- 10 ก.ย. 2562
กางที่มา รถไฟฟ้าสีชมพู ตีแผ่เจตนา ธนาธร เหน็บรัฐมั่วๆ เมินทุกข์ชาวอีสาน ใช้เงิน 5 หมื่นล้าน ดูแลสุขคนเมือง เจตนาชัดปลุกระดม?
กลายเป็นอีกหนึ่งพฤติการณ์ส่วนบุคคล อย่างนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่เกิดขึ้นเสมอ ๆ และบ่อยครั้งมากขึ้น ในการเติมข้อมูลผิด ๆ ให้กับประชาชน ผ่านเวทีความคิดต่าง ๆ ที่แนวร่วมจัดตั้งขึ้น และหลายโอกาสยิ่งแสดงให้เห็นว่า นายธนาธร มองทุกอย่างเป็นการต่อสู้ทางการเมือง เป็นวิธีการนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาล กองทัพ เพื่อเป้าหมายบางอย่างที่นายธนาธร และพวกพ้อง นำเสนอผ่านสังคมสาธารณะ ด้วยรูปแบบการสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้น ผ่านองค์ประกอบความคิด และวาทกรรม ที่เรียกว่า การปลุกกระแสความเกลียดชัง ด้วยความรู้สึกเหลื่อมล้ำ ???
ตัวอย่างล่าสุดในการลงพื้นที่จังหวัดมหาสารคราม โดยอ้างว่าเพื่อเยี่ยมให้กำลังใจประชาชนที่ประสบอุทกภัย คือ ประเด็นร้อนที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเวลานี้ เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว นายธนาธรไปจังหวัดมหาสารคราม เพื่้อเปิดเวทีบรรยายเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กรณีปัญหาเกิดขึ้นในช่วงนายธนาธร ไปพบปะชาวบ้านผู้ประสบภัย แล้วใช้คำพูดในเชิงเปรียบเทียบชะตาชีวิตชาวอีสานกับคนกรุงเทพฯ ผ่านโครงการรถไฟฟ้าสีชมพู
ทำนองว่า เงินลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าเพียงเส้นเดียว ใช้เงินลงทุนมูลค่า 54,000 ล้านบาท แต่กับดูแลชาวบ้าน 9 จังหวัดริมแม่น้ำชี จังหวัดละ 600 ล้านบาท คิดเป็นเม็ดเงิน 5,400 ล้านบาท รัฐบาลกลับไม่ให้ความสนใจ และ สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องบุญกรรม แต่เป็นเพราะการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกัน และทุกคนก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะอำนาจไม่ได้อยู่กับประชาชน แต่อำนาจอยู่ที่พวกที่พวกยึดอำนาจจากประชาชนไป
@ย้ำช้า ๆ ชัด ๆ ว่า นี่คือพฤติการณ์การสร้างความแตกแยกของนายธนาธร ที่ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก แต่หลายครั้งที่ผ่าน ๆ มา มักถูกตั้งคำถามว่า เหมาะควรกับบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือไม่ อย่างไร
โดยเฉพาะกรณีล่าสุด สำหรับการนำแผนลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ไปปลุกระดมความรู้สึกชาวบ้านผู้ประสบภัย แปรโดยเจตนาจะคิดเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากจะสร้างความรู้สึกร่วมของกลุ่มชาวบ้าน ให้เห็นว่ารัฐบาลไม่เหลียวและ หรือ ให้ความสำคัญกับผู้คนแต่ละท้องถิ่นภาคไม่เท่าเทียมกัน
ขณะที่ต้องไม่ลืมว่า นายธนาธร คนเดียวกันนี้ เคยพูดไว้เมื่อกลางปี 2560 ในงานเสวนา "โอกาสในวิกฤต : ทางใหม่ๆ ในต้มยำกุ้ง" มีใจความหลัก ๆ ว่า เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ประเทศไทย ไม่ได้มีการจัดการหนี้เน่าประมาณ 9.5 แสนล้านบาท ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2540 หรือ ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยถึงปีละ 4 หมื่นล้านบาท แทนจะได้เงินงบประมาณมาสร้างรถไฟฟ้าสีเหลือง สีชมพู หรือ สนามบินในจังหวัดต่าง ๆ
อีกจุดน่าสนใจ ก็คือ ที่่ผ่านมา พรรคอนาคตใหม่ แทบไม่เคยนำเสนอแนวนโยบาย เกี่ยวกับแผนแม่บทป้องกันเหตุอุทกภัย ในทางตรงข้าม จากการตรวจสอบพบว่าา 12 นโยบายหลัก มีแต่ประเด็นการรื้อ เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการมองว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 คือ ผลิตผลจากมรดกรัฐประหาร
กระนั้น 1 ใน 8 นโยบายเสาหลัก ของพรรคอนาคตใหม่ที่ประกาศไว้ มีการพูดถึงเรื่องขนส่งสาธารณะเพื่อทุกคน เดินทางได้ไม่ต้องซื้อรถ และการสร้างเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมรถไฟ ขยายความด้วยคำพูดของ นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ นักวิชาการด้านวิศวกรรมขนส่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายคมนาคมพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ระบุด้วยซ้ำว่า การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด และประเทศไทยควรจริงจังกับการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวลง พร้อมกับนำเงินงบประมาณไปพัฒนาระบบราง แทนที่จะนำมาตัดถนนเพิ่ม
@สืบค้นข้อมูลคร่าว ๆ มานำเสนอ เพราะต้องการให้เห็นว่า นายธนาธร หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นับวันจะยิ่งมั่วในหลักคิด แต่มุ่งเจตนาจะโจมตีทางการเมือง ในลักษณะปลุกระดมกล่าวร้าย
ยิ่งถ้าได้ทำความเข้าใจกับโครงรถไฟฟ้าสายสีชมพูดที่นายธนาธร นำไปเปรียบเทียบ สังคมไทยจะยิ่งชัดในวิธีคิดแบบ "ธนาธร" ว่า เข้าข่าย "ตลบตะแลง" อย่างที่ ป๋าเปลว สีเงิน แห่งไทยโพสต์ เปรียบเทียบไว้หรือไม่ แค่ไหน
เพราะโดยข้อเท็จจริง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู เส้นทางแคราย-มีนบุรี ระยะทางประมาณ 34.5 กิโลเมตร มีสถานีให้บริการ 30 สถานี เป็นโครงการนำร่องตามมาตรการ PPP Fast Track ของรัฐบาล ที่เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนรูปแบบ PPP Net Cost ภายใต้สัญญาสัมปทาน 33 ปี 3 เดือน โดยการก่อสร้างเป็นแบบระบบรางเดี่ยว หรือโมโนเรล คาดการณ์ก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดทดลองการเดินรถในปี 2563 ก่อนจะเปิดให้บริการเป็นทางการในปี 2564
สำคัญที่สุดเลย กรอบวงเงินลงทุน มูลค่ารวมประมาณ 5.3 หมื่นล้านบาทนั้น แท้จริงแล้วจึงไม่ใช่เป็นเม็ดเงินของรัฐบาลทั้งหมด แต่ส่วนหลัก ๆ ที่ภาครัฐจะรับผิดชอบ ก็คือ การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 6,847 ล้านบาท
ขณะที่บริษัทเอกชนผู้รับสัมปทาน อย่าง บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน) , บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบเม็ดเงินลงทุนในส่วนงานโยธา จำนวน 21,381 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า อีก 25,262 ล้านบาท
สรุปใจความก็คือ กลุ่มบีเอสอาร์ ขอรับเงินสนับสนุนโครงการจากภาครัฐประมาณ 22,500 ล้านบาท โดยจะมีการทยอยจ่ายให้บริษัทเอกชน ภายหลังจากเริ่มเปิดเดินรถแล้ว และแบ่งจ่ายเป็นรายปี โดยกำหนดระยะเวลาแบ่งจ่ายไม่ต่ำกว่า 10 ปีและกลุ่มบีเอสอาร์ลงทุนเอง 30,990 ล้านบาท เป็นเงินกู้ระยะยาวจากธนาคารกรุงเทพ , ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ 31,680 ล้านบาท และเป็นหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) 6,500 ล้านบาท
ส่วนประโยชน์ด้านการขนส่ง มีการประมาณว่าจะสามารถเชื่อมโยงการโดยสารผู้คนได้เที่ยวละประมาณ 187,770 คน ต่อวัน และเพิ่มมากขึ้นเป็น 882,130 คน ต่อเที่ยวต่อวัน จากจุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สิ้นสุดสถานีปลายทางที่บริเวณใกล้แยกถนนรามคำแหง-ร่มเกล้า ซึ่งเป็นจุดบรรจบกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี รวมระยะทาง ทั้งสิ้น 34.5 กิโลเมตร
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-ส.ส.เพื่อไทย ต่อยกันยับ ในห้องหัวหน้าพรรค
-เปิดทุกปมความจริง คดียุบพรรค “อนาคตใหม่” หลัง “ธนาธร-ปิยบุตร-ช่อ พรรณิการ์” ผนึกกำลัง...บลั๊ฟศาลรธน.??
-“ยิ่งลักษณ์” โพสต์ส่งกำลังใจ คนไทยเผชิญน้ำท่วมปี 62 ภาพ “เอาอยู่” ผุดขึ้นมาทันที 8 ปีแล้ว ยังไม่มีใครทุบสถิติทำเสียหาย??
-มาดามเดียร์ ลั่น เอาจริงเรื่องแก้ปัญหาน้ำ ไม่ใช่ดีแต่พูด กรีดฝ่ายค้านมัวแต่ยุ่งปมถวายสัตย์ ไม่ช่วยเหลือ ปชช.เดือดร้อน