สภาทนายความแถลงข่าว เรื่องการบังคับใช้กฎหมายกรณีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทย คาดยื่นห้องเรื่องดังกล่าวภายในวันที่ 16 สิงหาคม 2567 นี้


จากสถานการณ์การแพร่ระบาด "ปลาหมอคางดํา" ที่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วลงสู่แหล่ง  นํ้าธรรมชาติ "หลุดรอดเข้าฟาร์มเพาะเลี้ยงกินสัตว์นํ้าตัวอ่อนกุ้ง และปลา" สร้างความเสียหายให้ เกษตรกรเป็นวงกว้างแล้วอย่างน้อย 16 จังหวัด ในขณะนี้กลายเป็นปัญหาใหญ่กระทบ และทําลาย  ความหลากหลายของระบบนิเวศแหล่งน้าจืด นํ้ากร่อย และลุกลามลงสู่ทะเล 

ด้วยลักษณะเฉพาะ "ปลาหมอคางดํา" ที่สามารถปรับตัว "ทนทุกสภาพแวดล้อม" ทําให้ปลาท้องถิ่นถูกกินเป็นอาหารลดจํานวน  ลงแล้วปลาหมอคางดํานี้ก็จะเป็นปลาหลักในแหล่งนํ้านั้นแทน ทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ  ภาคการประมง  หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เราอาจเห็นข่าวประกาศจับ "ปลาหมอคางดํา ปรากฏในหลายพื้นที่ เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของสัตว์น้ำต่างถิ่นที่คุกคามระบบนิเวศและสัตว์น้ำดั้งเดิม

สภาทนายความ แถลงด่วน  ฟ้องร้องหน่วยงาน ต้นตอแพร่ระบาด\"ปลาหมอคางดำ\"

ซึ่งมีรูปแบบการดําเนินการที่หลากหลาย เช่น จัดแข่งขันจับปลาหมอคางดําด้วยการลากแหและอวน  ระดมพลลงแขก ไปจนถึงการปล่อยปลาผู้ล่าสู่แหล่งนํ้า แต่การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ก็ไม่ง่าย  เพราะทั้งความที่ปล่อยปัญหานี้ไว้ยาวนาน มีการแพร่กระจายได้ง่าย  

สภาทนายความ แถลงด่วน  ฟ้องร้องหน่วยงาน ต้นตอแพร่ระบาด\"ปลาหมอคางดำ\"


จากสถานการณ์ที่ระบบนิเวศกําลังเผชิญ แนวทางในการแก้ปัญหาตามหลักสากลทั่วโลก  คือผู้ก่อปัญหาต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบ หรือหากเกิดความผิดพลาดของผู้ทดลองเลี้ยง จนทำเกิดปัญหาขึ้นดังนั้นผู้ที่น่าเข้าควรเป็นผู้รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่าย  ในการกําจัดปลาหมอคางดํา เป็นเจ้าภาพในการกําจัดจนกระทั่งเหลือปลาตัวสุดท้าย เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดในอนาคตอีก และเยี่ยวยาผู้ได้รับผลกระทบด้วย  

สภาทนายความ แถลงด่วน  ฟ้องร้องหน่วยงาน ต้นตอแพร่ระบาด\"ปลาหมอคางดำ\"

 

กรณีนี้ ทั้งบริษัทผู้นําเข้า และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ต่างต้องร่วมกับผิดชอบในความผิด เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผิดชอบการแพร่กระจายของปลาหมอคางดํา มีความหละหลวมไม่มี มาตรการควบคุมที่ดี ปล่อยให้มีการนําเข้าจนมาสู่การระบาดของปลาหมอคางคํา การคุกคาม ปลาพื้นถิ่นปลาต่างถิ่นที่เข้าไปกัดกินสัตว์น้ำพื้นลิ่นและกุ้งหอยปูปลาในบ่อเลี้ยง 

สภาทนายความ แถลงด่วน  ฟ้องร้องหน่วยงาน ต้นตอแพร่ระบาด\"ปลาหมอคางดำ\"


จากกรณีดังกล่าว คณะกรรมการสิงแวดล้อมสภาทนายความและคณะกรรมการสำนักงานคดีปกครอง จึงกำหนดแนวทางความช่วยเหลือประชาชนทางกูหมายในสองแนวทาง คือ


1.การดำเนินคดีแพ่งกับผู้ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทย โดยดำเนินคดีแบบกลุ่ม เรียกค่าเสียหายได้ของชาวประมง และเรียกค่าเสียหายจากการที่ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย ตามหลัก "ผู้ก่อให้เกิดมลพิษเป็นผู้จ่าย”

สภาทนายความ แถลงด่วน  ฟ้องร้องหน่วยงาน ต้นตอแพร่ระบาด\"ปลาหมอคางดำ\"

2.การดำเนินคดีปกครองกับหน่วยงานอนุญาตที่ละเลย ละเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้ระบาดของปลาหมอคางดำเป็นการทำละเมิดทางปกครองและให้หน่วยงานอนุญาตจัดการแพร่ระบาดและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ที่สูญเสียไป โดยให้เรียกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจากผู้ก่อให้เกิดการระบาดของปลาหมอคางดำ รวมทั้งค่าเสียหายจากการที่ต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ

สภาทนายความ แถลงด่วน  ฟ้องร้องหน่วยงาน ต้นตอแพร่ระบาด\"ปลาหมอคางดำ\"

 

ทั้งนี้สภาทนายความคาดว่าจะยื่นฟ้องเรื่องดังกล่าวภายในวันที่ 16 สิงหาคม 2567 นี้