๗ สิงหาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ "พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์" พระบิดาแห่งกฎหมายไทย นักกฎหมายยกย่องเป็น "วันรพี" เพื่อรำลึกถึงพระเกียรติคุณ!!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

๗ สิงหาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ \"พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์\" พระบิดาแห่งกฎหมายไทย นักกฎหมายยกย่องเป็น \"วันรพี\" เพื่อรำลึกถึงพระเกียรติคุณ!!

                เนื่องในวันที่ ๗ สิงหาคม เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ทรงเป็นผู้วางรากฐานด้านกฎหมายในเมืองไทย และนอกจากนี้นักกฎหมายได้ถือเอาวันสิ้นพระชนม์ของ "พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์" คือวันที่ ๗ สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันรพีเพื่อเป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ที่มีต่อวงการกฎหมายไทย โดยจะมีการจัดกิจกรรมวันรพีที่อนุสาวรีย์พระรูป พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒน์ศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หน้าสำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีการจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๗

๗ สิงหาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ \"พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์\" พระบิดาแห่งกฎหมายไทย นักกฎหมายยกย่องเป็น \"วันรพี\" เพื่อรำลึกถึงพระเกียรติคุณ!!

                พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ทรงเป็นต้นราชสกุลรพีพัฒน์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๑๔ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และองค์ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาตลับ เกตุทัต โดยมีพระเชษฐภคินีคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา ทรงเป็นผู้วางรากฐานด้านกฎหมายในเมืองไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย"

              เมื่อเจริญวัยขึ้นพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าศึกษาวิชาภาษาไทยเบื้องต้นกับพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) โดยใช้เก๋งกรงนกภายในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ทรงพระอักษร เมื่อทรงศึกษาวิชาภาษาไทยจบแล้ว ก็ทรงเข้าศึกษาต่อที่สำนักของบาบู รามซามี โดยใช้โรงเรียนทหารมหาดเล็กเป็นที่ถวายพระอักษรจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๖ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เข้าศึกษาในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

 

๗ สิงหาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ \"พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์\" พระบิดาแห่งกฎหมายไทย นักกฎหมายยกย่องเป็น \"วันรพี\" เพื่อรำลึกถึงพระเกียรติคุณ!!

              นอกจากนี้ในการส่งพระราชโอรสไปศึกษายังต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็นพระราชโอรสกลุ่มแรกที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ พร้อมกัน ๔ พระองค์ คือ

พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ (กรมพระจันทบุรีนฤนาถ)
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ (กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์)
พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม (กรมหลวงปราจิณกิติบดี)
พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช (กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช)

              แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ทรงแยกกันเรียน โดยพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พระองค์โปรดเกล้าฯ เสด็จไปศึกษาที่กรุงเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ โดยให้หมอเกาวัน เป็นผู้จัดการศึกษา ในการนี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น จึงมีเพียงครูชาวต่างชาติมาถวายพระอักษรที่ตำหนักครึ่งวัน และหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ถวายการสอนภาษาไทยอีกครึ่งวัน

              พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงศึกษาวิชาภาษาละติน วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาภาษาฝรั่งเศสอยู่ ๒ ปี จึงเสด็จนิวัติประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๑ จึงเสด็จไปศึกษาต่อในชั้นมัธยมอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายต่อที่วิทยาลัยไครส์ตเชิช ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงสามารถสอบไล่ได้ตามหลักสูตรชั้นปริญญาเกียรตินิยม จากนั้นจึงเสด็จกลับประเทศไทย ด้วยพระอัจฉริยภาพที่มีมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จึงได้รับพระสมญาว่า "เฉลียวฉลาดรพี"

 

๗ สิงหาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ \"พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์\" พระบิดาแห่งกฎหมายไทย นักกฎหมายยกย่องเป็น \"วันรพี\" เพื่อรำลึกถึงพระเกียรติคุณ!!

             ต่อมา พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเริ่มรับราชการในสำนักราชเลขาธิการ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี ทรงประกอบพระกรณียกิจ อันเป็นคุณประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อวงการกฎหมายไทยและศาลสถิตยุติธรรม ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และสภานายกในกองข้าหลวงพิเศษ จัดการปรับปรุงศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ จัดตั้งศาลมณฑล และศาลจังหวัด ทั่วประเทศ, ทรงเป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย ประมวลขึ้นเป็นกฎหมายอาญาฉบับ ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) , ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายเพื่อเปิดการสอนกฎหมาย ทรงรวบรวมและแต่งตำราคำอธิบายกฎหมายลักษณะต่าง ๆ มากมาย และทรงสอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง, ทรงเป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกาซึ่งเทียบได้กับศาลฎีกาในปัจจุบัน, เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ ทรงตั้งกองพิมพ์ลายมือขึ้น สำหรับตรวจลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหาในคดีอาญา ตำแหน่งสุดท้ายทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ทรงปรับปรุงกิจการกรมทะเบียนที่ดิน

๗ สิงหาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ \"พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์\" พระบิดาแห่งกฎหมายไทย นักกฎหมายยกย่องเป็น \"วันรพี\" เพื่อรำลึกถึงพระเกียรติคุณ!!

พระกรณียกิจด้านกฎหมาย

               ปี ๒๔๔๐ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เป็นประธานพร้อมด้วยกรรมการไทยและฝรั่ง ช่วยกันตรวจชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการเก่าใหม่และปรึกษาลักษณะการที่จะจัดระเบียบแล้วเรียบเรียงกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อเป็นบรรทัดฐาน และในปีเดียวกันนั้นก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และคงอยู่ในตำแหน่งสภานายกพิเศษจัดการศาลตามเดิมด้วย รัชกาลที่ ๕ ก็ทรงตัดสินพระทัยปฏิรูประบบกฎหมายไทยให้เป็นไปตามแบบประเทศภาคพื้นยุโรป คือ ใช้ระบบ "ประมวลธรรม" แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังนำแนวคิดหลักกฎหมายอังกฤษบางเรื่องมาใช้ด้วย

              ประมวลกฎหมายของไทยฉบับแรก คือ ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ใช้เวลาร่างทั้งสิ้น ๑๑ ปี โดยสำเร็จลงในปี ๒๔๕๑ พระองค์เจ้ารพีฯ ท่านทรงช่วยแปลต้นร่างที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษมาเป็นภาษาไทย ส่วนประมวลกฎหมายฉบับต่อๆมา ไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพต่างๆ พระองค์ท่านก็ทรงมีบทบาทสำคัญในการยกร่างด้วย ในปีเดียวกันนี้ พระองค์เจ้ารพีฯ มีพระดำริว่า "การที่จะยังราชการศาลยุติธรรมให้เป็นไปด้วยดีนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีผู้รู้กฎหมายมากขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยการเปิดให้มีการสอนกฎหมายขึ้นเป็นที่แพร่หลาย" จึงทรงสถาปนาโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้น สังกัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อให้โอกาสแก่ประชาชนทั้งหลายมีโอกาสรับการศึกษากฎหมาย และพระองค์ทรงแนะนำสั่งสอนด้วยพระองค์เองด้วย ในสมัยพระองค์ การปฏิรูปงานศาล เป็นสิ่งจำเป็นต่อสยามประเทศเป็นอย่างมาก มูลเหตุเนื่องจากศาลในตอนนั้นกระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ อันส่งผลให้การพิจารณาอรรถคดีเป็นไปด้วยความล่าช้ามาก อำนาจตุลาการขาดอิสระถูกแทรกแซงโดยอำนาจบริหาร รวมทั้งมีการทุจริตเนื่องจากขาดระบบตรวจสอบ การตัดสินคดี ตลอดจนเกิดวิกฤตการณ์เรื่องเอกราชทางการศาล ที่ต่างชาติไม่ยอมขึ้นศาลไทย แต่กลับตั้งศาลกงสุลพิจารณาตัดสินคดีคนในชาติของตนเอง

             ดังนั้น เพื่อทำให้การยุติธรรมสามารถทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ และเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ พระองค์จึงทรงพัฒนาระบบงานยุติธรรมทั้งระบบ และมีการจัดทำประมวลกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรดังกล่าวมาแล้ว เพื่อให้ศาลสามารถตัดสินคดีได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและมีฝ่ายธุรการคอยให้ความสะดวก และทรงได้วางนโยบายให้ศาลสามารถตัดสินคดีโดยปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับอารยประเทศ

๗ สิงหาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ \"พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์\" พระบิดาแห่งกฎหมายไทย นักกฎหมายยกย่องเป็น \"วันรพี\" เพื่อรำลึกถึงพระเกียรติคุณ!!

              ในเรื่องนี้ ทรงเคยรับสั่งไว้ว่า "อำนาจการพิจารณาพิพากษาคดีอยู่ใต้อุ้งมือฝ่ายธุรการนั้นใช้ไม่ได้ มีแต่จะเกิดภัยขึ้นเสมอ ดังที่รัฐบาลเองก็ได้ประกาศแสดงความอันนั้นหลายครั้ง..." ซึ่งการที่ศาลสามารถตัดสินคดีความได้อย่างอิสระนั้น ถือได้ว่าเป็นหลักประกันความยุติธรรมในศาลอันเป็นที่พึ่งของประชาชน และนำไปสู่การยอมรับของประเทศอื่นๆ ความประสงค์ของพระองค์เกี่ยวกับเรื่องนี้ กว่าจะแยกศาลออกจากกระทรวงยุติธรรมฝ่ายบริหารได้ ก็ต้องใช้เวลาประมาณ ๑๐๐ ปีเลยทีเดียว ซึ่งศาลเพิ่งแยกเป็นอิสระจากกระทรวงยุติธรรมเมื่อประมาณปี ๒๕๔๓ นี้เอง พระองค์เจ้ารพีฯ ทรงเอาพระทัยใส่คุณสมบัติของบุคคลผู้ที่จะมาเป็นผู้พิพากษาเป็นพิเศษ พระองค์ทรงยึดมั่นว่าความซื่อสัตย์สุจริตเป็นอุดมคติสำคัญยิ่งกว่ากิจส่วนตัวใดๆ พระองค์เจ้ารพีฯท่านก็ได้ทรงตักเตือนผู้พิพากษาเสมอมาว่า "อย่ากินสินบน"

            ทั้งนี้นักกฎหมายได้ถือเอาวันสิ้นพระชนม์ของ "พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์" คือวันที่ ๗ สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันรพีเพื่อเป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ที่มีต่อวงการกฎหมายไทย

            ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ประชวรด้วยพระโรคที่ต่อมลูกหมากและมีการแทรกซ้อนต่อไปยังพระวักกะ (ไต) จึงทรงขอลาพักราชการในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ เพื่อรักษาพระองค์แต่อาการยังไม่ทุเลา ต่อมาจึงเสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่พระโรคที่พระวักกะก็ยังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเกินที่แพทย์จะเยียวยาได้ จนกระทั่งถึงวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ เวลาประมาณ ๒๑ นาฬิกา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ สิ้นพระชนม์ สิริพระชันษา ๔๕ ปี ๙ เดือน ๑๗ วัน

            พระศพของพระองค์ได้รับการถวายพระเพลิงที่กรุงปารีส หลังจากนั้น หม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์ เสด็จไปรับและอัญเชิญพระอัฐของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์มาถึงประเทศไทยในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ในคราวนั้นเจ้าเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)หวนระลึกถึงรับสั่งของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ได้ตรัสไว้ก่อนที่เสด็จไปรักษาพระองค์ที่ประเทศฝรั่งเศสว่า

    "บางทีครูจะไม่ได้เห็นฉันอีก และไม่ได้เห็นอีกจริงๆ"

 

 

 

ที่มาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์_กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

              http://www.coj.go.th

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thailand Web Stat