นักการเมืองจบ..แต่คนไทยยังไม่จบ!! สรส.เคลื่อนไหวแล้ว แถลงการณ์ตอกหน้า ส.ส.รวมหัวยอมจำนนเงื่อนไข BEM ขยายสัมปทานทางด่วนอีก 30 ปี ???

นักการเมืองจบ..แต่คนไทยยังไม่จบ!! สรส.เคลื่อนไหวแล้ว แถลงการณ์ตอกหน้า ส.ส.รวมหัวยอมจำนนเงื่อนไข BEM ขยายสัมปทานทางด่วนอีก 30 ปี ???

ถือเป็นประเด็นระดับชาติ สำหรับการต่อสู้ของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กทพ. ที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลและผู้รับผิดชอบทุกระดับฝ่ายเข้าใจปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากยินยอมผ่อนปรนให้มีการต่ออายุสัมปทานทางด่วนออกไปอีก 30 ปี  เพียงเพราะยอมรับในตัวเลขมูลค่าเงินชดเชย จากกรณีการฟ้องร้องที่ถูกบริษัท บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้าฯ หรือ BEM  ประเมินและยื่นข้อเสนอผ่านทางผู้บริหารกทพ.

 

 

โดยก่อนหน้านั้น สนข.ทีนิวส์ได้เคยนำเสนอแง่มุมที่หลากหลาย   ซึ่งเห็นตรงกันว่ากรณีค่าโง่ทางด่วนยังมีทางออกมีหลายแง่มุม  อย่างกรณีของ   นาย พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  ซึ่งระบุ กรณีการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือกทพ. และบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือบีอีเอ็ม 3 โครงการๆละ 30 ปี เพื่อแลกกับค่าโง่ทางด่วน 4,300 ล้านบาท และยุติ 17 ข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด  ส่งยคดีที่เกิดขึ้นในอนาคตแล้วไปตัดสินก่อนว่าแพ้ไม่ใช่หลักการที่ถูกต้อง

(คลิกอ่านข่าวประกอบ :  ความจริงคือยังไม่แพ้!!อดีตรมว.พีระพันธุ์ จุดยืนชัดค้านขยายสัมปทานทางด่วน ตอกหน้าบิ๊กกทพ.ต้องสู้พิพาท BEM ถึงที่สุดใครก่อค่าโง่ต้องเอาผิดด้วย)  

 

นักการเมืองจบ..แต่คนไทยยังไม่จบ!! สรส.เคลื่อนไหวแล้ว แถลงการณ์ตอกหน้า ส.ส.รวมหัวยอมจำนนเงื่อนไข BEM ขยายสัมปทานทางด่วนอีก 30 ปี ???

 

ขณะที่  ดร.สามารถ  ราชพลสิทธิ์    รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรองผู้ว่าฯกทม.  ให้ความเห็นว่า  กรณีค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากปมขัดแย้งระหว่างกทพ.กับ BEM ยังไม่ถึงที่สุดที่จะต้องตัดสินใจต่ออายุสัมปทานทางด่วน  รวมถึงต้องเร่งดำเนินการตรวจสอบหาผู้กระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐมาลงโทษด้วย 

 

(คลิกอ่านข่าวประกอบ  :  ดร.สามารถ แจงละเอียดยิบ ต้นเหตุ ค่าโง่ทางด่วน ถึงเวลาล่าไอ้โม่งแสบ..ทิ้งมรดกบาปให้คนไทย)

 

นักการเมืองจบ..แต่คนไทยยังไม่จบ!! สรส.เคลื่อนไหวแล้ว แถลงการณ์ตอกหน้า ส.ส.รวมหัวยอมจำนนเงื่อนไข BEM ขยายสัมปทานทางด่วนอีก 30 ปี ???

 

 

อย่างไรก็ตามมีจุดน่าสนใจว่าในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โดยมีระเบียบวาระการประชุมคือ พิจารณารายงานศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส) ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญที่มีนายวีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธานกมธ.ฯ พิจารณาแล้วเสร็จ  กลับปรากฎข้อมูลออกมาเกินคาด จากความหวังของกลุ่มสหภาพฯกทพ.และผู้ที่ติดตามประเด็นนี้มาตั้งแต่ต้น

 

โดยเป็นทางด้านนายวีระกร ชี้แจงว่า ผลการพิจารณาศึกษาเรื่องการขยายสัมปทานทางด่วน กรรมาธิการฯ ส่วนใหญ่เห็นว่าควรขยายเวลาสัมปทานทางด่วนเพื่อยุติข้อพิพาททั้งหมดระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) โดยอ้างว่าเพื่อจะไม่เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาการแพ้คดีต่างๆ ที่เป็นข้อพิพาทในอนาคต

 

พร้อมให้รายละเอียดว่า  ข้อพิพาทระหว่างการทางพิเศษฯ กับ BEM เกิดจาก 2 คดีหลักคือ คดีการขอชดเชยรายได้ตามสัญญาสัมปทานทางด่วนเส้นบางประอิน – ปากเกร็ด ซึ่งเกิดจากการก่อสร้างดอนเมืองโทลเวย์ส่วนต่อขยาย จากอนุสรณ์สถาน–รังสิต ซึ่งเป็นทางที่มีลักษณะแข่งขัน และคดีขอชดเชยรายได้จากการไม่ปรับค่าผ่านทาง

 

 

และเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2561 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้การทางพิเศษฯ แพ้คดี ต้องจ่ายค่าปรับเป็นมูลค่า 4,318 ล้านบาท และข้อพิพาทอื่นๆ ก็มีลักษณะเดียวกันกับที่ศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินเป็นบรรทัดฐานให้การทางพิเศษฯแพ้คดีแล้ว ข้อพิพาทอื่นๆ หากการทางพิเศษฯ ไม่เจรจายุติข้อพิพาทจะมีโอกาสแพ้คดีสูง ซึ่งข้อพิพาททั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 137,517 ล้านบาท  ซึ่งหากแพ้คดีทุกคดีจะมีมูลค่าข้อพิพาทรวมดอกเบี้ยทั้งสิ้น 326,127 ล้านบาท ซึ่งอาจส่งผลต่อสภาวะทางการเงินของการทางพิเศษฯได้

ทั้งนี้มีรายงานด้วยว่า ในการประชุม  ส.ส.ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ได้ร่วมอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง  อาทิ   น.พ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ระบุว่า   ข้อสังเกตของกมธ.ฯ ที่ขัดแย้งและไม่เป็นเอกภาพ ทำให้อาจมีปัญหาต่อการส่งรายงานให้หน่วยงานไปปฏิบัติ  รวมถึงในรายงานของกมธ.ฯ ไม่ได้ระบุถึงเหตุผลต่อการนำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาล   บุคคลที่กระทำผิด  ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการรู้ ขณะที่ข้อสังเกตของกมธ.ฯ และมีความเห็นส่วนบุคคลระบุไว้ เชื่อว่าไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ และอาจจะถูกโยนทิ้งได้

 

“45 วันที่กมธ. ทำงาน ไม่บอกสิ่งที่อยากรู้ หากสภาฯ ให้ความเห็นรายงานฉบับนี้อาจถูกตีความการทำงานได้ แม้ว่ารายงานของสภาฯ จะไม่มีผลผูกมัดใดๆ ต่อหน่วยงาน สัญญาสัมปทานทางด่วน อนุมานว่าเสียงส่วนรวมควรต้องต่อ เพื่อไม่ให้แพ้คดี หลังจากที่มีคดีแรกมีคำตัดสินแล้ว ขณะที่การขยายสัญญาบีทีเอสไม่ควรต่อตสัญญา และมีความเห็นส่วนตัวของกมธ.ฯ ซึ่งที่ผ่านมารายงานของกมธ. ไม่เคยมีเขียนแบบดังกล่าว ผมขอฝากกมธ.ฯ ที่ต้องทำงานแทนสภาฯ ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีของสภาฯ ให้มาก ไม่ใช่ทำรายงานที่นำไปอ้างอิงใดๆ ไม่ได้ ทั้งนี้ผมขอให้นำรายงานกลับไปทบทวน”

 

ด้านนายสาทิตย์  วงศ์หนองเตย   ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า รายงานของกรรมาธิการฯ เป็นความเห็นรายบุคคลของกรรมาธิการ ตนไม่เคยเห็นการจัดทำรายงานในลักษณะที่กรรมาธิการฯ ลงมติหรือให้ความเห็นเป็นรายบุคคลมาก่อน รายงานที่ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นต้องแสดงถึงผลการศึกษาว่าจะนำข้อมูลและข้อเท็จจริงนำเสนออย่างไร ดังนั้น  ขอให้กรรมาธิการฯ นำรายงานกลับไปทบทวนให้ตรงกับรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมสภาฯ ด้วย

 

ส่วน   นพ.ระวี มาศฉมาดล  ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่  ในฐานะกรรมาธิการ  ยังคงยืนยันว่า  ไม่เห็นด้วยกับการต่อสัญญาสัมปทานทางด่วน เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนทางกฎหมาย  และความเห็นของอัยการที่ส่งมาให้กมธ.ทำให้เชื่อว่ายังมีประเด็นต่อสู้กับ BEM ได้  สำคัญที่สุดหากมีการต่ออายุสัมปทานจะทำให้ BEM มีรายได้สูงถึงกว่า 1.7 แสนล้านบาท ขณะที่ประชาชนจะเสียประโยน์ถึงกว่า 7.75 หมื่นล้านบาท จากการต้องจ่ายค่าทางด่วนที่มีโครงสร้างเพิ่มอัตราการขึ้นราคาตลอด 30 ปีต่อจากนี้ 

 

ทั้งนี้นายวีระกร ชี้แจงว่าหนักใจ เพราะทั้ง 2 เรื่องไม่เกี่ยวข้องกัน แต่นำมาพิจารณาร่วมกัน และมีเวลาพิจารณาเพียง 45 วัน ยอมรับว่าความเห็นของกมธ.ฯมีความหลากหลาย และแตกแยกเป็นหลายประเด็น ดังนั้นผลการศึกษาและข้อสังเกตของกมธ.ฯ จึงมีลักษณะดังกล่าว เช่น การสนับสนุนให้ต่อสัญญาสัมปทานทางด่วน นั้นยังมีรายละเอียดที่เป็นข้อสังเกตซึ่งแตกต่างกัน ทั้งนี้ยืนยันว่ามีเหตุผลในรายละเอียดที่สมาชิกฯ สามารถศึกษาได้ ส่วนความเป็นมาของเรื่องที่ตรวจสอบและไม่ได้ระบุในรายงานยอมรับเป็นข้อบกพร่อง ซึ่งตนขอความเห็นใจที่กมธ.ฯทำงานอย่างหนัก

 

ต่อมาที่ประชุมได้ลงมติ เห็นด้วยกับกรรมาธิการด้วยคะแนน 412 ต่อ 25 ในประเด็นเรื่องการต่ออายุสัมปทานทางด่วน  และ ไม่เห็นด้วยการขยายสัมปทานการเดินรถไฟฟ้า สายสีเขียว  และงดออกเสียง 20 เสียง โดยตามขั้นตอนสภาจะส่งรายงานของกมธ.ไปยังคณะรัฐมนตรี ต่อไป

 

จากกรณีที่เกิดขึ้นล่าสุด  สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ได้เคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊ค  ปรากฎข้อความดังนี้  เมื่อสภาผู้แทนราษฎรยอมแพ้เอกชน ในกรณี ต่อสัญญาสัมปทานทางด่วน...จากนี้ไปจะหวังอะไรอีก

 

"ชนชั้นใดเขียนกฎหมายก็แน่ไซร้ย่อมรับใช้ชนชั้นนั้น”   เป็นอมตะวาจาจริงๆ และคงไม่ต้องสับสนอีกต่อไป ทัศนะ ประโยชน์ทางชนชั้นชัดเจน ทั้ง ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล รวมหัวมีมติ “สนับสนุนยุติข้อพิพาทระหว่าง การทางพิเศษ กับบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้าฯ หรือ BEM”   ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 412 เสียง เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งสภามีมติตั้งขึ้นก่อนหน้านี้

 

โดยกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้มีนายวีระกร คำประกอบ เป็นประธาน ในขณะที่ 25 เสียงไม่เห็นด้วย และ อีก 20 งดออกเสียง ในท่ามกลางความงุนงงสงสัยของประชาชน ว่า"ที่สุดแล้วประโยชน์จะตกที่ใคร"

 

ที่มาของเรื่องนี้เกิดขึ้นจากข้อพิพาทระหว่าง การทางพิเศษ กับบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้าฯหรือ BEM ซึ่งมีคดีที่ฟ้องร้องระหว่างกันทั้งหมด 17 คดี โดยบริษัท BEM ฟ้อง กทพ.15 คดี ซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ในระหว่างต่อสู้ทางคดีในชั้นศาลปกครอง อนุญาโตตุลาการ และบางคดียังไม่มีการดำเนินการซึ่งส่วนมากเป็นข้อพิพาท   เกี่ยวกับค่าผ่านทางที่เอกชนและรัฐตีความของสัญญาต่างกัน ซึ่งรัฐตีความเพื่อประโยชน์ของประชาชนรัฐบาล จึงไม่สามารถปรับเพิ่มขึ้นตามที่เอกชนเรียกร้องได้

 

แต่สุดท้าย ความผิดก็มาตกที่ กทพ. ต้องมารับผิดชอบ...ปัจจุบันมีเพียงคดีเดียวที่ศาลปกครองสูงสุดสั่งให้ กทพ.แพ้คดีและจ่ายค่าเสียหายให้แก่บริษัท NECL ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท BEM เป็นจำนวนเงินประมาณ 4,300 ล้านบาทในคดีแข่งขันจากกรณีที่รัฐบาลในยุคนั้นมีมติอนุมัติให้กรมทางหลวงสร้างส่วนต่อขยายจากทางด่วนโทลเวย์จากอนุสรณ์สถาน - รังสิต เพื่อสนับสนุนกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13(1998 : 2541) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

 

 

โดยใช้สถานที่หลักในการแข่งขันคือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ตามนโยบายของรัฐบาล เป็นเหตุให้ไปขัดกับสัญญาระหว่าง กทพ.กับ บริษัททางด่วนเหนือ NECL ที่ได้รับสัมปทานทางด่วนสายปากเกร็ด – บางปะอิน ที่ในสัญญาดันไประบุว่า รัฐบาล หรือ กทพ. ห้ามสร้างทางในระนาบแนวเดียวกันที่มีลักษณะแข่งขัน เนื่องจากจะส่งกระทบต่อรายได้ของบริษัทเพราะจะทำให้บริษัทสูญเสียรายได้จากจำนวนรถผ่านทางที่ลดลง ในส่วนที่ กทพ.ฟ้อง BEM 2 คดีอยู่ระหว่างการดำเนินคดี

 

และโครงการทางด่วนขั้นที่ 2 ที่กำลังพิพาทกันอยู่นี้จะหมดสัญญาในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ส่วนทางด่วน ปากเกร็ด – บางปะอิน จะหมดสัญญาในปี 2569   ส่วนกรณีพิพาทประเมินมูลค่า 17 คดี ประมาณ 140,000 ล้านบาท...ติ้งต่างว่า กทพ.แพ้รวดทุกคดี    อย่างที่กรรมาธิการและสภาผู้แทนราษฎรมีมติเสียงข้างมากเกรงว่าสู้คดีไป กทพ.จะแพ้   จึงเห็นสมควรต่อสัญญาให้ BEM แต่หากคิดกลับกันว่าถ้า กทพ.อาจชนะในบางคดีความเสียหายอาจไม่เช่นนี้   ซึ่งนั่นหมายถึง กทพ.และรัฐต้องต่อสู้คดีให้ถึงที่สุดเพื่อพิสูจน์ความจริ   งรวมทั้งรากของปัญหาเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้เข้าใจถึงความไม่ชอบมาพากล ความไม่โปร่งใสต่างๆก่อนหน้านี้ และจะได้ไม่เกิดความเสียหายหรือ “โง่”อีกในอนาคตข้างหน้า

 

หรืออีกมุมหนึ่งแม้ว่าสู้แล้วแพ้คดีทุกคดีต้องจ่ายค่าเสียหาย 140,000 ล้านบาทแล้วไม่ต้องต่อสัญญา กทพ.นำเอาทางด่วนทั้งหมดมาทำเองซึ่งหากดูการจัดสรรปันส่วนระหว่าง กทพ.กับ BEM ก่อนหน้านี้ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี มีมูลค่าสูงถึงเกือบ 600,000 ล้านบาท หากต้องจ่ายให้แก่ BEM จากจำนวนที่จะจ่ายกัน (600,000-140,000) กทพ.จะมีรายได้เองถึง 460,000 ล้านบาท และหาก กทพ.ก็คือรัฐดำเนินการ รัฐก็สามารถจัดการ ดำเนินการได้เอง จะได้ไม่มี “ค่าโง่”เกิดขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า เช่นเดียวกับที่ กรมทางหลวงดำเนินการเองโดยตรงในทางด่วนระหว่างเมืองกรุงเทพ – ชลบุรี(มอเตอร์เวย์) และ วงแหวนตะวันออก(บางปะอิน – บางนา) เงินทุกบาทก็เข้ารัฐโดยตรงไม่ต้องแบ่งให้เอกชน

 

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการทางพิเศษฯ(สร.กทพ.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)และสถาบันธรรมาภิบาลไทย เรียกร้องให้ กทพ.และรัฐบาลต่อสู้คดีให้ถึงที่สุดเพื่อพิสูจน์ความจริง แต่การณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้นเมื่อ สภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากมีมติตามกรรมาธิการซึ่งมีมติก่อนหน้านี้ คือต่อสัญญาให้แก่บริษัท BEM ด้วยคะแนนเสียง 412 ไม่เห็นด้วยเพียง 25 เสียง งดออกเสียง 20 เสียง

 

....ประชาชนจะหวังอะไรได้อีกกับสภาแห่งนี้   “ปล้นประชาชน” “ตบหน้ากระบวนการยุติธรรมไทย” ฝักใฝ่ผลประโยชน์กลุ่มทุน   เราไม่อาจ กล่าวหาหรือตำหนิเอกชน คือ บริษัท BEM เพราะเป็นปกติเขาต้องต่อสู้จนถึงที่สุดเพื่อประโยชน์ของเขาและผู้ถือหุ้น แต่สิ่งที่ประชาชนผิดหวังคือการทำหน้าที่ของผู้ที่ชื่อว่าเป็น “ผู้แทนราษฎร”กินเงินเดือนจากภาษีประชาชน แต่กลับไม่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน

 

หากนำเอาการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในสมัย คสช. นำความเห็นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่ง กทพ.จ้างให้ศึกษาเรื่องนี้ รวมทั้งความเห็นของอัยการสูงสุด ที่ได้มีความเห็นก่อนหน้านี้ว่า “หากการทางพิเศษดำเนินการเองเมื่อหมดสัญญาจะมีประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประชาชนมากกว่า”

 

เอาเป็นว่า...ฝ่ายประชาชนที่ปกบ้าน ป้องเมือง เสมอมา อย่าเพิ่งหมดหวัง มติของสภาไม่ผูกพันหน่วยงานใด พวกเราต้องร่วมกันหาช่องทางในการดำเนินการแสวงหาความยุติธรรมและร่วมปกป้องผลประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติต่อไป   ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ที่แสดงบทบาทแทบเอาเป็น เอาให้ตายกันนั้น แท้จริงเป็นเพียงละครฉากหนึ่งแต่ความเป็นจริงยิ่งกว่าซึ่งก็คือธาตุแท้ว่า...พวกเขาเหล่านี้คือ พวกเดียวกัน...."

 

นักการเมืองจบ..แต่คนไทยยังไม่จบ!! สรส.เคลื่อนไหวแล้ว แถลงการณ์ตอกหน้า ส.ส.รวมหัวยอมจำนนเงื่อนไข BEM ขยายสัมปทานทางด่วนอีก 30 ปี ???