- 15 มิ.ย. 2563
สืบเนื่องจากการที่ บมจ.การบินไทย ได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และศาลล้มละลายกลางกำหนดวันนัดไต่สวน คำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ ในวันที่ 17 ส.ค. 2563 โดยหากไม่มีการคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟูกิจการจากเจ้าหนี้หรือผู้ทำแผน ศาลล้มละลายกลางก็จะมีคำสั่งให้บมจ.การบินไทย เข้าสู่การฟื้นฟูกิจการ พร้อมทั้งแต่งตั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนเพื่อกำกับดูแลการฟื้นฟูกิจการให้เป็นไปตามเป้าหมาย ขณะที่ก่อนหน้ามีการพูดถึงสภาพปัญหาภายในบมจ.การบินไทย ซึ่งต้องมีการดำเนินการแก้ไขให้ถูกจุด และตรงกับสภาพวิกฤตการณ์ที่ผ่านมา
สืบเนื่องจากการที่ บมจ.การบินไทย ได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และศาลล้มละลายกลางกำหนดวันนัดไต่สวน คำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ ในวันที่ 17 ส.ค. 2563 โดยหากไม่มีการคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟูกิจการจากเจ้าหนี้หรือผู้ทำแผน ศาลล้มละลายกลางก็จะมีคำสั่งให้บมจ.การบินไทย เข้าสู่การฟื้นฟูกิจการ พร้อมทั้งแต่งตั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนเพื่อกำกับดูแลการฟื้นฟูกิจการให้เป็นไปตามเป้าหมาย ขณะที่ก่อนหน้ามีการพูดถึงสภาพปัญหาภายในบมจ.การบินไทย ซึ่งต้องมีการดำเนินการแก้ไขให้ถูกจุด และตรงกับสภาพวิกฤตการณ์ที่ผ่านมา
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : ดร.สามารถ ฉายภาพรอยแผลบินไทย ลงทุนงบฯมหาศาลแต่ขาดทุนเละ ฟื้นฟูรอบใหม่อย่าได้เกิดซ้ำ )
ขณะที่ก่อนหน้านั้นมีรายงานข่าว คณะกรรมการ บมจ.การบินไทย ชุดใหม่ โดย นายพีระพันธ์ สารีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ถึงสภาพการขาดทุนของ บมจ.การบินไทย พบว่า "รายได้" ของฝ่ายบริหาร Execlutive Vice President : EVP ที่นั่งอยู่ในตำแหน่งก่อนและหลังการบินไทยล้มละลาย "ขนาดลดเงินเดือนแล้ว 50% ยังต้องจ่ายเกินกว่า 200,000 บาท/คน/เดือน ดังนั้นจึงไม่ควรไปลดเงินพนักงานที่มีเงินเดือนน้อยอยู่แล้ว หากจะลดก็ควรจะคงไว้ไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท/คน/เดือน เพื่อให้พวกเขาดำรงชีพอยู่ได้ " โดยคณะผู้บริหารที่ถูกกล่าวอ้างถึง ประกอบด้วย
1.รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝายการพานิชย์ (DN) "นายวิวัฒน์ ปิยะวิโรจน์ " ลาออกจากการบินไทยเพื่อลงสมัคร DN เมื่อช่วงปี 2561 จากนั้นก็เซนต์สัญญาจ้างเข้ามาใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นมา ในช่วงเวลา 18 เดือน รับค่าจ้างไปแล้วกว่า 12 ล้านบาท
2.รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (DB) "นางสุวิมล บัวเลิศ" ลาออกจากการเป็นพนักงานการบินไทย แล้วไปตั้ง บริษัท วิงสแปน จำกัด จากนั้นกลับเข้ามาเซนต์สัญญาจ้างเป็น DB และประธานวิงสแปน ตั้งแต่ตุลาคม 2561 เป็นต้นมา ในช่วง 1 ปีครึ่ง หรือ 18 เดือน นี้ รับค่าจ้างไปแล้วกว่า 12 ล้านบาท
3.รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการเงินและการบัญชี (DE) เป็นบุคคลภายนอกมาจากพนักงานอาวุโสธนาคารกรุงเทพ "นายณัฐพงค์ สมิตอำไพพิศาล" เซนต์สัญจ้าง ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 จนถึงเดือนมีนาคม 2563 รวม 13 เดือน รับเงินเดือนค่าจ้างไปแล้วเกือบ 10 ล้าน
โดยแต่ละคนได้รับเงินคนละ 650,000-700,000 บาท/เดือน นอกจากนี้ยังมีเงินสวัสดิการเฉพาะ ค่ารถและน้ำมันรถเพียงรายการเดียว อีกคนละ 75,000 บาท/เดือน
ล่าสุด ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรองผู้ว่าฯกทม. ได้โพสต์ถึงประเด็นดังกล่าว ในหัวข้อ "โอ้โห! ค่าน้ำมันรถบิ๊กบินไทย 75,000 บาท/เดือน" ระบุรายละเอียด ว่า การบินไทยใจป้ำ จัดหนัก แถมค่าน้ำมันรถให้ผู้บริหารระดับสูง 75,000 บาท/เดือน ออนท็อปเงินเดือน 700,000 บาท การให้ค่าน้ำมันรถรวมเป็นแพ็กเกจค่าจ้าง ถือเป็นเงื่อนไขการจ้างที่ทำกันได้ แต่ต้องมีความเหมาะสมและเป็นธรรมกับพนักงานทั้งหมดในองค์กร
การบินไทยได้จ่ายค่าเดินทาง (Transportation Allowance) หรือที่เรียกกันว่าค่าน้ำมันรถให้แก่พนักงานตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไปที่จำเป็นต้องออกไปติดต่องานภายนอก ดังนี้
ระดับ 8 หรือผู้จัดการแผนก เงินเดือนสูงสุด 83,000 บาทได้รับค่าน้ำมันรถ 2,915 บาท/เดือน
ระดับ 9 หรือผู้จัดการกอง เงินเดือนสูงสุด 108,000 บาท ได้รับค่าน้ำมันรถ 3,200 บาท/เดือน
ระดับ 10 หรือผู้อำนวยการ เงินเดือนสูงสุด 150,000 บาท ได้รับค่าน้ำมันรถ 6,900 บาท/เดือน
ระดับ 11 หรือผู้อำนวยการใหญ่ (VP) เงินเดือนสูงสุด 240,000 บาท ได้รับค่าน้ำมันรถ 70,000 บาท/เดือน
ระดับ 12 หรือผู้ช่วยรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (SVP) ได้รับเงินเดือนและสิทธิประโยชน์เท่ากับ VP
ระดับ 13 หรือรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (EVP) เงินเดือน 650,000-700,000 บาท ได้รับค่าน้ำมันรถ 75,000 บาท/เดือน
จะเห็นว่าค่าน้ำมันรถของพนักงานระดับ 8-10 มีความเหมาะสม ไม่สูง แต่ค่าน้ำมันรถของพนักงานระดับ 11-13 นั้นสูงมาก โดยการบินไทยอ้างว่าพนักงานระดับนี้เป็นผู้บริหารระดับสูงที่ต้องมีรถประจำตำแหน่งพร้อมคนขับ แต่มีข้อโต้แย้งจากพนักงานที่ดำรงตำแหน่งในระดับดังกล่าวว่าตัวเองมีรถอยู่แล้ว ขอให้เปลี่ยนเป็นค่าน้ำมันและค่าจ้างคนขับแทน
การจ่ายค่าน้ำมันรถให้พนักงานระดับ 13 หรือรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (EVP) เป็นเงิน 75,000 บาท/เดือน เมื่อรวมกับเงินเดือนประมาณ 650,000-700,000 บาท และเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 9% ของเงินเดือนหรือคิดเป็น 58,500-63,000 บาท EVP จะมีรายได้รวมประมาณ 783,500-838,000 บาท/เดือน ซึ่งถือว่าสูงมาก จึงมีข้อท้วงติงจากพนักงานอื่นดังนี้
1. ในความเป็นจริง EVP ไม่ได้นำเงินค่าน้ำมันรถที่การบินไทยจ่ายให้ไปใช้ตามวัตถุประสงค์ ดังจะเห็นได้จาก เมื่อจะเดินทางไปติดต่องานภายนอกก็ยังคงเบิกรถและคนขับจากส่วนกลางของการบินไทยไปใช้เป็นประจำ
2. EVP เป็นพนักงานที่มีสัญญาจ้างเช่นเดียวกับกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD) แต่ DD ซึ่งได้รับเงินเดือนประมาณ 800,000 บาท เหมารวมทุกอย่าง ดังนั้น EVP ก็ควรได้รับเฉพาะเงินเดือนประมาณ 650,000-700,000 บาท เหมารวมทุกอย่างเช่นเดียวกัน ไม่ควรจะได้รับค่าน้ำมันรถและเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มเติมอีกต่างหาก
การบินไทยกำลังเดินเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการในเร็ววันนี้ หากไม่ปิดรูรั่วการใช้เงิน ระวังจะก้าวลึกเกินกว่าการฟื้นฟูกิจการ นั่นคือล้มละลาย! ซึ่งผมไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น...