- 04 เม.ย. 2560
บูชา"พระแม่ลักษมี" เทพีแห่งความงาม ร่ำรวย ทำได้ไม่ยาก มีบอกวิธี
เคล็ดบูชา “พระแม่ลักษมี”
เทพีแห่งความร่ำรวย มีกินมีใช้อุดมสมบูรณ์
ในทางความเชื่อและศรัทธาตามหลักศาสานาฮินดู พระแม่ลักษมีทรงมีพระนามว่า “ชลธิชา” อันหมายถึง “เกิดแต่น้ำ” รวมถึงอีกหนึ่งนามมงคล “กษีราพธิตนยา” หรือบุตรีแห่งทะเลน้ำนม เพราะพระองค์ท่านทรงถือกำเนิดจากฟองน้ำ และทรงประทับบนดอกบัว และพระหัตถ์ถือดอกบัว จึงทรงมีอีกหนึ่งพระนามว่า “ปัทมา” หรือ “กมลา” เมื่อครั้งที่เทวดาและอสูรร่วมสร้างศรัทรากวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤต
ในคัมภีร์วิษณุปุราณะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีคือ พระธิดาของ “พระฤาษีภฤคุ” กับนาง “ขยาติ” และทั้งนี้พระแม่ลักษมี ยังคงเป็นพระราชมารดาของพระกามเทพ จากตำนานที่พระวิษณุเป็นพระบิดาของกามเทพไม่ใช่พระพรหม
แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือพระองค์ทรงเป็นเทพแห่งความงดงาม แต่เมื่อครั้งที่ ความเชื่อทางพราหมณ์ พุทธ และฮินดู ได้เดินทางเข้าสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อสมัยหลายพันปีที่ผ่านมา จนเกิดการเปลี่ยนถ่ายและพัฒนาความเชื่อ และความศรัทธา นำไปสู่การผสมผสาน และปรับแก้ไขของทั้งสามศาสนา
จึงกลายเป็นว่าในดินแดนแถบนี้ โดยเฉพาะในประเทศไทย ต่างศรัทธาพระแม่ลักษมีว่าเป็นสัญลักษณ์ แห่งโชคลาภ ความมั่งคั่ง และพระองค์ทรงผู้มีใจเมตตาปรานี ชายาแห่งพระวิษณุผู้ดูแลรักษาโลก
พระแม่ลักษมี คือเทวีแห่งความงดงาม ความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ พระองค์มักประทานความสำเร็จในการประกอบกิจการ การเจรจาต่อรอง การทำมาค้าขาย การประกอบธุรกิจทุกสาขา ตลอดจนประทานโภคทรัพย์ เงินทอง สมบัติ แก่ผู้หมั่นบูชาพระองค์และประกอบความดีอยู่เป็นนิจ
แต่หากเป็นคติของทางอินเดีย พระแม่ลักษมีคือ อวตารของ “พระแม่โพสพ” หรือเทวีแห่งพืชพันธุ์ ธัญญาหาร ในคติลักษมีแปดปางที่ชื่อ “ปางธัญญลักษมี” ทรงมี 4-6 แขน โดยพระหัตถ์ทั้งสองข้าง จะถือรวงข้าวและธัญพืช
ดังนั้นหากมนุษย์ผู้ใด ปฏิบัติบูชาพระแม่ลักษมีและพระแม่โพสพ ก็จะพบกับความมั่งคั่งร่ำรวยอุดมสมบูรณ์ในโภคทรัพย์ต่างๆ เพราะพระองค์ มีน้ำพระทัยเมตตาปราณี อันเป็นความงามทั้งรูป ทั้ง กิริยามารยาท ทั้งวาจาอันยวนเสน่ห์และไพเราะ โดยมีหลักแห่งความศรัทธาว่า ถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ
หากคุณผู้อ่าน หรือบุคคลใดก็ตามที่ต้องการพานพบและประสบกับความสำเร็จ ความมั่งคั่งร่ำรวยในชีวิต สมารถปฏิบัติดังเคล็ดการบูชาพระแม่ลักษมี ตามจารีตของฮินดู ดังต่อไปนี้
วันและฤกษ์ยามสำหรับสำหรับการบูชาพระลักษมี เพื่อความมั่งคั่ง
– “วันสีดา นวะมี” ถือฤกษ์ยามบูชา ขึ้น 9 ค่ำ เดือนอัษฐะ หรือเดือนมิถุนายน ถึงกรกฏาคม เป็นช่วงเวลาของการบูชานางสีดา อันทรงเป็นอีกหนึ่งลักษมีอวตาร
– “วันดีปาวลี” ถือฤกษ์ยามบูชา วันแรม 14 ค่ำ เดือนการติก หรือเดือนตุลาคม ถึงพฤศจิกายน อันเป็นพิธีแห่งแสงสว่าง ซึ่งพระแม่ลักษมีจะทรงประธานความมั่งคำร่ำรวย แก่ผู้บูชา ทั้งนี้ยังมีวันอันเป็นมงคลอื่นๆ ที่กำหนดเป็นการให้บูชาพระแม่ลักษมี แตกต่างกันไป แต่จุดมุ่งหมายเดียวกันคือการขอรับพรอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อสำเร็จสัมฤทธิ์ผลดังใจหมายทุกประการ โดยเฉพาะความมั่งคั่งร่ำรวย
คาถาบูชาพระแม่ลักษมี
ทั้งนี้ก่อนการสวดบูชาต่อพระแม่ลักษมี ต้องสวดมนต์บูชาต่อพระพิฆเนศก่อนเสมอ และบทสวดมนต์พระแม่ลักษมีนั้นมีหลายบท เลือกสวดได้ดังต่อไปนี้
โอม ชยะ ศรี ลักษมี มาตา
โอม ศรี มหาลักษมี เจ นะมะฮา
โอม มหาลักษมี ยะนะมะฮา
โอม มหาลักษะ มะไย นะโม นะมะฮ
โอม วิษณุ ปริยาไย นะโม นะมะฮ
โอม ธานา ประจาไย นะโม นะมะฮ
โอม วิศวา จานันไย นะโม นะมะฮา
ยา เดวี สารวะ ภูเตชู
ลักษมี รูเปนะ สัม สติตา
นะมัส ตัสไย / นะมัส ตัสไย / นะมัส ตัสไย
นะโม นะมะฮา
โอม พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มะหาลาโภ
ทุติยัมปิ พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มะหาลาโภ
ตะติยัมปิ พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มะหาลาโภ
โอม เจ ลักษมี มหามาตา / มะนุสสา อัญชะลี ยะ ปูจา
โอมมหาราณี รีตู ปรารัม / กรุณา ตรี โลคา มาตินัม
อดัม อาสสานุม ปัทมินนี / นะโม ตุสเต เจ โฮมา มาตา กี
เจ โฮมา ลักษมี มา เจ โฮ มา / ลักษมี มา มหา ลักษมี มาตากี
โอม นมัสสักกา โอม มหาลักษมีเทวี ศักติ โอม
โอม ชยะตี ชคะนิธิวะตี ภาคยะวตี
ธะนะวันตี ชยะ ชลละชะ วิลาสินี
คตะมหานะ วิจรัญตี ชยะ ศรี กะมะเล
หะริปรีเย ชลละนิธิ ตนะเย
อัมพา วิณาวัตตะ สุนทระทาสา อิกะมานะ
เตระหินะ อวะลัมพา ฯ
โอม ลักษมีกานตัม กะมะลา นะยานัม
โยคิภิรัทยา นะคัมยัม วันเทวิษณุม
ภะวะภะยะหะรัม สรรวะโลกัยกะนาถัม
โอม ศานตาการัม ภูชะคะสะยะนัม
ปัทมานาภัม สุเรศัม วิศวาธารัม
คะคะนะสะทฤศัม เมฆะวรรณัมศุภางคัม
ลักษมีการตัมกะมะกะละนะยะนัม
โยคิภีระธยานะคัมมะยัม
วันเทวิษณุ ภะวะภะยะหะรัม สรรวะโลกัยกานาถัม
โอม นะมัสศิโรเม เตาเลหะมาละ
สะลามะมาเรกุลา อาตะคัจฉะ มาลายะเฮ
ดุนนะยะโฮ กะโฮนะฮีนะ
ตุนนะฮี ยะวานะระโฮ ดูบัมบารา อาดัมบารา
นะฮีนะ นะโฮนะ วายะฮี
ลักษมีเดาเลาะหะมาล อาคัจชะมาฮาล อะสุราฮาล
ทะชัชชะมาฮาล ทะชัชชะมาฮาล ทะชัชชะมาฮาละ ปูชิตตะวา
ที่มา torthmmarak.wordpress.com