- 04 ม.ค. 2562
เหตุการณ์จากอิทธิพลของ พายุโซนร้อนปลาบึก บริเวณเเท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเลจีนใต้
เมื่อเวลา 22.00 น. ของวันที่3 ม.ค. 62 พายุโซนร้อน ปาบึก (PABUK) ได้เคลื่อนตัวลงสู่อ่าวไทยตอนล่างแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 450 กิโลเมตร ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช หรือที่ละติจูด 6.6 องศาเหนือ ลองจิจูด 103.8 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยอย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในช่วงค่ำของวันพรุ่งนี้ (4 ม.ค. 62) โดยมีผลกระทบต่อภาคใต้ในช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2562 ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ในช่วงวันที่ 4-5 มกราคม 2562 ภาคใต้จะมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง และจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 3-5 เมตร ส่วนทะเลอันดามัน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร
จากสถานการณ์ของพายุโซนร้อนปาบึก ที่มีระยะห่างจากตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ราวๆ 450กิโลเมตร คาดว่าจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง ในค่ำวันนี้ 4 มกราคม 2561 นั้น ได้มีรายงานจากผู้ใช้เฟซบุ๊ค..Praphakorn Kanchana... ซึ่งทำงานอยู่ที่เเท่นผลิตน้ำมันในอ่าวไทย ใกล้ทะเลจีนใต้ ( Cakerawala Platform - Carigali Hess) ซึ่งเป็นอาณาเขตน่านน้ำของประเทศมาเลเซีย
2200Hrs (Malaysia’s Time)
ลม50+ Knots (East to West)
ความสูงคลื่น จากในVDOนี่น่าจะเรียกว่าสูงเกิน10+เมตรได้แล้วล่ะ
และจากตอนนี้ก็อีก1ชม.ตามเวลาในForecastที่ตาพายุจะอยู่ใกล้ตัวแท่นที่สุด
ถึงตอนนั้นจะอัพเดตอีกทีนะครับ
.
.
Update เวลา2350Hrs (Malaysia’s time)
ความเร็วลมตอนนี้เหลือไม่ถึง10Knots แล้ว เดาว่าตาพายุของน้องบึกน่าจะอยู่ไม่ไกลแล้ว
คลื่นก็เบาลงกว่าคลิปก่อน นิ๊สสสสนุง แต่ยังทำแท่นกันโยกเยกอยู่
วันนี้อัพเดตจากCakerawala เท่านี้นะครับ ขอให้ชาวใต้เตรียมพร้อมนะครับ ซู่ววๆ
เส้นทางพายุที่ได้รับรายงานมาล่าสุด แต่นั่นก็หลายชั่วโมงแล้ว อาจจะไม่อัพเดตที่สุดก็เป็นได้แต่ยังไงก็คงไม่ต่างจากนี้มากในช่วง 5-6ชั่วโมงจากนี้
เพราะยิ่งใกล้เวลาจริงความคลาดเคลื่อนใน Track uncertainty ก็จะยิ่งแคบลง
ไปจิ้มกันเอาเองนะว่าตรงกับบ้านใครบ้าง :P
ปล. Z คือ Zulu Time มีค่าเท่ากับเวลาในระบบ GMT หรือ UTC นะครัช
ปล2. Track uncertainty คือ ส่วนที่เป็นเหมือนลูกโป่งสีชมพูอ่อนๆล้อมเส้นทางพายุ(เส้นสีน้ำเงิน)อยู่ แสดงถึงความเป็นไปได้ที่ตัวศูนย์กลางพายุจะไปอยู่ในตำแหน่งใดตำแหน่งนึงในลูกโป่งนี้ สังเกตได้ว่ายิ่งเวลาห่างไปในอนาคตมากเท่าไหร่ ลูกโป่งด้านไกลก็จะยิ่งกว้างขึ้น
.
.
ขอบคุณ
Praphakorn Kanchana