- 11 ก.ค. 2565
"อ.เจษฎ์" ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ระบุ "ตรวจ ATK โควิดสายพันธุ์โอมิครอน ควรสว๊อบที่ต่อมทอนซิล ในคอ ก่อนจะไปแยงที่จมูกนะครับ จะได้ผลที่แม่นยำขึ้นเยอะ "
"อ.เจษฎ์" ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ระบุข้อความว่า
"ตรวจ ATK โควิดสายพันธุ์โอมิครอน ควรสว๊อบที่ต่อมทอนซิล ในคอ ก่อนจะไปแยงที่จมูกนะครับ จะได้ผลที่แม่นยำขึ้นเยอะ "
วิธีเก็บตัวอย่างเชื้อ "ทั้งจากคอและจมูก" เพื่อตรวจโควิดแบบนี้ ผมเคยแนะนำมาตั้งแต่ที่ไทยเราเริ่มมีชุด ATK ตรวจแล้วครับ และก็ขอแนะนำอีกครั้ง โดยเฉพาะในสถานการณ์ระบาดของเชื้อโควิด สายพันธุ์โอมิครอน (ซึ่งแพร่กระจายเชื้อในระบบทางเดินหายใจช่วงบน ได้ดี)
อย่างกรณีในภาพนี้ ก็เป็นบ้านของแฟนเพจคนหนึ่ง ที่สงสัยว่าในบ้านจะติดโควิดกัน แต่สว๊อบจมูกตรวจไม่พบ พอลองทำตามวิธีที่ผมแนะนำ ก็พบว่าติดจริงๆครับ
(คำแนะนำ)
"วิธีการเก็บตัวอย่างเชื้อ ให้ได้ปริมาณเยอะจริง เพื่อลดอาการเกิดผลลบปลอม คือ "เก็บตัวอย่างเชื้อที่ในช่องคอ บริเวณทอนซิล ก่อนที่จะมาเก็บในโพรงจมูก ทั้ง 2 ข้าง" จะได้ผลดีกว่าการเก็บแค่ในโพรงจมูกอย่างเดียวมากครับ
#การเก็บตัวอย่าง
- ให้ใช้ไม้สว็อบ มาป้ายเก็บตามต่อมทอนซิล (อยู่สองข้างของลิ้นไก่) ก่อน
- แล้วเอาอันเดียวกันนั้นมาแหย่เช็ดๆ วนๆ จมูกทั้ง 2 ขัางตาม โดยทำเบาๆ พอ ลึกประมาณ 1 นิ้ว (ไม่ต้องแยงลึกถึงด้านหลังโพรงจมูก ให้เจ็บตัวเปล่าๆ)
- เวลาเก็บตัวอย่างจากช่องปาก ควรงดน้ำ-อาหารก่อนตรวจ 30 นาที และป้ายเช็ดเบาๆ พอ อย่าไปขูดโดนเนื้อเยื่ออ่อน ๆ ในปาก บาดเจ็บได้
- สารคัดหลั่งที่เหนียวไป เช่น ขี้มูก เสลด ไม่ควรเอามาตรวจหาเชื้อ เพราะจะไปขัดขวางการเคลื่อนที่ของน้ำยาในตลับตรวจ
#การอ่านผล
- ถ้าผลออกมาเป็น #บวก ก็มีแนวโน้มสูงมากๆ ว่าคุณได้ติดเชื้อโควิดแล้ว ควรทดสอบซ้ำอีกครั้ง หรือไปตรวจด้วยวิธี PCR ก่อนทำการกักตัวที่บ้าน home isolation ต่อไป
- ถ้าผลออกมาเป็น #ลบ ก็ห้ามประมาทเด็ดขาด เพราะถ้าเราเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง อาจจะต้องตรวจซ้ำภายใน 3-4 วัน เนื่องจากถึงชุดตรวจจะมีความจำเพาะเจาะจงสูงมากในการตรวจเชื้อโควิด แต่ความไวมันต่ำกว่าวิธี pcr มาก
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ thainewsonline