- 18 ต.ค. 2562
นับถอยหลังชี้ชะตา “ธนาธร” ได้เวลาเบิกพยาน “วี-ลัค มีเดีย” ปล่อยข้อแก้ตัวรัว ๆ จำคำ “อ.แก้วสรร” ไว้ ระวังจะพาคนอื่นเดือดร้อน!?
@ นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับคำร้องกกต. ให้พิจารณาสมาชิกภาพการเป็นส.ส.ของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และมีมติเสียงข้างมากให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย จนผ่านพ้นมากว่า 5 เดือนแล้ว ต้องถือว่านับจากระยะนี้้เป็นต้นไป ใกล้ที่จะได้ข้อสรุปทางคดีแล้ว สำหรับสถานะทางการเมืองของ ธนาธร ว่าจะได้ไปต่อหรือรับบทผู้นำการเมืองนอกสภา เหมือนที่พยายามทำตลอดต่อเนื่อง
ไทม์ไลน์สำคัญต้องเริ่มต้นนับจากวันที่ 18 ตุลาคม 2562 เมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดไต่สวนพยานฝ่ายผู้ร้อง หรือ ธนาธร จำนวน 10 ปาก เพื่อสอบทานข้อเท็จจริง อันเกี่ยวเนื่องกับการโอน-ซื้อ หุ้นบริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด เนื่องจากมีข้อสงสัยว่า ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นก่อนวันรับสมัครเลือกตั้งหรือไม่
เนื่องจากถ้า ธนาธร ไม่ได้ทำตามขั้นตอนกฎหมาย ย่อมอาจเข้าข่ายกระทำผิดว่าด้วยการเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชน อันเป็นลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร และเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกผู้แทนราษฎร สิ้นสุดลงตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3)
@ ประเด็นสำคัญของกรณีนี้ ไม่ได้อยู่ที่องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะใช้เวลากี่วันในการไต่สวนพยานทั้ง 10 ปาก แต่ประเด็นที่ต้องจับตาคือ พยานของ ธนาธร ที่จะเข้าสู่กระบวนการนำสืบข้อเท็จจริงใครบ้าง
โดยก่อนหน้านี้ สนข.ทีนิวส์ เคยนำเสนอแล้วว่า นอกจากนายธนาธรในฐานะคู่ความ ย่อมมีบุคคลสำคัญ อย่าง นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัทวี-ลัค มีเดีย และเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญ ในการซื้อ-โอนหุ้น ของนายธนาธร และภรรยา ไปให้หลานชาย 2 คนเป็นผู้ถือหุ้นแทน
นอกจากนั้นต้องจับตาชื่อพยานบุคคลอย่าง นายทวี และ นายปิติ จรุงสถิตพงศ์ ในฐานะ 2 หลานชายที่มีชื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับการถือครองหุ้นแทนนายธนาธร และ ภรรยา ด้วยเหตุผลที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงความบังเอิญที่เกิดขึ้น
เพราะเป็น 2 รายชื่อที่ถูกนำมาอ้างหลังจากเกิดข้อคำถาม เรื่องสัดส่วนผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม วิสามัญผู้ถือหุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2562 หลังจากนายธนาธร ยืนยันว่าได้ขาย-โอนหุ้นไปให้นางสมพร ผู้เป็นมารดาแล้ว ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562
รวมถึงเป็นไปได้ว่า นาง รวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ คืออีกหนึ่งพยานที่ถูกเรียกเข้าให้ข้อมูล ในขั้นตอนการไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะถือเป็นบุคคลทีมีชื่อปรากฎอยู่ในหลายช่วงขั้นตอน ที่กระบวนการขาย-โอนหุ้น บริษัท วี-ลัคมีเดีย เกิดขึ้น โดยเฉพาะกรณันายธนาธร ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 โดยยืนยันว่า การโอนหุ้นมีผลสำเร็จตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562 แต่อ้างว่าเช็คที่ได้รับจาการชำระค่าหุ้น บริษัทวี-ลัค ทีเดีย ยอดเงินจำนวน 6,750,000 บาท ซึ่งได้รับจากนางสมพร ยังไม่ได้นำเช็คที่ชำระค่าหุ้นไปขึ้นเงิน
โดย ธนาธร ระบุชัดว่า เช็คมูลค่ากว่า 6 ล้านบาท ได้มอบให้ภรรรยาไปดำเนินการ ในฐานะเป็นผู้ดูแลเรื่องการเงินต่าง ๆ ของตนเอง เนื่องจากตนเองแม้จะออกจากบ้าน ก็ต้องไปขอเงินภรรยา เนื่องจากตนเองไม่มีแม้แต่บัตรเอทีเอ็ม มีแต่เครดิตการ์ด ซึ่งจากกรณีนี้ไม่รู้ว่าอนาคตภายภาคหน้า ในประเด็นคำร้องที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการกระทำความผิด เรื่องการให้กู้ยืมเงินกับพรรคอนาคใหม่ จำนวน 191,200,000 บาท จะต้องเดือดร้อนไปถึงนางรวิพรรณ อีกหรือไม่ ในฐานะผู้ดูแลการเงินของนายธนาธร ซึ่งย่อมต้องรับรู้เรื่องการให้กู้ยืมเงินกับพรรคอนาคตใหม่
@ส่วนพยานบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการไต่สวนคำร้องเรื่องการขาย-โอนหุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย ซึ่้งเป็นสมาชิกภายในตระกูล "จึงรุ่งเรืองกิจ" แล้ว ยังมีบุคคลภายนอกเกี่ยวเนื่อง
อาทิ กรณีของทนายความโนตารี ซึ่งปราฎว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อ ในเอกสารตราสารโอนหุ้น ลงวันที่ 8 มกราคม 2562 รวมถึงคนขับรถตู้ฮุนได สีขาว ทะเบียน 7xx 8893 กรุงเทพมหานคร ที่นายธนาธร อ้างว่าเป็นผู้นำตนเองกลับจากการหาเสียงในภาคอีสาน หรือ จากบุรีรัมย์วิ่งด่วนกลับมายังกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 8 มกราคม 2562 เพื่อภารกิจสำคัญว่าด้วยการโอนหุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย ที่ถูกตั้งคำถามว่าทำไมต้องเร่งรีบ ทุลักทุเล ขนาดนั้น
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 โดยเฉพาะ มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ซึ่งระบุว่า ในการไต่สวนพยานบุคคล ไม่ว่าจะเป็นพยานที่ฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลเรียกมาเอง ให้ศาลสอบถามพยานบุคคลเอง แล้วให้พยานให้ถ้อยคําในข้อนั้นโดยวิธีแถลงด้วยตนเองหรือตอบคําถามศาล ศาลอาจถามพยานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับคดีแม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างก็ตาม
ส่วนวรรคสอง ระบุว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลอาจอนุญาตให้คู่กรณีซักถามพยานเพิ่มเติมตามประเด็น และข้อเท็จจริงที่ศาลกําหนดไว้ก็ได้ โดยให้ฝ่ายที่อ้างพยานเป็นผู้ซักถามก่อน
และวรรคสาม ระบุว่า หลังจากคู่กรณีถามพยานตามวรรคสองแล้ว ห้ามมิให้คู่กรณีฝ่ายใดถามพยานอีก เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
สำคัญเลย ต้องไม่ลืมว่า กระบวนการไต่สวนพยานทั้งหมด อ.แก้วสรร อติโพธิ เคยเขียนบทความเรื่อง "อนาคต..ของอนาคตใหม่คดีคุณธนาธร" มีใจความตอนหนึ่งระบุไว้ว่า "กรณีปัญหาที่กล่าวอ้างว่าตน (ธนาธร) ได้ขายหุ้นให้มารดาไปแล้ว ตั้งแต่ 8 มกราคม ( 2562) ถ้า กกต.หรือศาล เชื่อว่าไม่จริง เป็นกล่าวอ้างย้อนหลังทำเอกสารเท็จมาประกอบ แล้วอย่างนี้จะมีใครติดคุก เพราะป้อนความเท็จให้กระบวนการยุติธรรมได้หรือไม่ : กรณีดังกล่าวตัวคุณธนาธร ไม่มีปัญหา เพราะเขามีสิทธิต่อสู้คดีอยู่แล้ว สำคัญตรงคำเบิกความของพยาน เช่นมารดาของคุณธนาธรเอง ถ้าเป็นเท็จในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ดังนี้ก็ติดคุกได้เหมือนกัน ต้องระวังให้ดี"
@ ชัดเจนว่าขั้นตอนการไต่สวนพยานบุคคล ไม่ได้สำคัญเฉพาะตัวนายธนาธร ว่าจะสามารถทำให้องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เชื่อตามพยานหลักฐานทั้งหมดได้ว่า กระบวนการขาย-โอนหุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย เกิดขึ้นในวันที่ 8 มกราคม 2562 ครบถ้วนสมบูรณ์ตามกรอบกฎหมายจริง แต่การเบิกความของพยานทุกคนจะต้องเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ด้วย มิฉะนั้นอาจเป็นเรื่องแน่
อย่างไรก็ตาม ทางด้าน ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เองก็แสดงความพร้อมในการเข้าสู่กระบวนการไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญ โดยการนำข้อมูลการต่อสู้คดี พร้อมเอกสารประกอบ แสดงผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว มีใจความสำคัญหลายบทตอน ยืนยันว่า การขาย-โอนหุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย เป็นไปด้วยความถูกต้องทุกประการ
อาทิ 1. หุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย จำนวน 675,000 หุ้น ได้ถือครองมาตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2558 ก่อนจะโอนหุ้นให้นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ในวันที่ 8 มกราคม 2562 ต่อหน้าทนายความโรตารี่ จึงถือว่ากระบวนการโอนหุ้นมีผลสมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง แล้ว
ส่วน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม ซึ่งระบุว่า "การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น"
ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นส่วนสำคัญอาจทำให้การโอนหุ้นไม่มีผลสมบูณ์นั้น ธนาธร อ้างว่า การจดแจ้งในลักษณะดังกล่าว มีการกระทำลงในสมุุดทะเบียนผู้ถือหุุ้น ซึ่งบริษัทจัดทำและเก็บรักษาไว้ที่บริษัท โดยเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1141 ที่กำหนดว่าให้สันนิษฐานว่าข้อความในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเป็นพยานอันถูกต้อง...
2.กรณีข้อค้างคาใจเรื่องการเดินทางจากบุรีรัมย์มากรุงเทพ เพื่อโอนหุ้นบริษัทวี-ลัค มีเดีย ธนาธร ยืนยันว่าคำชี้แจงที่ผ่านมาเป็นเรื่องจริงทั้งหมด โดยขึ้นรถตู้จาก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ในเวลาประมาณ 11.00 น. ก่อนมาถึงถนนกาญจนาภิเษก ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ในเวลาประมาณ 14.57 น. มีใบสั่งจราจรกับข้อมูลของการทางพิเศษฯเป็นหลักฐานยืนยัน ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 8 มกราคม 2562
3.เหตุผลทำไมนางสมพรต้องโอนหุ้นกลับไปกลับมาให้หลานชายทั้งสองคน ธนาธร ระบุว่า เป็นเพราะต้องการให้เข้ามาดูแลติดตามหนี้สินจากลูกหนี้ค้างชำระ จึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องควรสงสัยต่อกรณีที่เกิดขึ้น และเมื่อพบว่ามียอดหนี้สินจำนวน 11 ล้านบาทที่ไม่อาจทวงคืนได้ เลยตัดสินใจยกเลิกกิจการบริษัทวี-ลัค มีเดีย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-ภาพชัดมาก คำแถลงสหภาพยุโรป เชื่อมั่นไทยหลังเลือกตั้ง อีกหนึ่งเคสเมินคำชี้ชวน #ชังชาติ ธนาธร อย่างสิ้นเชิง?
-ดร.อานนท์อธิบายชัดที่มาคำพูดทูตจีน ซัดหนักนักการเมืองบางคน เทียบคนเนรคุณสองแผ่นดิน ทำอะไรไม่มีวันเจริญ
-ธนาธร อ้างบังเอิญเจอ โจชัว หว่อง โบ้ยภาพถ่ายคู่ถูกนำขยายสร้างความเกลียดชัง...ดูกันยาวๆ ระวังกระทบธุรกิจ ไทยซัมมิท ในจีน
-ธรรมนัส ลุย กระบี่ ตามความก้าวหน้า นำร่องเศรษฐกิจพอเพียง หนุนเกษตรแปลงใหญ่ผสมผสาน สร้างรายได้อย่างยั่งยืน