- 07 พ.ย. 2562
@กลายเป็นโรดแมปที่ถูกจับตามอง สำหรับแคมเปญ 16 พฤศจิกายน "อยู่ไม่เป็น" แม้จะมีการตีความออกมาไปในทิศทางเดียวกันว่า พรรคอนาคตใหม่ ต้องการส่งสัญญาณไปถึงภาคสังคม ว่า จำเป็นต้องทุกวิถีทางเพื่อดำรงสถานะความเป็นพรรคการเมือง และทำตามเจตนารมย์ทางการเมืองต่อไป ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับกรณีการนัดฟังคำวินิจฉัยคดีถือหุ้นสื่อ บริษัทวี-ลัค มีเดีย ของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หรือ คำร้องให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ โดย นายณฐพร โตประยูร
@กลายเป็นโรดแมปที่ถูกจับตามอง สำหรับแคมเปญ 16 พฤศจิกายน "อยู่ไม่เป็น" แม้จะมีการตีความออกมาไปในทิศทางเดียวกันว่า พรรคอนาคตใหม่ ต้องการส่งสัญญาณไปถึงภาคสังคม ว่า จำเป็นต้องทุกวิถีทางเพื่อดำรงสถานะความเป็นพรรคการเมือง และทำตามเจตนารมย์ทางการเมืองต่อไป ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับกรณีการนัดฟังคำวินิจฉัยคดีถือหุ้นสื่อ บริษัทวี-ลัค มีเดีย ของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หรือ คำร้องให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ โดย นายณฐพร โตประยูร
ถึงแม้ว่าล่าสุดแกนนำพรรคอนาคตใหม่ จะพยายามหลีกเลี่ยงอธิบายความชัดเจน ถึงแนวทางปฏิบัติที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2562 แต่องค์ประกอบแวดล้อม บ่งบอกชัดเจนว่า พรรคอนาคตใหม่ จะมีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับนัดหมายฟังคำวินิจฉัยคดีหุ้นสื่อวี-ลัค มีเดีย เป็นเป้าหมายแรก
แต่จากสัญญาณคำพูดของ พล.ท.พงศกร รอดชมภู รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ระบุว่า 16 พฤศจิกายน "อยู่ไม่เป็น" คือ แนวทางของฝ่ายแคมเปญพรรคอนาคตใหม่ เป็นเรื่องปกติทั่วไป เป็นแค่วิธีการเคลื่อนไหวที่ทางพรรคต้องการบอกให้ทุกคนทั่้วไป ได้เข้าใจถึงกระบวนการทำงานของพรรค หมายถึงถ้าเราอยู่เป็น หรือ ยอมทำตามฝ่ายที่มีอำนาจ ไปประจบประแจงเขา ก็จะได้อยู่ยาวๆ แต่เราคิดว่าแบบนั้นเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง มันไม่ตอบโจทย์ให้กับประชาชนหรือสมาชิกของพรรค หรือคนทั่วไปที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง
ลงลึกในรายละเอียดเพิ่มเติม พล.ท.พงศกร ยิ่งทำให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ถึงวัตถุประสงค์สำคัญ ในการก่อเกิดแคมเปญ 16 พฤศจิกายน ด้วยคำอธิบายว่า พรรคอนาคตใหม่มีจุดยืนชัดเจ จะไม่ยอมสยบให้อำนาจใด ๆ เพราะถ้ายอมพรรคอนาคตใหม่ ก็จะไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ให้เกิดขึ้นได้
ส่วนแคมเปญนี้จะโยงกับเรื่องคำร้องเรื่องถูกยุบพรรค อย่างที่คนทั่้วไปเข้าใจว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ตรงนี้อธิบายได้เลยว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง จากประสบการณ์ในอดีต เหมือนที่อ.ปิยบุตร พูด หรือ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ผู้มีอำนาจมักดำเนินการกับฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะกับพรรคอนาคตใหม่ ที่มีเป้าหมายชัดเจนในการเปลี่ยนแปลง จึงมีความพยายามทุกอย่างในการทำให้พรรคอนาคตใหม่หมดอำนาจไป หรือ ยุบพรรคนี้ให้ได้ ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของชุดความคิดนี้
@ ดังนั้นโดยบริบทคำอธิบายของพล.ท.พงศงกร ถึงแม้จะไม่ได้บอกรายละเอียดทั้งหมด แต่โยคอนเซ็ปต์มีความหมายอยู่ในตัวเอง ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในวันที่ 16 พฤศจิกายน
เนื่องเพราะ พล.ท.พงศกร ในฐานะรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ พูดด้วยว่า "เราเชื่อวิธีการที่เราจะทำ จะช่วยไม่ให้มีใครมาใช้อำนาจในทางที่ผิดกับเราได้ และแคมเปญนี้ถือเป็นทิศทางของพรรค จึงไม่เกินเลยที่จะพูดว่าเป็นแคมเปญที่ถูกจุดเพื่อต่อต้านกระแสข่าวการยุบพรรค แต่ไม่ใช่ทิศทางหลัก เพราะเราเชื่้อว่าพรรคอนาคตใหม่จะไม่ถูกยุบแน่นอน รวมถึงคำร้องต่อกรณีของธนาธรด้วย ที่สมาชิกพรรคอนาคตใหม่เชื่อว่าจะไม่ถึงเป็นความผิด ตามข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ ว่าทั้งหมดของแคมเปญที่สื่อออกไป จะทำให้คนทั่วไปมั่นใจว่า ท้ายที่สุดไม่ใช่ชุดความคิดเดิม ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต"
ประเด็นสำคัญ พล.ท. พงศกร ย้ำอธิบายด้วยว่ า กระแสข่าวที่ว่าพรรคอนาคตใหม่จะถูกยุบ พร้อมกับการดึงตัวส.ส.เป็นเรื่องที่เป็นมาโดยตลอด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตอบโต้ มิฉะนั้นก็จะเป็นเหมือนที่ ฮิตเลอร์เคยบอกว่าโกหกบ่อยๆ สุดท้ายคนจะเชื่อว่าจริง กอรปกับก็มีการโฆษณาชวนเชื่อบ่อย ๆ จนสุดท้ายคนเชื่อว่าจริง แล้วเห็นว่าการยุบพรรค ถึงแม้จะไม่เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย ก็ไม่เห็นเป็นอะไร เราจึงจะเป็นต้องตอบโต้ทุกประเด็น ให้ผู้คนเกิดความรู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องจริง หรือ เรื่องถูกต้องที่จะมีวิธีดำเนินการกับพรรคอนาคตใหม่แบบนั้น ในทางตรงข้ามถ้าเรายิ่งเงียบก็เท่ากับเรายอมรับ"
@ความน่าสนใจของปรากฎการณ์ 16 พฤศจิกายน “อยู่ไม่เป็น” ไม่จบเท่านั้น ยังด้วยว่าแคมเปญดังกล่าว ถือเป็นภารกิจสำคัญของพรรคอนาคตใหม่
ทั้งนี้ พล.ท.พงศกร สื่อให้เกิดความเข้าใจด้วยว่า แคมเปญดังกล่าว ช่อ พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคเป็นผู้รับผิดชอบ ก่อนนำเสนอต่อฝ่ายบริหารตัดสินใจ ในฐานะทีมนำความคิด
ประจวบเหมาะกับชุดความคิดของ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ในการโพสต์เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ยิ่งทำให้ภาพการรุกก้าวสู้ ทางคดีของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน กับ แคมแปญ 16 พฤศจิกายน “อยู่ไม่เป็น” ดูเป็นหนึ่งทิศทางเดียวกัน อย่างปฏิเสธไม่ได้ แม้จะมีความพยายามอ้าง เรื่องการเคารพในกระบวนการยุติธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม
[จาก Warfare สู่ Lawfare] Lawfare เป็นการนำคำว่า "Law" มาผสมกับคำว่า "-fare" และล้อไปกับคำว่า "Warfare" ซึ่งหมายถึง "การสงคราม" ดังนั้น "Lawfare" จึงแปลได้ว่า "นิติสงคราม" หรือ "สงครามทางกฎหมาย"
Lawfare คือ การนำกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมือง มีเป้าประสงค์ในทางการเมือง เพื่อปราบปรามศัตรูทางการเมืองหรือฝ่ายตรงข้าม
Warfare ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ประหัตประหารห้ำหั่นกันเพื่อเอาชนะสงคราม
แต่ Lawfare ใช้ "กฎหมาย" เป็นอาวุธ
Lawfare เป็นแนวโน้มใหม่ของโลก หลายประเทศนำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในละตินอเมริกา
Lawfare ทำงานโดยอาศัยการผสมผสานกันระหว่าง "ศาล" และ "สื่อ"
หนึ่ง คือ นำประเด็นทางการเมืองไปอยู่ในมือศาล
อีกหนึ่ง คือ นำคดีการเมืองในศาลไปอยู่ในมือสื่อ