยทำให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ต่อมาพัฒนาไปเป็นพรรคการเมือง อันเป็นแรงขับเคลื่อนเชิง "สถาบัน" ของฝ่ายเสรีประชาธิปไตยขึ้น
(3) ซึ่งแนวทางเคลื่อนไหวของสำนักคิดกลุ่มนี้เป็นแนวร่วมกับพรรคการเมืองของทักษิณ ชินวัตรที่สูญเสียอำนาจจากการรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ และในปี ๒๕๕๗ (โดยเชื่ออย่างฝังใจว่าสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เบื้องหลัง และได้เคลื่อนไหวทางการเมืองและทางมวลชนเพื่อตอบโต้มาโดยตลอด)
(4) และที่สำตัญกว่านั้นการเคลื่อนไหวของ "สำนึกคิดปฏิกษัตริย์นิยม" ยังได้รับการสนับสนุนในทางเปิดเผยและในทางลับจากรัฐบาลอเมริกาและองค์กรข้ามชาติที่อ้างการทำให้ประเทศต่างๆเป็นประชาธิปไตยเพื่อเป็นโอกาสในการเข้ามาแทรกแซงกิจการและความมั่นคงภายในประเทศตามยุทธศาสตร์ของชาติมหาอำนาจตะวันตกและกลุ่มทุนโลกาภิวัฒน์
(5) ความสำเร็จของธนาธรและพรรคอนาคตใหม่เกิดจากปัจจัยความสำเร็จ ๓ ประการคือ
๑. เป็นขบวนการขับเคลื่อนสังคมที่มีความชัดเจนในอุดมการณ์ มีกระบวนการสร้างหลักคิดและทฤษฏีทางวิชาการเพื่อรองรับอย่างเป็นระบบ
๒. การได้รับการสนับสนุนทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธี "ปฏิวัติ" สังคมจาก "อดีต พคท." ที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มทักษิณ ชินวัตร
และ ๓. การบริหารจัดการ "สื่อใหม่" (New Media) อย่างเป็นมืออาชีพและเป็นระบบ
(6) ซึ่งอันตรายจากความสำเร็จของธนาธร ณ ขณะนี้จะเห็นผลในอีก ๑๐ ปีข้างหน้าเป็นอย่างช้า เมื่อประชากรในช่วงวัย ๑๘-๒๖ ปีในปัจจุบันที่เป็นกลุ่มเป้าหมายและฐานเสียงหลักของธนาธร กลายมาเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง รวมถึงคนในช่วงวัย ๔๕ ปีขึ้นไปในปัจจุบันที่เป็นกลุ่มที่มีความผูกพันและจงรักภักดีต่อสถาบันฯและยอมรับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขลดจำนวนลง
(7) หากไม่มีการวางแผนทางยุทธศาสตร์เพื่อรองรับในเรื่องนี้ ณ เวลานั้นกลุ่มคนที่ยอมรับอุดมการณ์แบบเสรีนิยม-ปฏิกษัตริย์นิยมจะเป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศและจะกำหนดทิศทางของประเทศไปตามแนวทางที่อาจสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อรากฐาน ประเพณี วัฒนธรรม ระบอบการปกครองและสถาบันหลักของชาติอย่างใหญ่หลวง ภายใต้การกำกับชี้นำขององค์กรข้ามชาติและกลุ่มทุนโลกาภิวัฒน์
(8) โครงการขับเคลื่อนสังคมไทยด้วยประชาธิปไตยภายใต้จารีตประเพณีวิถีไทยที่ทันสมัยเท่าทันทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นพลวัตกับสังคมไทยที่จะพัฒนาไปในทิศทางที่ยั่งยืนกว่าความเป็นเสรีประชาธิปไตยแบบตะวันตก โดยประกอบไปด้วย
๑. การสร้างสำนักคิดที่เป็นคลังปัญญาของชาติ
๒. การบริหารสื่อใหม่ที่สามารถสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีประสิทธิภาพและสามารถตอบโต้กับสื่อของฝ่ายเสรีนิยม โลกาภิวัฒน์นิยม
และปฏิกษัตริย์นิยมอย่างเท่าทันและทันที
๓. การสนับสนุนการสร้างพรรคการเมืองหรือพัฒนาพรรคการเมืองที่มีอยู่เพื่อมีส่วนร่วมในการยกระดับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไปเป็นสถาบันทางการเมือง
+++++
จึงเรียนมาให้พ่อแม่พี่น้องที่ห่วงใยอนาคตของบ้านเมืองได้รับทราบโดยทั่วกัน
สุวินัย ภรณวลัย