รู้แล้ว "ฝีดาษลิง" มีที่มาจากไหน หมอเผยเอง ข้อมูลละเอียดยิบ

หมอธีระวัฒน์ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ออกมาโพสต์ข้อความ ระบุ ที่มาฝีดาษลิง ข้อมูลละเอียดยิบ

ฝีดาษลิง โดยหมอธีระวัฒน์ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า 

ที่มาฝีดาษลิง

โรคอุบัติใหม่อีกหนึ่งโรคเฉพาะถิ่น ในทวีปแอฟริกากลาง และค่อยเคลื่อนมายังแอฟริกาตะวันตก ซึ่งอธิบายได้จากความอดอยากแร้นแค้น การสงคราม การย้ายถิ่นฐานและการสัมผัสกับสัตว์เฉพาะถิ่น

รู้แล้ว "ฝีดาษลิง" มีที่มาจากไหน หมอเผยเอง ข้อมูลละเอียดยิบ

แต่ทั้งนี้ โรคไม่ได้ระบาดอย่างเก่งกาจและสงบไปได้เองทั้งนี้การติดต่อจากคนสู่คนนั้นไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ โดยต้องมีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิดและเป็นเวลาเนิ่นนานพอสมควร โดยต้องมีเชื้อที่ปล่อยออกมามากพอสมควร (sufficient time of exposure and sufficient dose)

การศึกษาการปรับเปลี่ยนทางพันธุกรรมในช่วงระยะเวลา 2001 และ 2018 ในวารสาร Nature Scientific reports ยืนยันต้นกำเนิดจากแอฟริกากลางที่รุนแรงกว่าและขยายภูมิศาสตร์การระบาดไปยังแอฟริกาตะวันตกที่ ความรุนแรงน้อยลงแต่แพร่ได้ดีขึ้น

ลักษณะ ปรากฏการณ์ที่ไม่ปกติธรรมดาของฝีดาษลิง ที่แพร่ได้ง่ายกว่าธรรมดาในมนุษย์แต่ยังไม่มีความรุนแรงมากแต่มีแผลพุพอง ได้ในเฉพาะที่บางส่วนหรือกระจาย ความจริงเริ่มตั้งแต่ในปี 2017-8 ใน อัตราการแพร่ R0 ยังอยู่ที่ 0.7 ไม่ถึงหนึ่งซึ่งจะแสดงว่าการแพร่กระจายนั้นจะคงอยู่ระยะหนึ่งและสงบ โดยยังไม่มี sustained transmission

ในช่วงเวลาถัดมามีผู้ติดเชื้อมากขึ้นเรื่อย ๆ ชัดเจนในปี 2022 ทั้งๆที่ไม่มีประวัติเดินทางไปทวีปหรือประเทศต้นกำเนิดหรือมีประวัติสัมผัสกับคนที่กลับมาจากประเทศทวีปแอฟริกาหรือสัมผัสกับคนที่ร่วมในเทศกาล pride ด้วยซ้ำ

และจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสามทวีปในมากกว่า 15 ประเทศภายในระยะเวลาสามสัปดาห์โดยที่รายแรกในประเทศอังกฤษเกิดขึ้นวันที่ 7 พฤษภาคมและในวันที่ 26 เพิ่มเป็น 90 รายและจนกระทั่งวันที่ 7 มิถุนายนเพิ่มขึ้นเป็น 322 รายซึ่งแสดงว่าเป็นการติดเชื้อแพร่กระจายในชุมชน (community spread)และ ความสามารถในการแพร่อาจมากกว่าหนึ่ง

ในช่วงระยะเวลาเดียวกันในกลางปี 2022 Richard Neher ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทาง computational evolutionary biologist ที่ University of Basel ได้วิเคราะห์รูปแบบการวิวัฒนาการผันแปร ทางพันธุกรรมของเชื้อฝีดาษลิงในปี 2022 เทียบกับในระยะเวลาที่ผ่านมา โดยตั้งสมมุติฐาน ลักษณะการแพร่จากคนสู่คน ซึ่งเก่งขึ้น หาความเชื่อมโยงไม่ได้และลักษณะของโรคคล้ายปรับเปลี่ยนให้สังเกตยากขึ้น มีผื่น ตุ่ม หลายระยะพร้อมกันในเวลาเดียวกัน แทนที่จะเกิดเป็นลักษณะเดียวและค่อยๆเปลี่ยนเป็นลักษณะอื่น

รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากที่พบในปี 2017 มากกว่า 40 ตำแหน่ง ทั้ง ๆ ที่ ไวรัสดีเอ็นเอ เช่น ฝีดาษลิงปกติจะมีความเปลี่ยนแปลงน้อยมากในตัวนิวคลีโอไทด์ เพียงปีละ 1-2 ตัว ในจำนวน เกือบ 2 แสนตัว ของไวรัส

การที่มีการปรับเปลี่ยนใน 47 ตำแหน่ง ภายในช่วงระยะเวลาสามถึงสี่ปี จัดเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่คาดคิด

การวิวัฒนาการในลักษณะเช่นนี้อาจต้องใช้เวลาเวลามากกว่า 50 ปีด้วยซ้ำ

และ Neher ได้อนุมานว่าอาจเป็นผลของการปรับตัวของไวรัสต่อระบบต่อสู้ของมนุษย์ APOBEC3

การจัดกลุ่มไวรัสฝีดาษลิงในปี 2022 หลุดกระเด็นออกมาอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับไวรัสก่อนหน้าที่มีการระบาดในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก และมีลักษณะพิเศษที่นิวเคลียร์โอไทด์เปลี่ยนจาก C เป็น T และ G เป็น A ในกลุ่ม heptamers ที่วิเคราะห์ TC เป็น TT หรือ GA เป็น AA

และถ้าการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมในลักษณะนี้เกิดขึ้นจากการปรับตัวของไวรัสต่อระบบต้านไวรัสของมนุษย์เป็นไปได้หรือไม่ว่ามีการแพร่ในมนุษย์ด้วยกันเองอย่างเงียบ ๆ อยู่แล้ว อย่างน้อย เริ่มตั้งแต่ปี2017 หรือก่อนหน้า

แต่การที่เป็น ไวรัส DNA เป็นที่น่าพิศวง ว่าทำไมสามารถผันตัวได้รวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่ ควรต้องใช้เวลาเป็น 40-50ปี ไม่ใช่ 6-7 ปี จาก 2017 ถึง 2022 ที่ติดเชื้อง่ายขึ้นมาก ทั่วโลก

จากการเปิดเผยขององค์กร nuclear threat initiative (NTI) จากการก่อตั้งโดย อดีตวุฒิสมาชิกของสหรัฐ Sam Nunn และ Ted Turner โดยตั้งเป้าที่จะลดการคุุกคาม จากอาวุธชีวภาพ ได้ฝึกแผนปฏิบัติการ ในห้อง (tabletop)ในปี 2021 ว่ามีการโจมตีจาก ผู้ก่อการร้าย โดยใช้ไวรัสฝีดาษลิงสายพันธุ์ใหม่ และฝึก การรับมือในสถานที่ ในเดือน กุมภาพันธ์ 2022 โดยไวรัสชื่อ Akhmeta และมีผู้แทนจาก Bill & Melinda Gates Foundation ร่วมด้วย

รู้แล้ว "ฝีดาษลิง" มีที่มาจากไหน หมอเผยเอง ข้อมูลละเอียดยิบ

ในฉากทัศน์ ของการฝึกในปี 2021 กำหนดว่ามีการก่อการร้ายเกิดขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม 2022 และ ในวันที่ 5 มิถุนายน 2022 มีการติดเชื้อในประเทศ 1,421 ราย ตายสี่คน

วันที่ 10 มกราคม 2023 เกิดการระบาดใน 83 ประเทศ ติดเชื้อ 70 ล้านคน ตาย 1.3 ล้านคน

10 พฤษภาคม 2023 ทั่วโลกติดเชื้อ 480 ล้านคน ตาย 27 ล้านคน

1 ธันวาคม 2023 ติดเชื้อ 3,200 ล้านคนตาย 271 ล้านคน

การระบาดจริงทั่วโลกเริ่ม เกิด เมื่อ 7 พฤษภาคม 2022 รายงานที่อังกฤษ และเป็น 90 ราย วันที่ 26 พฤษภาคม และ 322 ราย วันที่ 7 มิถุนายน และมีการแพร่กระจายทั่วโลก

ไวรัส Akhmeta เป็นสมาชิกหนึ่งในครอบครัวไวรัส Pox โดยพบในคาวบอยเลี้ยงวัวสองรายที่จอร์เจียในปี 2013 เป็นแผลที่ผิวหนัง และพบในสัตว์ฟันแทะ ในปี 2018

ในปี 2020 คณะวิจัยของ CDC ตีพิมพ์ รายงานว่าไวรัสดังกล่าวทำให้หนู CAST/EiJ Mus musculus ตาย 100% ในปริมาณไวรัสไม่มาก

และไวรัสตัวนี้ถูกสมมุติว่าเป็นอาวุธชีวภาพโดยมีการวางแผนซ้อมรับมือในปี 2021 และ 2022

ในปี 2022 Bernard Moss จาก NIH NIAID ได้ทำการตัดต่อพันธุกรรมโดยใช้ยีนส์ของกลุ่มที่หนึ่งแอฟริกากลางที่มีความรุนแรงกว่าเข้ากับกลุ่มที่สอง แอฟริกาตะวันตก ที่แพร่ได้ดี แต่รุนแรงน้อยโดยให้มีอัตราตาย 15% และสามารถแพร่ได้ดีขึ้นจากเดิม ที่แพร่จากหนึ่งคนไป 0.7 คน ให้เป็น 2.4 คน

และในปี 2023 ได้รายงานยืนยันความรุนแรงของกลุ่มที่หนึ่งมากกว่ากลุ่มที่ IIa และมากกว่า กลุ่มที่ IIb ในวารสาร PNAS

Moss ทำงานเกี่ยวกับไวรัส Pox โดยได้รับทุนจาก NIH มาตลอดตั้งแต่ปี 2009 จนถึงปัจจุบัน

และจากการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการรัฐสภาสหรัฐเปิดเผยในวันที่ 11 มิถุนายน 2024 พบว่า Fauci NIH NIAID ได้อนุมัติทุนให้สร้างไวรัสฝีดาษลิงให้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและแพร่กระจายได้มาก (gain of function) ขึ้นในปี 2015

และคณะกรรมการระบุว่ามีความเสี่ยงอันตรายต่อประชาชน โดยรวมทั้งนี้ โดยที่ไม่มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดเลย

และมีการทดสอบยา Tecovirimat ในการรักษาคนที่ติดเชื้อฝีดาษลิง ของ Leidos Biomedical Research โดยได้รับทุนจาก NIH

นอกจากนั้นพบความเชื่อมโยงการทำงานฝีดาษลิงระหว่าง NIH และ สถาบันวิจัยอู่ฮั่น

จนปัจจุบันมีการตั้งเป้าในการฉีดวัคซีนฝีดาษลิงแก่ประชากร ทั้งโลกเพราะความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการระบาด

ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก

มหาวิทยาลัยรังสิต