- 20 เม.ย. 2563
วันนี้ (20 เม.ย.) พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โดยช่วงหนึ่ง ได้กล่าวขอบคุณการดำเนินงานของทุกหน่วยงาน ทั้ง ทหาร ตำรวจ พลเรือน กทม. สาธารณสุข ที่เสียสละเวลามาปฏิบัติหน้าที่ หลังจากได้มีการออกตรวจเยี่ยม เพื่อให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ และพบว่าทุกพื้นที่มีความเรียบร้อยอย่างดี
วันนี้ (20 เม.ย.) พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โดยช่วงหนึ่ง ได้กล่าวขอบคุณการดำเนินงานของทุกหน่วยงาน ทั้ง ทหาร ตำรวจ พลเรือน กทม. สาธารณสุข ที่เสียสละเวลามาปฏิบัติหน้าที่ หลังจากได้มีการออกตรวจเยี่ยม เพื่อให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ และพบว่าทุกพื้นที่มีความเรียบร้อยอย่างดี
ส่วนเรื่องการผ่อนคลายมาตรการการควบคุม การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 นายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางและข้อพิจารณากับทุกฝ่าย โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขในการไปพิจารณาจัดทำแผนแม่บท หากสถานการณ์ดีขึ้นตามหลักเกณฑ์ จะมีการผ่อนปรนในส่วนใดได้บ้าง ผ่านข้อมูลการวิเคราะห์ และตัวเลขสถิติ เพื่อให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพบางประเภทได้ ใ ห้ประชาชนมีรายได้ แม้ว่าอาจจะต้องกำหนดข้อจำกัดเพิ่มเติม อาทิ การเปิดตลาด ประเภทใดที่จะผ่อนปรนให้เปิดได้บ้าง ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสที่อาจเกิดขึ้นซ้ำ
ขณะที่การผ่อนคลายมาตรการต่างๆ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานไปพิจารณาภายใต้การดูแลของหน่วยงานตนเอง ว่าจะมีแนวทางหรือขั้นตอนผ่อนคลายมาตรการเพิ่มเติมอย่างไร แต่ในเบื้องต้นการปลดล็อคจะต้องมีมาตรการดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนที่ยังกำหนดอยู่ รวมทั้งพิจารณาต้องอยู่ภายใต้มาตรการตรวจสอบ และการคัดกรอง ที่ให้เหมาะสม รวมทั้งการดำเนินการทุกอย่างยังต้องเป็นไปตามหลักการ Social Distancing เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนยังคงเห็นความสำคัญ การดำเนินมาตรการที่ชัดเจน จะได้เกิดความไว้วางใจ ร่วมมือกับรัฐบาล เช่นเดียวกับมาตรการ Work From Home ที่ต้องพิจารณาว่าจะปรับอย่างไรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ยังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลับไปพิจารณากระบวนการตรวจเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อ ในกลุ่มเสี่ยงให้เข้มข้นมากขึ้น ทั้งการสำรวจกลุ่มคนทำงานที่พบเจอคนจำนวนมาก เช่น แม่ค้า กลุ่มคนที่เคยตรวจไปแล้ว โดยอาจพิจารณาตรวจอีกรอบเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ตลอดจนพิจารณาการสุ่มตรวจแรงงาน ทั้งนี้ให้สาธารณสุขไปชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าการวิจัย ให้ประชาชนทราบ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการ Re-use หน้ากาก N95
สำหรับการเดินทางเข้าประเทศ นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ ชี้แจงให้คนไทยให้ทราบถึงขั้นตอน การดำเนินการเมื่อการเดินทางกลับต้องเข้ากระบวนการ State Quarantine และ Local Quarantine ของไทย และขอให้กระชับกระบวนการรับคนที่สนามบินให้รวดเร็วขึ้น แต่ต้องมีความปลอดภัย ซึ่งหน่วยงานด้านความมั่นคงได้รายงานว่ามีการปรับแก้ไขแล้ว โดยใช้เวลาเพียง 40 นาที รวมทั้งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด แก้ปัญหาการเดินทางกลับเข้าประเทศไทยทางบกเพื่อไม่ให้กระทบความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน กำหนดในการเดินทางเข้าทางบกผ่านแดนทางภาคใต้ วันละ 350 คน โดยให้ช่วยกันบริหารจัดการให้ดี ระมัดระวังด้านความปลอดภัย หากทำให้ได้มากก็จะผ่อนคลายความตึงเครียดของคนไทยที่อยากเดินทางกลับบ้าน
ส่วนการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจจำเป็นต้องเดินคู่ขนานกันไป ทั้งการแก้ปัญหาในแต่ละภาคส่วน การร่วมกันทำ Big Data เพื่อทำให้ได้ข้อมูลเดียวกันในทุกส่วนงานมาพิจารณาเพื่อดูแลเรื่องการเยียวยา ฟื้นฟู ทั้งปัจจุบัน และอนาคต
ทางด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงจดหมายเปิดผนึกที่พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม จะทำถึง 20 มหาเศรษฐีในไทย โดยยืนยันว่าจดหมายดังกล่าวไม่ใช่การขอเงิน ขณะที่ประชุมศบค. วันนี้ไม่มีการพูดคุยถึงเรื่องนี้ แต่
การช่วยเหลือประเทศชาติด้วยการระดมความคิดเช่นนี้สามารถทำได้หมดทุกอย่าง ขอให้รอดูรายละเอียดกันก่อน
เมื่อถามว่าในที่ประชุมศบค.วันนี้มีการหารือถึงการขยายอายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มี ทั้งนี้หากจะมีการขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน นายกฯจะต้องนำเข้าที่ประชุมครม.ก่อนวันที่ 30 เม.ย.ที่จะครบกำหนด และหากจะเป็นกรณีฉุกเฉิน เร่งด่วน มาตรา 5 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้ระบุให้อำนาจนายกฯสามารถประกาศไปก่อนโดยไม่ต้องเข้าครม.ก็ได้ จากนั้นค่อยรีบนำเข้าครม.ภายหลัง เพราะถ้าไม่ทันก็ต้องทำเช่นนี้ ซึ่งสามารถบอกกันก่อนได้ ไม่ต้องจู่โจม ที่เขาเขียนว่าประกาศก่อนแล้วค่อยไปขอนั้นเขาหมายถึงกรณีก่อการร้าย
ส่วนกรณีการห้ามขายสุรา ที่ครบกำหนดวันนี้จะมีการขยายต่อหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของกทม.ที่จะพิจารณา แต่รัฐบาลตั้งใจว่า ต่อไปหากจะต้องขยายก็ควรจะปรับให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ เพราะขณะนี้แต่ละจังหวัดคำสั่งไม่เหมือนกันก็เลยอาจจะยุ่ง อย่างการประกาศเคอร์ฟิว รัฐบาลประกาศห้าม 22.00- 04.00 น. แต่ทางกทม.ประกาศ 22.00-05.00 น. เพราะกทม.ประกาศก่อนที่รัฐบาลประกาศ แต่หากมีการทบทวนเรื่องการขยายเวลาการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะขยายกี่วันก็แล้วแต่ ก็ต้องตัดให้เข้ามาสู่ระบบเดียวกันให้หมด เพื่อเลิกก็จะได้เลิกเหมือนกัน หรือถ้าจะผ่อนคลายก็อาจผ่อนคลายคล้ายๆกัน
ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่ง รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงท่านนายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการศบค. โดยเนื้อหาใจความระบุว่า " กราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรี จากข่าวที่รัฐได้ออกแถลงการณ์รายวันโดยนำเสนอแนวโน้มการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค COVID-19 พร้อมระบุลักษณะการจัดการระบบการผ่อนคลายรายจังหวัด ตามที่นำเสนอโดยกลุ่มนักวิชาการและผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขจำนวนหนึ่งนั้น
ผมขอเรียนว่า การดำเนินการตามรูปแบบดังกล่าวนั้นเร่งด่วนเกินไป และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดผลกระทบตามมาอย่างรุนแรง จนอาจยากที่จะควบคุม ดังเช่นบทเรียนที่เราเห็นในสิงคโปร์และญี่ปุ่น
การที่ประเทศไทยสามารถฉุดกราฟการระบาดจาก 33% มาสู่ 8% ในวันที่ 21 เมษายนนี้ได้นั้น เพราะรัฐได้ตัดสินใจถูกต้องในการดำเนินมาตรการเข้มข้นตั้งแต่ 19 มีนาคม 2563 ภายหลังจากที่ทางโรงเรียนแพทย์ได้นำเสนอข้อมูลวิชาการ และการคาดการณ์ภาวะการระบาดให้แก่รัฐบาล ทั้งนี้เป็นไปตามหลักวิชาการที่วิเคราะห์ให้เห็นชัดว่าประเทศที่ระบาดมาก มักดำเนินการไม่ทันต่อเวลา และ เกาะกราฟ 33% เช่น อเมริกา เยอรมัน อิตาลี และอื่นๆ โดยที่ในขณะนั้นการควบคุมโรคโดยหน่วยงานรัฐเป็นไปในลักษณะที่แก้เพียงปัญหาเฉพาะหน้า และไม่ได้สนับสนุนให้เกิดมาตรการที่มีประสิทธิภาพดีพอ การตัดสินใจครั้งนั้นจึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไทยเราอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมโรคได้ดีดังปัจจุบัน
จากการประกาศในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาว่าจะผ่อนคลายให้ประกอบกิจการต่างๆ โดยปลดล็อคแบบรายกลุ่มจังหวัดนั้นเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นธรรม และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Super-migration ของผู้คนที่จะหาทางในการทำมาหากิน และอาจเกิดจลาจลหรือความโกลาหลตามมาได้
ผมจึงขอเรียนเสนอให้ท่านโปรดพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยควรผ่อนคลายมาตรการเมื่อเราพร้อมจริงๆ เพราะหากเกิดปัญหาการระบาดระลอกสองแบบในสิงคโปร์และญี่ปุ่นแล้ว การกลับมาควบคุมใหม่จะยากขึ้นเป็นทวีคูณ พร้อมกันนี้ได้ขอนำเสนอทางเลือกนโยบายประกอบการพิจารณาดังแนบ จึงขอเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา"
รายละเอียดข้อเสนอของ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์