- 06 เม.ย. 2563
ถือเป็นอีกหนึ่งแนวร่วมคนเสื้อแดงนปช.รายสำคัญ ที่โดนข้อหากระทำความผิดแล้วหลบหนีไปก่อนหน้า ล่าสุดชุดสืบสวนจับกุมผู้ต้องหา ภายใต้การอำนวยการของ พ.ต.ท.สถาพร จตุวรพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์สืบสวนสะกดรอยและการข่าว กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นำโดย ว่าที่ร้อยเอก สุริยา ก่อเกิด พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารสังกัดกองร้อยทหารสารวัตร มณฑลทหารบกที่ 44 ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร โดยได้รับการสนับสนุนกำลังพลจาก พล.ต.พรชัย อินทนู ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 44 มอบหมายให้ ร.อ.อาทิตย์ คลังนิมิตร ผบ.ร้อย สห.มทบ.44 นำหมายจับของศาลอาญาที่ 1551/2562 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2562 (คดีพิเศษที่ 59/2553) เข้าทำการจับกุม พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ผู้ต้องหาในคดีบุกรุกอาคารรัฐสภาเมื่อปี 2553 ได้แล้วที่บริเวณหน้าบ้านพักในพื้นที่หมู่ 7 ต.ปากน้ำ อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร
ถือเป็นอีกหนึ่งแนวร่วมคนเสื้อแดงนปช.รายสำคัญ ที่โดนข้อหากระทำความผิดแล้วหลบหนีไปก่อนหน้า ล่าสุดชุดสืบสวนจับกุมผู้ต้องหา ภายใต้การอำนวยการของ พ.ต.ท.สถาพร จตุวรพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์สืบสวนสะกดรอยและการข่าว กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นำโดย ว่าที่ร้อยเอก สุริยา ก่อเกิด พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารสังกัดกองร้อยทหารสารวัตร มณฑลทหารบกที่ 44 ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร โดยได้รับการสนับสนุนกำลังพลจาก พล.ต.พรชัย อินทนู ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 44 มอบหมายให้ ร.อ.อาทิตย์ คลังนิมิตร ผบ.ร้อย สห.มทบ.44 นำหมายจับของศาลอาญาที่ 1551/2562 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2562 (คดีพิเศษที่ 59/2553) เข้าทำการจับกุม พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ผู้ต้องหาในคดีบุกรุกอาคารรัฐสภาเมื่อปี 2553 ได้แล้วที่บริเวณหน้าบ้านพักในพื้นที่หมู่ 7 ต.ปากน้ำ อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร
ก่อนนำตัวผู้ต้องหาไปตรวจวัดอุณหภูมิที่โรงพยาบาลปากน้ำชุมพร พบว่า มีอุณหภูมิในร่างกาย 37 องศาเซลเซียส ไม่มีอาการไข้ ไม่มีโรคประจำตัวและไม่มีประวัติเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงนำตัวมาควบคุมที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยคดีนี้จะครบกำหนดอายุความในวันอังคารที่ 7 เมษายน 2563 ซึ่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ จะได้ประสานงานพนักงานอัยการ เพื่อเร่งฟ้องคดีภายในวันดังกล่าวต่อไป
ทางด้านนายแพทย์ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า แม้ว่าปัจจุบันจะอยู่ในช่วงที่รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่กรมสอบสวนคดีพิเศษยังคงดำเนินการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมคดีพิเศษอย่างต่อเนื่อง ทั้งคดีที่เกิดขึ้นในช่วงนี้และคดีที่ค้างเก่า โดยเจ้าหน้าที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง และมีการปรับกำลังให้ยืดหยุ่นตามสถานการณ์
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทุกนายจะต้องมีการป้องกันตนเองตามมาตรการเพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโควิด –19 นอกจากนี้ พันตำรวจโท สุภัทธ์ ธรรมธนารักษ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะกำกับดูแลกองปฏิบัติการคดีพิเศษที่รับผิดชอบในการควบคุมผู้ต้องหา ได้กำชับให้มีการเพิ่มความเข้มงวดในการดูแลผู้ต้องหา โดยให้มีการจัดเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น และจัดให้มีเวรตรวจตราเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมผู้ต้องหาทุก 2 ชั่วโมง อีกด้วย
สำหรับ พ.ต.ต.เสงี่ยม ยังถือเป็นอีกหนึ่งจำเลยร่วมกันพากลุ่มคนเสื้อแดงบุกล้มการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่โรงแรมรอยัลคลิฟบีช รีสอร์ท เมื่อปี 2552 สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร่วมกับแกนนำคนเสื้อแดงนปช. รายอื่น ๆ อาทิ นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง, นายนพพร นามเชียงใต้, พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์, นายสมญศฆ์ พรมภา, นายนิสิต สินธุไพร, นายสำเริง ประจำเรือ, นายศักดา นพสิทธิ์, นายสิงห์ทอง บัวชุม, นายธนกฤต หรือวันชนะ ชะเอมน้อย หรือเกิดดี, นายวรชัย เหมะ, นายพายัพ ปั้นเกตุ, นายวัลลภ ยังตรง ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ลงโทษ จำคุก 4 ปี ไม่รอลงอาญา
ขณะที่ พ.ต.ต.เสงี่ยม ศาลจังหวัดพัทยา จ.ชลบุรี ได้สั่งจำหน่าย(พัก)คดีไว้ก่อน เนื่องจากจำเลยได้หลบหนีไปก่อนหน้า
ขณะที่ในอดีต เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2561 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตแหน่งทางการเมือง ได้มีคำพิพากษาจำคุก 4 เดือนและปรับเงิน 16,000 บาท พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฐานความผิดจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แต่จำคุกให้รอลงอาญาเป็นเวลา 1 ปี