- 21 เม.ย. 2563
สืบเนื่องจากกรณีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด- 19 ที่มีแนวโน้มลุกลาม และส่งผลกระทบรุนแรงในวงกว้างต่อธุรกิจ และประชาชนทั่วไป จนทำให้หลายหน่วยงานต้องการที่จะช่วยเหลือประชาชน อาทิ บอร์ด กสทช. ได้อนุมัติมาตรการอุดหนุนค่าบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ประชาชนเพื่อสนับสนุนการทำงานที่บ้าน เพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19 ที่กำลังการแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยประชาชนจะสามารถเริ่มลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2563 เป็นต้นไป
สืบเนื่องจากกรณีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด- 19 ที่มีแนวโน้มลุกลาม และส่งผลกระทบรุนแรงในวงกว้างต่อธุรกิจ และประชาชนทั่วไป จนทำให้หลายหน่วยงานต้องการที่จะช่วยเหลือประชาชน อาทิ บอร์ด กสทช. ได้อนุมัติมาตรการอุดหนุนค่าบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ประชาชนเพื่อสนับสนุนการทำงานที่บ้าน เพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19 ที่กำลังการแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยประชาชนจะสามารถเริ่มลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2563 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า วันที่ 20 เม.ย.2563 จะแถลงผลการหารือร่วมกับโอเปอร์เรเตอร์ 5 ราย ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ถึงมาตราการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤติโควิด-19
ทั้งนี้ การหารือดังกล่างได้ข้อสรุปเบื้องต้น คือ 1. ค่ายมือถือจะให้สิทธิโทรฟรี 100 นาที ในการโทรภายในเครือข่ายเดียวกัน โดยจะให้เริ่มได้ในวันที่ 1 พ.ค.เป็นต้นไป 2.กำลังเจรจาให้มีการโทรฟรีภายนอกเครือข่าย 50 นาทีฟรี แต่เนื่องด้วยการโทรข้ามเครือข่ายตามปกติต้องมีการเสียค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (ไอซี) นาทีละ 0.29 บาท จึงยังไม่ได้ข้อสรุปแต่เชื่อว่าค่ายมือถือจะยอมจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนไปก่อน
ขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ที่มีแนวโน้มลุกลามและส่งผลกระทบรุนแรงในวงกว้างต่อธุรกิจและประชาชนทั่วไป ดังนั้นธปท. ได้ติดตามสถานการณ์และมีความห่วงใยมาโดยตลอดจึงได้ร่วมกับสถาบันการเงิน 22 แห่ง กำหนดมาตรการช่วยเหลือ
แต่ทว่า การช่วยเหลือเหล่านั้นมักจะมีเงื่อนไขตามที่แต่ละธนาคารกำหนดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งประชาชนที่เดือดร้อนบ้างรายได้บ่นกันไม่น้อยว่า เมื่อเข้าไปทำรายการดังกล่าวแล้ว แต่ทางธนาคารไม่ให้ดำเนินการ เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไข
ล่าสุด ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "ความแตกต่างของการไฟฟ้ากับซีพี...(เป็นตัวอย่าง) ผู้ว่าการไฟฟ้าไม่ใช่เจ้าของการไฟฟ้า..แต่ประธานซีพีเป็นเจ้าของซีพี..ตัดสินใจจะช่วยสังคมยังไงก็ได้ การตัดสินใจย่อมหน่อมแน้มต่างกัน..กร่นด่าไปก็เท่านั้น รัฐบาลช่วยทำตัวเผด็จการจริงๆ กับรัฐวิสาหกิจ ธนาคาร เอกชนบางส่วนฯลฯหน่อยเถอะจ้ะ.."
ทำให้มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างต่อเนื่อง บ้างก็เข้ามาคอมเม้นต์ว่า ยามบ้านเมืองเกิดวิกฤต ประชาชนเดือดร้อน สาธารณูปโภคของรัฐ ได้ไปจากประชาชนไม่ใช่น้อย คืนกลับสู่สังคมให้มากกว่านี้ ต้องมีความจริงใจ ทำอย่างจริงจัง แนวทางที่ออกมาวันนี้ก็ไม่ต่างจากลดค่าไฟ3% สักเท่าไหร่นะครับ บ้างก็เข้ามาคอมเม้นต์ว่า ก็เพราะรัฐบาลไม่ใช่เผด็จการนี่คะ ถึงต้องทำงานตามหลักประชาธิปไตย แต่ประชาชนประชาธิปไตยแต่หัวใจเผด็จการนี่แหละที่เอาแต่ใจ
อย่างไรก็ตาม ด้าน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน จะเสนอมาตรการลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับภาคครัวเรือนในช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค.63 ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันพรุ่งนี้ โดยส่วนแรกจะขยายมาตรการใช้ไฟฟ้าฟรีสำหรับครัวเรือนขนาดเล็กที่ติดตั้งมิเตอร์ขนาดไม่เกิน 5 แอมป์ ให้ใช้ไฟฟ้าฟรีเพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน จากเดิม 90 หน่วย/เดือน
อ่านต่อที่ - สนธิรัตน์ รมว.พลังงาน นั่งหัวโต๊ะถกลดภาระค่าไฟ สรุปได้ 3 แนวทางใหม่ ขยายครอบคลุมทุกบ้าน