- 04 ก.ย. 2562
ไม่ใช่แค่เป็นน้องสาวของทักษิณ ชินวัตร แต่ทุกวันนี้ต้องถือว่า ยิ่งลักษณ์ เป็นนักการเมืองแนวปลุกปั่นประชานิยม เต็มรูปแบบอีกคนหนึ่ง อย่างกรณีล่าสุดออกมาโพสต์ แสดงความรู้สึกกรณีเกิดเหตุอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศไทย จนทำให้เกิดกระแสย้อนกลับไปถึงภาพอดีต วิกฤตการณ์ในปี 2554 ที่นักการเมืองพรรครัฐบาลขณะนั้น มั่นอกมั่นใจว่า "เอาอยู่" แต่สุดท้ายกลายเป็นมหาวิปโยค ที่สร้างความเดือดร้อนให้กับคนไทยอย่างแสนสาหัส
ไม่ใช่แค่เป็นน้องสาวของทักษิณ ชินวัตร แต่ทุกวันนี้ต้องถือว่า ยิ่งลักษณ์ เป็นนักการเมืองแนวปลุกปั่นประชานิยม เต็มรูปแบบอีกคนหนึ่ง อย่างกรณีล่าสุดออกมาโพสต์ แสดงความรู้สึกกรณีเกิดเหตุอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศไทย จนทำให้เกิดกระแสย้อนกลับไปถึงภาพอดีต วิกฤตการณ์ในปี 2554 ที่นักการเมืองพรรครัฐบาลขณะนั้น มั่นอกมั่นใจว่า "เอาอยู่" แต่สุดท้ายกลายเป็นมหาวิปโยค ที่สร้างความเดือดร้อนให้กับคนไทยอย่างแสนสาหัส
โดยจุดเริ่มต้นมาจากการที่ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค ระบุข้อความว่า "เห็นข่าวน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทั้งภาคเหนือและอีสาน ทำให้คิดถึงพี่น้องประชาชน เข้าใจความรู้สึกดีว่าเดือดร้อนแค่ไหน ขอส่งกำลังใจไปให้ผู้ประสบภัยทุกท่าน หวังว่าเหตุการณ์จะผ่านพ้นไปโดยเร็ว และขอให้กำลังใจทุกภาคส่วนที่ร่วมแรงร่วมใจในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนี้ด้วยค่ะ"
ประเด็นน่าสนใจ ก็คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เลือกโพสต์ข้อความพร้อมกับภาพตัวเอง ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประชาชน ในช่วงเกิดเหตุวิกฤตการณ์น้ำท่วมปี 2554 ชนิดอาจตีความหมายได้เหมือนกันว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีเจตนาแฝงทางการเมือง เจือปนอยู่ในความรู้สึกส่วนตัว....ใช่หรือไม่??
ขณะที่ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็เพิ่งจะโพสต์ข้อความในลักษณะเดียวกัน แต่คนละห้วงอารมณ์ ความรู้สึก กับกรณีเหตุน้ำท่วม ว่า "วันก่อนได้อ่านข่าว ทราบว่าตอนนี้พี่น้องประชาชนในภาคอีสานและหลายพื้นที่ของประเทศไทย กำลังประสบกับปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงไม่ตกตามฤดูกาล ทำให้พืชผลทางการเกษตร ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศประสบปัญหาฝืดเคือง ทำให้พี่น้องชาวนา ชาวไร่ และประชาชนอีกมากมายต้องเผชิญกับความลำบากยากเข็ญ
ดิฉันรู้สึกเห็นใจ และอยากเป็นกำลังใจให้กับทุกๆคน ที่ต้องต่อสู้อดทนกับสถานการณ์ในห้วงเวลานี้ รวมถึงเป็นห่วงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่กำลังจะตามมา ดิฉันขอให้ทุกคนมีกำลังใจ อย่าเพิ่งท้อถอย และขอให้อดทนเพื่อจะฝ่าฟันอุปสรรคเหล่านี้ไปให้ได้นะคะ"
@ มโนภาพตามคงไม่ต้องอธิบายความ ว่า การโพสต์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เจตนาสื่อความรู้สึกถึงอะไรกันแน่ ถ้าไม่ใช่การแสดงสถานภาพทางการเมือง เหมือนกรณีของพี่ชายที่ทำมาโดยตลอด นับแต่กลายเป็นนักโทษหนีคดี
ในมุมกลับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ต้องย้อนดูผลการทำงานตัวเอง ในยุคสมัยเป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงปี 2554-2557 เช่นกัน ก่อนจะใช้คำว่าเข้าใจความรู้สึกดีว่า ประชาชนผู้ประสบเหตุน้ำท่วม เดือดร้อนแค่ไหน เพราะถ้าถามความรู้สึกพี่น้องประชาชน เชื่อว่าหลายคนก็ไม่เคยลืมเหตุการณ์ ในช่วงรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ บริหารจัดการน้ำท่วมอย่างแน่นอน
ข้อมูลตอนหนึ่งในวิกิพีเดีย สรุปสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ว่า เป็นเหตุภัยธรรมชาติที่สร้างผลกระทบรุนแรงครั้งหนึ่งให้กับประเทศไทย เพราะกินเวลาของการเกิดเหตุยาวนาน ตั้่งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2554 จนถึงวันที่ 16 มกราคม 2555 และมีราษฎรได้รับผลกระทบกว่า 12.8 ล้านคน ขณะที่ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท
เนื่องจากเหตุอุทกภัยทำให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ของประเทศเป็นวงกว้างถึง 150 ล้านไร่ โดยในจำนวนนี้เป็นทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ครอบคลุม 65 จังหวัด 684 อำเภอ มีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,086,138 ครัวเรือน หรือ คิดเป็นจำนวนประชากร 13,595,192 คน รวมถึงมีบ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 2,329 หลัง และบ้านเรือนเสียหายบางส่วนอีก 96,833 หลัง ขณะเดียวกันทำให้มีผู้เสียชีวิต 813 ราย จาก 44 จังหวัด และ สูญหายอีก 3 คน
@ทั้งนี้แม้ว่าเหตุกรณีอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2554 จะมีความชัดเจนในสาเหตุ ที่เริ่มต้นมาจากธรรมชาติเกิดคาดหมาย ด้วยจำนวนพายุที่พัดเข้าถล่มประเทศไทยซ้อน ๆ กันหลายลูก แต่การทำงานของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญให้ต้องพูดถึง และนำมาเป็นบทเรียนกับทุกรัฐบาลต่อมา
ยกตัวอย่างกรณีสำคัญ ๆ ที่ถูกบันทึกไว้ อาทิเช่น การด้อยประสิทธิภาพด้านการทำงาน และ การแนวปฏิบัติการของผู้รับผิดชอบ จนสถานการณ์บานปลายเกินจะรับมือกับผลกระทบของปริมาณน้ำที่ไหลลงมาจากภาคเหนือสู่จุดต่าง ๆ ในภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานคร
จากกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2554 ในช่วงการแถลงข่าวของ นายปลอดประสพ สุรัสวดี ขณะดำรงตำแหน่งเป็นรมว.วิทยาศาสตร์ฯ และได้รับการแต่งตั้งเป็น หัวหน้าทีมปฏิบัติการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือ ศปภ. ร่วมกับ นายวิม รุ่งวัฒนะจินดา โฆษกศปภ. ผ่านการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ ระบุว่า " ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมในปทุมธานีเริ่มวิกฤต จึงขอเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ปทุมธานีและใกล้เคียงอพยพมาอยู่ที่ดอนเมือง"
ต่อมาในวันที่ 14 ตุลาคม มีการเผยแพร่เอกสารข่าวแจกของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ออกประกาศเตือนระวังพื้นที่ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าใน 17 เขตพื้นที่กทม. แต่ศปภ.ออกมาปฏิเสธข่าว พร้อมระบุว่ารัฐบาลยังพร้อมรับสถานการณ์ ไม่มีอะไรน่าวิตก ตามข้อมูลที่กรมป้องกันฯออกเอกสารเตือนคนกรุงเทพฯ จนกลายเป็นวาทกรรมที่ถูกพูดถึงจนทุกวันนี้ ว่า "เอาอยู่"
@ กรณีการสร้างความน่าเชื่อถือของหน่วยงานรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ในช่วงเกิดวิกฤตการณ์อุทกภัยปี 2554 ไม่ได้จบเท่านั้น
ข้อมูลความสับสนในช่วงการแข่งกับเวลารับมือวิกฤตการณ์น้ำท่วม เป็นอีกหนึ่งประเด็นถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เพราะกว่ารัฐบาล ยิ่งลักษณ์ จะตัดสินใจดูเหมือนว่าสถานการณ์ทุกอย่างจะสายเกินแก้ เมื่อมวลน้ำก้อนใหญ่จากทางภาคเหนือ ไหลบ่ามาถึงพื้นที่ภาคกลาง นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งถูกน้ำท่วม สนามบินดอนเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ศปภ. ต้องจมน้ำกลายเป็นเมืองบาดาล มวลน้ำเข้าท่วมจนเต็มพื้นที่สนามบินดอนเมือง ในช่วงปลายเดือน ตุลาคม 2554
หลังจากรัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 13 กันยายน 2554 แต่งตั้ง คณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) มี ยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย เป็นประธาน อำนาจหน้าที่ของศอส.คือเป็นศูนย์กลางในการแก้ปัญหาอุทกภัยทั้งหมด
ตามด้วยมติครม. เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2554 ยกระดับความรุนแรงของอุทกภัยให้เป็นเรื่องเร่งด่วนและวาระแห่งชาติ พร้อมออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) โดยมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เป็นผอ.ศูนย์ศปภ.
มีภารกิจหน้าที่หลักคือ
1.ผลักดันน้ำลงสู่ทะเลโดยเร็ว โดยให้มีการระบายน้ำออกสู่ทะเลในทุกช่องทางโดยขอความร่วมมือกับกองทัพเรือและภาคเอกชน
2.ระดมความช่วยเหลือเบื้องต้นในการให้ประชาชนสามารถดำรงชีพอยู่ได้ในภาวะวิกฤต ด้วยการจัดหาอาหารน้ำดื่ม และอุปกรณ์ในการดำรงชีพ
3.ระดมกำลังทั้งหมดเข้าช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาให้กับผู้ประสบภัย
@ เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของภาพจดจำที่เกิดขึ้นในปี 2554 เพราะโดยความเป็นจริง ยังมีอีกหลากหลายปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจผิดพลาด โดยเฉพาะการเรียกร้องให้ ประกาศ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้กองทัพเข้าช่วยกอบกู้สถานการณ์ แต่รัฐบาลอ้างว่าไม่จำเป็น เพราะจะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว หรือ กระทั่งการนำคนเสื้อแดง นักการเมือง เข้ามายุ่งเกี่ยวการจัดการ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย จนกลายเป็นภาพการทุจริตที่ยากจะลืม
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-มาดามเดียร์ ลั่น เอาจริงเรื่องแก้ปัญหาน้ำ ไม่ใช่ดีแต่พูด กรีดฝ่ายค้านมัวแต่ยุ่งปมถวายสัตย์ ไม่ช่วยเหลือ ปชช.เดือดร้อน
-ส.ส.ฝ่ายค้านดาหน้า กดดันห้ามประชุมลับ “อภิปรายปมถวายสัตย์” วิปรัฐบาลอย่าง “วิรัช” พูดเต็มปาก ใครก้าวล่วง..รับผิดชอบเอง!??
-โฆษกฯไทยศรีวิไลย์ เผย มงคลกิตติ์’เตรียมลงพื้นที่ให้กำลังใจ ปชช. ที่ประสบอุทกภัยจาก พายุโพดุล ช่วงสัปดาห์นี้
-“Big boss ทักษิณ” พ้นผิดคดีปล่อยกู้กรุงไทย แต่คนละเงื่อนไข “พานทองแท้” โดนข้อหาฟอกเงิน !??