โควิดระลอกนี้แรง คาดการณ์วันโอไมครอนจบ แต่..ต้องเตรียมตัวรอสายพันธุ์ใหม่

ไม่มีทางสูญพันธุ์ โควิดระลอกนี้แรง ไม่ถึงเดือน ดาราติดแล้ว 40 กว่าคน หัวหน้าศูนย์จีโนม รพ.รามาฯ คาดการณ์โอไมครอนจบ แต่...ต้องเตรียมตัวรอสายพันธุ์ใหม่

โควิดระลอกนี้แรง คาดการณ์วันโอไมครอนจบ แต่..ต้องเตรียมตัวรอสายพันธุ์ใหม่ กลับมาคราวเรียกได้ว่าสนั่นวงการบันเทิงเลยทีเดียว เนื่องจาก ดาราติดเชื้อโควิด แค่เดือนกุมภาพันธ์ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 มีดาราติดเชื้อไปแล้วทั้งหมด 41 คน จึงมีความสงสัยที่ว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ "โอไมครอน" หนึ่งในสายพันธ์ของโควิดทำให้ประชาชนติดเชื้อได้ง่าย ความรุนแรงจะเป็นอย่างไร และเชื้อโควิด จะมีโอกาสกลายพันธุ์หรือไม่

โควิดระลอกนี้แรง คาดการณ์วันโอไมครอนจบ แต่...ต้องเตรียมตัวรอสายพันธุ์ใหม่

โดยล่าสุด  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิพย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ได้ออกมาอธิบาย ถึงการระบาดครั้งนี้ผ่านรายการโหนกระแส ที่มี หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย เป็นผู้ดำเนินรายการ


สายพันธุ์ที่เกิดคือโอมิครอน มันติดเร็วขนาดนั้นเลยเหรอ ?
ดร.วสันต์ ระบุว่า ถ้าดูโอมิครอน WHO ขอร้องให้บรรดาห้องแล็บช่วยดู จะมีพี่ ๆ น้อง ๆ เขา โอมิครอนแตกเป็นสายพันธุ์ย่อย คือ BA.1 และ BA1.1 หลังจากนั้นเป็น BA.2 และ BA.3 นี่คือโอมิครอน

- ทำไมเยอะ ?
ดร.วสันต์ ตอบคำถามนี้ว่า ถ้าเราดูเดลตา เดลตามีสายพันธุ์ย่อยเยอะกว่านี้ เป็น AY.1-80 เพราะว่าโอไมครอน ไม่เคยหยุดการกลายพันธุ์ มันจะกลายไปเรื่อยๆ

ไม่มีทางสูญพันธุ์ โควิดระลอกนี้แรง คาดการณ์วันโอไมครอนจบ แต่...ต้องเตรียมตัวรอสายพันธุ์ใหม่

- มี 14 คำถามที่ต้องถามอาจารย์ คำถามแรก โอมิครอนจะระบาดในไทยอีกนานแค่ไหน ?
ดร.วสันต์ กล่าวถึงประเด็นนี้งว่า จากข้อมูลทั่วโลก หลายประเทศ โดยเฉลี่ยไม่เกิน 2 เดือน คือ 60 วัน ทุกประเทศทั่วโลกไม่เคยเกิน 2 เดือน

- ของเรา ก.พ. มี.ค. น่าจะจบ แล้วจะเปลี่ยนสายพันธุ์อีกมั้ย ?
ดร.วสันต์ : เปลี่ยนครับ WHO บอกว่าโอมิครอนไม่ใช่สายพันธุ์สุดท้ายอย่างแน่นอน

- ต้องไปอีกกี่สายพันธุ์ ?
ดร.วสันต์ บอกว่า WHO บอกว่าคงต้องอยู่ไปกับไวรัสโคโรน่า 2019 ไปอีกนาน แต่ WHO บอกชัดเจนว่าปีนี้การระบาดใหญ่ ทีแพนิกไปทั่วโลกจะยุติลง ประมาณกลางปีนี้ เปลี่ยนจากโรคอุบัติใหม่ที่รุนแรง เป็นโรคที่ควบคุมได้ แต่ยังไม่ใช่โรคประจำถิ่น 


ไวรัสประจำถิ่นปีนี้จะลดระดับลงจนเราควบคุมได้แต่เราไม่แน่ใจว่าจะประจำถิ่นเมื่อไหร่ เพราะไวรัสประจำถิ่นมันมีอีกปัจจัยนึงคือเราต้องสามารถคาดคะเนได้ว่าเขาจะมาเมื่อไหร่ ไปเมื่อไหร่ ตอนนี้เรายังเดาใจเขาไม่ถูก

ไม่มีทางสูญพันธุ์ โควิดระลอกนี้แรง คาดการณ์วันโอไมครอนจบ แต่...ต้องเตรียมตัวรอสายพันธุ์ใหม่

- ประเมินได้มั้ยว่าจะสูญพันธุ์เมื่อไหร่ ?
ดร.วสันต์ อธิบายให้เข้าใจว่า ประเมินได้ว่ามันจะไม่สูญพันธุ์ ไวรัสมีหลายประเภท ถ้าไวรัสเกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ จากประวัติศาสตร์ในอดีตถึงปัจจุบัน เช่นไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือไข้หวัดธรรมดา ไม่เคยมีสายพันธุ์ไหนหายไปเลย มีไวรัสบางประเภทที่หาย 


เช่นไข้ทรพิษ หรือโปลิโอ อันนี้เราควบคุมและหายได้ แต่ไวรัสที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ ยังไม่มีตัวไหนหายไปเลยจากระบบ เพียงแต่ว่าเมื่อระบาดแล้ว อาการทีแรกรุนแรง มีคนเสียชีวิต และจะค่อย ๆ บรรเทาเบาบางลง จนเราอยู่ร่วมกับเขาได้

ไม่มีทางสูญพันธุ์ โควิดระลอกนี้แรง คาดการณ์วันโอไมครอนจบ แต่...ต้องเตรียมตัวรอสายพันธุ์ใหม่

- ต่อไปก็จะเหมือนไข้หวัดแล้วเราก็กินยาและหายไป ?
 ดร.วสันต์ กล่าวว่า ใช่ครับ เป็นอย่างนี้ ฉะนั้นวันนี้สมมติมีใครติดกันมากมาย สำหรับผมถือว่าเป็นโอกาสดีที่มาติดกันช่วงนี้ เพราะโอกาสที่จะเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตโดยอัตราจากต่างประเทศ 0.9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดลตา เมื่อก่อนถึง 5.4 เปอร์เซ็นต์


- โอมิครอนที่บอกว่าไม่รุนแรง ทำไมยังมีคนเสียชีวิตอยู่ ?
ดร.วสันต์ บอกเล่าว่า เราต้องเข้าใจว่าโรคไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นกลุ่มอาการ ภาษาหมอคือสเปกทรัมป์ ตั้งแต่ไม่มีอาการเลย จนมีอาการรุนแรง ถ้าเดลตาจะหนักไปทางรุนแรง ถ้าโอมิครอน ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ หรือมีอาการนิดหน่อยคล้ายไข้หวัด แต่มี 0.9 เปอร์เซ็นต์ที่เสียชีวิต ฉะนั้นจะมีอาการรุนแรงน้อย แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีเลย

- คนมีอาการรุนแรง อาจเป็นคนไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือมีโรคประจำตัว หรือคนแก่ ?
 ดร.วสันต์ ระบุ ถูกต้องครับ เป็นอย่างนั้น

ไม่มีทางสูญพันธุ์ โควิดระลอกนี้แรง คาดการณ์วันโอไมครอนจบ แต่...ต้องเตรียมตัวรอสายพันธุ์ใหม่
- มีจำกัดอายุมั้ย ?
ดร.วสันต์ อธิบายเสริมว่า 608 เป็นลักษณะซึ่งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเขาระบุไว้ เป็นโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เบาหวาน ต่างๆ นานา แต่เหล่านี้พยายามเลย รีบไปฉีดวัคซีนไว้ก่อนเลย

- เขาลือกันว่า สุดท้ายต้องติดทุกคนจริงมั้ย ?
ดร.วสันต์ ตอบประเด็นนี้ว่า อันนี้อาจคลาดเคลื่อนนิดนึง ที่ลือกันว่าทุกคนจะติดโอมิครอน ในประเทศไทย ไม่น่าจะใช่ เพราะโอมิครอนจะมาแล้วก็ไปภายใน 2 เดือน ไม่ทันติดคนไทยทั้งประเทศ แต่ถ้าเปลี่ยนคำพูดใหม่ว่าพวกเรา คนทั้งโลก ท้ายที่สุดในช่วงชีวิตของเราจะมีโอกาสติดไวรัสโคโรน่า 2019 ไม่ว่าสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งในปัจจุบันหรืออนาคต ก็จะใกล้เคียงกว่า

 

- ปัจจัยการแพร่กระจาย ที่ติดกันเยอะๆ ส่วนใหญ่น่าจะมาจากตรงจุดไหน ?
ดร.วสันต์ อธิบายเพิ่มว่า ถ้าพูดถึงสิ่งแวดล้อมก่อน ในกรณีของโอมิครอน ก็จะติดต่อกันได้ โดยผ่านทางเดินหายใจ อีกอันนึงคือสิ่งแวดล้อมเองโอมิครอนจะทนทานมาก ถ้าติดอยู่ตรงมือ อยู่ได้วันนึง ถ้าติดบนพื้นผิว 8 วันนะครับ นั่นหมายถึงว่า ถ้าบนผิวหนังตอนนี้โอมิครอนยาวไปแล้วเกือบวันนะครับ

ไม่มีทางสูญพันธุ์ โควิดระลอกนี้แรง คาดการณ์วันโอไมครอนจบ แต่...ต้องเตรียมตัวรอสายพันธุ์ใหม่

- ถ้าเดลตา อัลฟาอยู่บนผิวหนัง 4 ชม. แล้วจะตายไปถ้าเข้าเซลล์เราไม่ได้ อยู่บนพื้น ติดตามพื้นพวกลูกบิดกี่วันถ้าเป็นเดลตา ?
ดร.วสันต์ ตอบว่า เดลตาจะน้อยกว่า แต่ถ้าของโอมิครอนคือ 8 วัน

- ถ้ามีคนไอแล้วเอามือไปจับ โอมิครอนติดมือ แล้วไปจับประตูห้องน้ำ เชื้อติดอยู่ตรงนั้น 8 วัน ?
ดร.วสันต์ ชี้แจงว่า ครับ แต่ต้องเป็นพวกห้องส่ง ไม่มีแสงแดด พวกอุณหภูมิอย่างนี้จะอยู่ ถ้าเจอแสงแดดไม่รอด แสงยูวีทำลายทุกสิ่งอย่าง อยู่ที่โล่งๆ ไม่มีปัญหา 

แต่ถ้าอยู่ห้องส่งเย็นๆ ห้องน้ำก็อยู่นานเช่นเดียวกัน ฉะนั้นแปลกมาก พอเขากลายพันธุ์ไป เข้าใจว่าอาจทำให้โครงสร้างไวรัสเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร ทำให้เขาทนทานต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้คนสงสัยว่าทำไมติดเชื้อกันง่าย ติดเชื้อกันบ่อย ติดกันเยอะ ส่วนหนึ่งมาจากสิ่งแวดล้อมด้วย

ไม่มีทางสูญพันธุ์ โควิดระลอกนี้แรง คาดการณ์วันโอไมครอนจบ แต่...ต้องเตรียมตัวรอสายพันธุ์ใหม่


- มันติดเร็วมากขึ้นกี่เท่าถ้าเทียบกับอัลฟา หรือเดลตา ?
ดร.วสันต์ ตอบทันทีว่า ถ้าเป็น BA1 กับ BA2 ประมาณ 1.5 เท่า แต่ของเดลตาจำไม่ได้ว่าเท่าไหร่ ถ้ามองดูกรณี BA.2 การแพร่ ก็เทียบกับหัดเยอรมัน ประมาณ 18 หมายถึง 1 คน แพร่ไป 18 คน ขณที่เดลตาการแพร่อยู่ที่ 6.5 – 8 คน

 

- ตั้งแต่ 1 ก.พ. จนถึงตอนนี้ ติดทั้งหมด 41 คน 1 ก.พ. มิว ศุภศิษฐ์, 7 ก.พ. เบลล่า ราณี , 11 ก.พ. บอม ธนิน , ไวท์ ณวัชร์ , ม่อน ธนัชชัย, พลอยชมพู,  ซิง หฤษฎ์, 14 ก.พ. บอย ปกรณ์ , มะปราง อลิสา, 15 ก.พ. ตู่ จารุศิริ, 20 ก.พ. จอนนี่ แอนโฟเน่, กิต Three Man Down , 21 ก.พ. หน่อย บุษกร, เต-โอม-ตูน Three man down , ฟอส จิรัชพงศ์ , 22 ก.พ. เจมส์ จิรายุ , แอน ทองประสม, เจ เจตริน , ส้ม มารี, อิน บูโดกัน ,น้ำฟ้า ธัญญภัสร์, ณัฐ วงเคลียร์, ณัฐ ณัฐสิชณ์, ติวเตอร์ กรภัทร, ซี พฤกษ์, นุนิว ชวรินทร์, จ๊อบ รัชพล, จิมมี่ กานต์, แม็ก กรธิสส์, ยิม ปริญญากรณ์, ทอมมี่ สิทธิโชค, เจมส์ ศุภมงคล, 23 ก.พ. เกรท วรินทร , อาเล็ก ธีรเดช, ป๊อบ ฐากูร ,ว่าน วันวาน , โปเต้ วง MEAN, มิ้นท์ ณัฐวรา และหยาดทิพย์ ราชปาล ซึ่งหยาดทิพย์ ติด 2 ครั้งแล้ว เยอะมากนะ ?

ไม่มีทางสูญพันธุ์ โควิดระลอกนี้แรง คาดการณ์วันโอไมครอนจบ แต่...ต้องเตรียมตัวรอสายพันธุ์ใหม่
ดร.วสันต์ พูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่า ผมไม่ประหลาดใจ ต้องถามว่าทั้งหมดที่อ่านมาฉีดวัคซีนแล้วใช่มั้ย คำถามคือใช่ ทำไมถึงเกิดอย่างนั้น คือวัคซีนที่เราใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน เราสร้างขึ้นมาอาศัยรูปลักษณ์อู่ฮั่นเป็นหลัก ถ้าเราดูโอมิครอน โดยเฉพาะ BA.2 ต่างจากอู่ฮั่น 100 ตำแหน่ง

 

ฉะนั้นประสิทธิภาพของวัคซีนจะด้อยลง แล้วมีลักษณะการติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน เรียกว่าวัคซีนเบรกทู โอมิครอน 55.9 เปอร์เซ็นต์ คือ 100 นึงติดเชื้อได้ครึ่งนึง ฉะนั้นหลายคนเลยบอกว่าทำไมมีการติดเชื้อใหม่ เมื่อเทียบกับเดลตา 24 เปอร์เซ็นต์

ไม่มีทางสูญพันธุ์ โควิดระลอกนี้แรง คาดการณ์วันโอไมครอนจบ แต่...ต้องเตรียมตัวรอสายพันธุ์ใหม่

ข้อมูลจาก โหนกระแส