"อ.เจษฎ์" เปิดความจริงเหลือเชื่อ คนขี้หูแห้ง จะเป็นคนที่ ไม่มีกลิ่นรักแร้

"อ.เจษฎ์" ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดข้อมูล "คนขี้หูแห้งเป็นคนไม่มีกลิ่นรักแร้"

"อ.เจษฎ์" ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เปิดข้อมูล จากกรณี "คนขี้หูแห้งเป็นคนไม่มีกลิ่นรักแร้" จริงหรือ ซึ่งคำตอบนั้นคือ จริง 

"คนขี้หูแห้ง มักจะไม่มียีน ABCC11 แบบที่ทำให้มี กลิ่นตัว แรง เช่น คนเกาหลี ครับ

ได้รับคำถามหลังไมค์มาว่า ที่ได้รับแชร์คลิปติ๊กต๊อกมา บอกว่า ". คนขี้หูแห้งเป็นคนไม่มีกลิ่นรักแร้ จริงหรือ" (ดูคลิก) นั้นสรุปว่า จริงหรือไม่จริง !? ... คำตอบที่คงจะเกิดคาดกันก็คือ จริงครับ ! (แต่ไม่ถึงขนาดไม่มีกลิ่นเลยนะ แค่กลิ่นไม่แรง เท่าคนที่ขี้หูเปียก)

คลิปดังกล่าวนั้น เผยแพร่ตั้งแต่ วันที่ 25 พ.ค. 2564 โดย นพ.กิตติไกร ไกรแก้ว (แพทย์เฉพาะทาง โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต) ได้โพสต์คลิปวิดีโอบน TikTok ผ่านบัญชีผู้ใช้ชื่อ “dr.kk_ch9airport” ให้ความรู้ในหัวข้อ “คนขี้หูแห้ง เป็นคนไม่มีกลิ่นรักแร้ จริงหรือ”

"อ.เจษฎ์" เปิดความจริง คนขี้หูแห้ง จะเป็นคนที่ ไม่มีกลิ่นรักแร้

โดยคุณหมอกิตติไกร ได้ยกกรณีของ "คนเกาหลี" ซึ่งเป็นเรื่องจริงที่ส่วนใหญ่นั้นแทบจะไม่มีกลิ่นตัวเลย ถึงขนาดที่แทบจะไม่มีผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย จำหน่ายในประเทศเกาหลีเลย ซึ่งมีผลวิจัยระบุว่า ที่คนเกาหลีไม่มียีนตัวนั้น เพราะมักจะมียีนที่ชื่อว่า ABCC11 โดยยีนตัวนี้จะมี "แบบ" ที่มีความสามารถในการผลิตกลิ่นเหงื่อ หรือกลิ่นใต้รักแร้ ซึ่งมันสัมพันธ์กับการมี "ขี้หูแห้ง" ด้วย โดยที่คนเอเชียมักจะขาดยีนแบบนี้ไปจากพันธุกรรม ขณะที่คนฝั่งยุโรป ฝั่งอังกฤษ กลับมีเพียงแค่ 2% เท่านั้นที่ไม่มียีนแบบนี้ จึงทำให้คนฝรั่งส่วนใหญ่มีกลิ่นตัว และคนเอเชียมักจะไม่ค่อยมีกลิ่นตัว 

ยีน ABCC11 นั้นสร้างโปรตีน ABCC11 (มาจาก ATP-binding cassette transporter sub-family C member 11) หรืออีกชื่อว่าโปรตีน MRP8 (มาจาก Multidrug Resistance-Related Protein ซึ่งเป็นโปรตีนที่ใช้นำส่งโมเลกุลสารต่างๆ ผ่านเมมเบรน (เยื่อหุ้ม) ของเซลล์ จากภายในเซลล์ส่งออกไปภายนอก ยีน ABCC11 นี้ยังมีส่วนในการกำหนดชนิดของขี้หู (cerumen หรือ ear wax) ว่าจะเป็นแบบแห้งหรือแบบเปียก รวมถึงการมีกลิ่นตัว (osmidrosis) ใต้วงแขน ซึ่งเป็นกลิ่นที่สัมพันธ์กับเหงื่อของเราที่หลั่งออกมาจากต่อม อะโปครีน (apocrine) มากเกินไป แถมยังอาจจะเกี่ยวข้องกับความเสี่่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมด้วย (อันนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ว่าการมีขี้หูเปียกนั้น มีส่วนสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งเต้านม จริงหรือไม่)

ยีน ABCC11 นั้นมีอยู่ 2 แบบ หรือ 2 อัลลีล ซึ่งต่างกันเพียงแค่ 1 นิวคลีโอไทด์ (A หรือ อะดีนีน) ในลำดับดีเอ็นเอของยีน (เรียกว่า single nucleotide polymorphism หรือ SNP) ณ ตำแหน่งจีโนไทป์ rs17822931 นั้นคือมียีนเด่นเป็นจีโนไทป์ GG หรือ GA และทำมีลักษณะขี้หูแบบเปียก (เหนียว และมีสีน้ำตาล) และมีกลิ่นเหงื่อที่ฉุน // ขณะที่ยีนด้อยจะเป็นจีโนไทป์ AA ซึ่งจะมีขี้หูแบบแห้งเป็นขุยๆ และมีกลิ่นตัวไม่แรง

จากรูปแผนที่โลก (ดูคลิก) จะเห็นว่าผู้คนในประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีอัตราส่วนของอัลลีล A ในตำแหน่ง SNP จีโนไทป์ rs17822931 (ที่ทำให้ขี้หูแห้ง) ที่แตกต่างกันไป ดูได้จากสีขาว ที่อยู่ในวงกลมแต่ละวง ซึ่งสามารถเอาอัลลีลของยีน ABCC11 มาใช้ในการติดตามการอพยพของมนุษย์ในอดีตได้ เนื่องจากเชื่อกันว่าอัลลีลนี้กำเนิดขึ้นในประชากรของคนเอเชียตะวันออกแต่โบราณ แล้วยีนนี้ก็อาจจะแพร่กระจายออกไปตามภูมิภาคต่างๆ ของโลก

ความถี่ของอัลลีลที่ทำให้ขี้หูแห้งนั้น กระจุกตัวสูงสุดในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในประเทศเกาหลี จีน มองโกเลีย และญี่ปุ่น ซึ่งพบว่าความถี่ของอัลลีลนี้มีมากที่สุดในคนเชื้อสายฮั่นในจีนตอนเหนือ และชาวเกาหลี ตามด้วยคนมองโกล คนเชื้อสายฮั่นในจีนตอนใต้ และคนเชื้อสายยามาโตะในญี่ปุ่น (ตามลำดับ) ขณะที่ความถี่ของอัลลีลต่ำที่สุดนั้น พบในคนเชื้อสายริวกิว และชาวไอนุ

ถ้าเรียงลำดับลักษณะพันธุกรรมแบบมีขี้หูแห้ง เราสามารถไล่เรียงในทิศเหนือ-ใต้ จากจีนตอนบน ลงมายังเอเชียตอนใต้ และไล่ในทิศตะวันออก-ตะวันตก จากฝั่งไซบีเรียตะวันออก ไปยังยุโรปตะวันตก

นอกจากนี้ ยังพบด้วย ปริมาณของสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยได้ (volatile organic compounds หรือ VOCs) ในขี้หูนั้นมีความสัมพันธ์กับความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน ABCC11 ซึ่งก็เชื่อมโยงกับเรื่องต้นกำเนิดของชาติพันธุ์อีกด้วย นั่นคือ จีโนไทป rs17822931 ซึ่งพบมากในคนเอเชียตะวันออก จะสัมพันธ์กับการมีสารระเหย VOC ในปริมาณต่ำ

ข้อมูลยีน ABCC11 จาก คลิก

"อ.เจษฎ์" เปิดความจริง คนขี้หูแห้ง จะเป็นคนที่ ไม่มีกลิ่นรักแร้

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่ thainewsonline