- 16 เม.ย. 2563
สืบเนื่องจากกรณีที่ นายกรัฐมนตรี ออกแถลงภายหลังการประชุม ครม. วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2563 ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ผ่านเพจ ไทยคู่ฟ้า ระบุว่า ดีใจที่ยอดผู้ติดเชื้อทยอยลดลง อย่างที่ทุกคนทราบกัน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะหมดภายในที่ 26 เม.ย.63 เข้าใจว่าทุกคนได้รับผลกระทบ อาจจะมีการผ่อนปรนมาตรการต่างๆ ไม่ใช่ทีเดียวทั้งหมด แต่ต้องให้คณะกรรมการวิเคราะห์และประเมินภายในสิ้นเดือน เม.ย.อีกครั้ง ว่าจะมีการต่ออายุหรือขยายมาตรการหรือไม่
สืบเนื่องจากกรณีที่ นายกรัฐมนตรี ออกแถลงภายหลังการประชุม ครม. วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2563 ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ผ่านเพจ ไทยคู่ฟ้า ระบุว่า ดีใจที่ยอดผู้ติดเชื้อทยอยลดลง อย่างที่ทุกคนทราบกัน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะหมดภายในที่ 26 เม.ย.63 เข้าใจว่าทุกคนได้รับผลกระทบ อาจจะมีการผ่อนปรนมาตรการต่างๆ ไม่ใช่ทีเดียวทั้งหมด แต่ต้องให้คณะกรรมการวิเคราะห์และประเมินภายในสิ้นเดือน เม.ย.อีกครั้ง ว่าจะมีการต่ออายุหรือขยายมาตรการหรือไม่
ต่อมา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของคณะแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์ โดยได้กล่าวชื่นชมแพทย์พยาบาล บุคคลากรทางการแพทย์ที่ได้ทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งส่วนตัวคุ้นเคยดและได้เห็นการทำงานของแพทย์และทุกคนตั้งแต่สมัย พ่อ และ แม่ รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ รวมถึงได้ถวายงานอารักขา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ได้ประทับอยู่ที่นี่ และส่วนตัวได้มาถวายงานกินนอนอยู่ที่นี่ ในหลายครั้งและหลายโอกาส
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงการประชุม ครม.เมื่อวานนี้ (15 เมษายน 2563) ว่าได้พูดในที่ประชุมว่า สิ่งไหนที่ผิดพลาดก็ต้องนำมาปรับปรุงและพัฒนา โดยไม่ต้องบอกกล่าวใคร เพราะเรานั้นย่อมรู้แก่ใจของตัวเอง ตนขอโทษบุคคลากรทางการแพทย์ที่ทำให้ไม่สบายใจ ส่วนตัวอาจติดนิสัยเดิมที่เคยเป็นทหารพูดจาไม่ค่อยเข้าหูคนบ้าง ซึ่งบางครั้งเข้าถึงรายละเอียดมากเกินไป ไม่เหมาะสมที่จะออกมาพูด ตนจึงเป็นนักการเมืองไม่ได้ ตนแค่อยากอธิบายให้ทุกคนเข้าใจ แต่กลับถูกนำไปบิดเบือน จึงไม่ขอพูดดีกว่า เพราะพูดไปเป็นปัญหาทุกที และบางครั้งมีการสร้างประเด็นไปเรื่อย ๆ จนเกิดผลเสียตามมา
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง - นายกฯตู่เปิดอกคุยแพทย์ศิริราช ขอโทษบางครั้งพูดทำไม่สบายใจ พ้อหนักคำอธิบายเงินเราไม่ทิ้งกัน 5 พัน ถูกสื่อนำบิดเบือน
ล่าสุด ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ครั้งที่ 1/2563 โดยภายหลังการประชุมเมื่อเวลา 14.00 น. ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้เป็นการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของรัฐบาลที่จำเป็นต้องมีการกำหนดวงเงินในการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันซึ่งโดยสรุปในรายละเอียดแล้วก็เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งมีประกาศ 6 ฉบับและพระราชบัญญัติทุกฉบับ ทั้งนี้ยืนยันว่ามีการจ่ายเงินเยียวยาแน่นอนเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเมื่อวานนี้ (15 เม.ย.) ตนต้องขอโทษด้วยที่ทำให้หลายคนไม่สบายใจ จนเกิดการเคลื่อนไหวกันมากมาย
"ยืนยันว่ารัฐบาลต้องดูแลใน 3 เดือนนี้ให้ได้ และถ้าสถานการณ์ดีขึ้นโดยเร็ว โดยไว สามารถแก้ปัญหาได้ทุกระดับ สมมติว่าถ้าผ่าน 3 เดือนไปแล้วและดีขึ้น เราก็ไม่จำเป็นต้องหาเงินตรงนี้ แต่ถ้าเกิน 3 เดือนก็ต้องไปว่ากันอีกทีว่าจะหาเงินจากตรงไหนก็เท่านั้นเอง สบายใจกันหรือยังผมยืนยัน
เมื่อวานนี้ (15 เม.ย.)ต้องขอโทษด้วยไม่ได้มีเจตนา ที่จะพูดให้เข้าใจอย่างนั้น แต่ผมต้องการให้เข้าใจว่ามันใช้เงินกันอย่างไรแต่ไม่ได้หมายความว่าไม่แน่นอน และจะไม่ให้เงินอีกแล้ว ตอนนี้ก็กำลังดูทั้งแรงงาน ประกันสังคม ทั้งในระบบและนอกระบบ กลุ่มอิสระ รวมถึงกำลังดูเรื่องเกษตรกร วันนี้ลงรายละเอียดทั้งหมด ซึ่งเกษตรกรมีหลายประเภท บางอันมีผลกระทบมากและมีผลกระทบน้อย ซึ่งต้องเข้าใจว่ารัฐบาลมีมาตรการตรงนี้ในการคัดกรอง จึงขอให้ทุกคนร่วมมือก็แล้วกัน"นายกฯ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่สุดอยากให้ทุกคนร่วมมือกันแบบนี้ ซึ่งวันนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลง ขณะที่ทางสาธารณสุขก็ได้ระบุว่า ถ้า 14 วัน กราฟผู้ติดเชื้อลดลงแสดงว่าเราสามารถควบคุมได้บ้างแล้ว เราจึงต้องดูว่าจะปลดล็อคตรงไหนได้บ้าง แต่ไม่ใช่ทำทีเดียวทั้งหมด แล้วถ้ากราฟตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมันก็จะดึงลงลำบาก ก็ต้องค่อยค่อยมาพิจารณาดูว่าจะปลดล็อคบางกิจการใดได้บ้าง ให้เคลื่อนไหวได้มีอาชีพบ้างก็ต้องร่วมมือกันตรงนี้ ถ้าเรียกร้องให้เปิดกันทั้งหมดแล้วตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นใครจะรับผิดชอบได้ ดังนั้นเราต้องรับผิดชอบร่วมกัน ในหลายๆ เรื่อง เพราะเป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติ
"ขอบคุณและขอโทษที่ทำให้ ไม่มั่นใจ วันนี้ขอให้มั่นใจ มั่นใจผมมาตลอด เวลาที่ผ่านมาแล้ว ขอให้มั่นใจกระทรวงการคลัง มั่นใจบุคลากรของผม ทุกคนพยายามทำอย่างเต็มที่ บางครั้งมันก็ยากบ้างง่ายบ้าง ทันใจบ้างและไม่ทันใจบ้างก็ขอโทษด้วยแล้วกัน แต่มันเป็นมาตรการที่ต้องระมัดระวังที่สุด เพราะเป็นการใช้เงินของภาครัฐ ต้องมีการตรวจสอบภายหลังทุกอย่าง ผมก็ไม่อยากให้เกิดปัญหาขึ้นในระยะหลัง ผมทราบดีว่าทุกคนเดือดร้อนและเดือดร้อนในเวลาเดียวกันด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องทยอยดำเนินการยืนยัน 3 เดือน โอเคไหม"
เมื่อถามว่าในส่วนของเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนต้องมีการลงทะเบียนใหม่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้ให้กระทรวงการคลังดำเนินการอยู่