เรื่องเล่าสมัยสงครามโลก สู่พระราชนิพนธ์แปล นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ ของในหลวงร.9

พระราชนิพนธ์แปลเรื่อง นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นหนังสือที่ได้รับรู้และเห็นถึงความสามารถด้านการแปลและการใช้ภาษาได้อย่างสละสลวยของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙

เคยสงสัยไหมว่า ร้านนายอินทร์ ร้านหนังสือชื่อดังในของประเทศไทย ทราบกันหรือไม่ว่าทำไมต้องชื่อว่า นายอินทร์ แล้ว นายอินทร์ คือใคร มาหาคำตอบกัน จากสาขาแรกที่ท่าพระจันทร์ ร้านนายอินทร์ อยู่เคียงข้างและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเพื่อนนักอ่านมาตั้งแต่ 20 มิถุนายน 2537 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนามจากหนังสือพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นชื่อร้านหนังสือในนาม ร้านนายอินทร์ ด้วยความมุ่งหวังที่จะเป็นศูนย์กลาง การกระจายความรู้ ความคิด และชาวยส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับคนไทยอันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาคน สังคม ตลอดจนประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง

 

เรื่องเล่าสมัยสงครามโลก สู่พระราชนิพนธ์แปล นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ ของในหลวงร.9

 

 

พระราชนิพนธ์แปลเรื่อง นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นหนังสือที่ได้รับรู้และเห็นถึงความสามารถด้านการแปลและการใช้ภาษาได้อย่างสละสลวยของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เพราะพระองค์ท่านทรงปลูกฝังและให้ความสำคัญในเรื่องของการทำความดีมาโดยตลอด ดังพระราชดำรัสว่า

งานทุกอย่างที่มีด้านหน้าเเละด้านหลังเหมือนเหรียญบาท งานด้านหน้านั้นมีคนทำกันอย่างเยอะเเยะ เเละมีคนเเย่งกันทำเพราะมีผลเห็นได้ชัด เเละก็ปูนบำเหน็จกันได้อย่างเต็มที่ เเต่งานด้านหลังที่ไม่ปรากฏต่อสายตาคน ต้องเป็นคนที่เข้าใจงานเเละหน้าที่ของตัวเองจริงๆ ถึงจะทำได้ เเละต้องเสียสละด้วย เพราะงานด้านหลังเป็นงาน "ปิดทองหลังพระ" ถ้าทำดีแล้วต้องไม่ให้เห็นปรากฏ เเละต้องยอมรับว่าไม่ได้อะไรตอบเเทนเลย นอกจากความภาคภูมิใจในการทำงานในหน้าที่ของตน

 

เรื่องเล่าสมัยสงครามโลก สู่พระราชนิพนธ์แปล นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ ของในหลวงร.9

พุทธศักราช 2520 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชทรงเริ่มแปลหนังสือต้นฉบับภาษาอังกฤษชื่อ A Man Called Intrepid นวนิยายของ Sir William Stevenson ซึ่งเขียนขึ้นจากชีวิตจริงของตน เมื่อครั้งเป็นหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับอังกฤษ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 รหัสว่า Intrepid  มีหน้าที่สืบความลับของฝ่ายเยอรมัน เพื่อนำไปบอกแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร อันมีบทบาทสำคัญในการทำให้เป็นผู้ชนะสงคราม Intrepidและผู้ร่วมงานถือเป็นตัวอย่างของผู้กล้าที่ยอมอุทิศชีวิตเพื่อความถูกต้อง ยุติธรรม เสรีภาพ และสันติภาพโดยไม่หวังลาภยศสรรเสริญใดๆ อันควรค่าแก่การนำไปเป็นแบบอย่างของทุกคน เป็นงานพระราชนิพนธ์แปลที่ทรงใช้พระอัจฉริยภาพทางภาษา แปลให้เข้าใจง่าย และชวนติดตาม ทรงใช้เวลาที่ว่างจากพระราชภารกิจในแต่ละวัน โดยใช้เวลาเกือบ 3 ปี จึงแล้วเสร็จ และได้รวบรวมจัดพิมพ์ขึ้นในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จำหน่ายเพื่อนำรายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา

 

เรื่องเล่าสมัยสงครามโลก สู่พระราชนิพนธ์แปล นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ ของในหลวงร.9

 

หนังสือเรื่อง นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ นี้ เป็นพระราชนิพนธ์แปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษชื่อเรื่อง A Man Called Intrepid ของวิลเลียม สตีเวนสัน โดยพระองค์ท่านทรงสละเวลาในแต่ละวันทุ่มเทการแปลพระราชนิพนธ์เรื่องนี้นานถึงสามปี ด้วยความมุ่งมั่นที่เล็งเห็นว่าหนังสือเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อคนที่ได้อ่านอย่างมาก จึงได้พยายามถ่ายทอดเรื่องราวออกมาจากฉบับภาษาอังกฤษโดยตรง และปรับใช้ภาษาในการเล่าเรื่องให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่าย เรื่อง A Man Called Intrepid นั้นออกจะเข้าใจยากสักหน่อยสำหรับคนที่ไม่ค่อยสนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์ เพราะมีลักษณะค่อนไปทางการเปิดเผยเกี่ยวกับสงครามลับช่วงปี ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945 ของกลุ่มสายลับต่อต้านฮิตเลอร์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเรียกเป็นโค้ดเนมว่า Intrepid จากตรงนี้พี่หวานได้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพที่เล่นคำจากคำว่า Intrepid มาเป็นชื่อ อินทร์ หรือ นายอินทร์ ในภาษาไทย เนื้อหาโดยรวมเล่าถึงการทำงานของ นายอินทร์ ที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าระดับสูงในตอนนั้น การทำงานอย่างลับๆ นี้ได้รับความร่วมมือกันระหว่างสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเพื่อจะต่อต้านอำนาจของกลุ่มนาซี  ชื่อจริงของนายอินทร์ในพระราชนิพนธ์คือ เซอร์วิลเลียม สตีเฟนสัน เป็นชาวเเคนาดาที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าฝ่ายจารกรรม เจ้าของโค้ดเนม Interpid

 

เรื่องเล่าสมัยสงครามโลก สู่พระราชนิพนธ์แปล นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ ของในหลวงร.9
 

ภูมิหลังในหนังสือได้บอกไว้ว่าเขาเป็นคนที่สนใจเรื่องไฟฟ้า รหัสมอส และเครื่องบิน ตลอดจนการอ่านหนังสือนั้นถือเป็นอีกหนึ่งงานอดิเรกที่เขาชอบ ในตอนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 นายอินทร์ได้เข้าร่วมเป็นทหารอาสา เเต่ก็ได้รับอันตรายจากสงครามจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด ด้วยความกล้าหาญและจิตใจเข้มเเข็งไม่ยอมแพ้ เมื่อรอดกลับมาได้เขาจึงพยายามอีกครั้งที่จะเป็นทหารสังกัดนักบิน คราวนี้กลับถูกจับตัวไปยังฐานทัพของเยอรมันอยู่นาน เเต่เขาก็ยังคงช่างสังเกต เมื่อหลบหนีมาได้จึงเขียนรายงานถึงรายละเอียดต่างๆ ภายในค่ายกักกันของเยอรมัน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สงบลง เขาก็ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าไปกับการศึกษาเรื่องวิทยุสื่อสาร วิทยุกระจายเสียง ในตอนนั้นอังกฤษและอเมริกาไม่ได้คิดว่าจะมีสงครามเกิดขึ้นอีกครั้งค่ะ เเต่นายพลฮอลล์แห่งอังกฤษและนายพลบิลโดโนเเวนเเห่งอเมริกายังคงเดินหน้าต่อในเรื่องการติดตามกลุ่มนาซีเยอรมันอย่างลับๆ  โดยงานราชการลับนี้เองที่นายอินทร์ถือเป็นกำลังสำคัญในการติดตามฮิตเลอร์ที่เป็นหัวหน้ากลุ่มนาซีในตอนนั้น

                เวลาต่อมารัฐบาลพยายามเจรจาพันธมิตรกับกลุ่มฮิตเลอร์ กลุ่มนายอินทร์จึงไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลที่กำลังสืบสวนออกไปได้ เพราะถึงเล่าไปก็ไม่มีใครเชื่อ ก็ตอนนั้นต่อหน้ารัฐบาลกลุ่มฮิตเลอร์ก็พยายามจะประนีประนอมด้วยทั้งที่จริงแอบผลิตกำลังอาวุธสงครามมากมาย ทั้งหมดนี้จึงที่มาถึงสาเหตุที่นายอินทร์ยอมให้วิลเลียม สตีเฟนสัน(ผู้เขียน)นำเรื่องราวในจดหมายและการทำงานของกลุ่มราชการลับออกมาเปิดเผยให้ผู้คนได้รับรู้ เพื่อเป็นการสดุดีต่อผู้ร่วมกลุ่มราชการลับที่ได้ล่วงลับไปแล้วโดยที่ยังไม่มีใครได้รู้ถึงความดีงามทั้งหลายที่พวกเขาได้ทำมา เหมือนอย่างคำว่า ปิดทองหลังพระ ที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เลือกใช้ในการตั้งชื่อเรื่องฉบับแปลไทยนั่นเอง

 

เรื่องเล่าสมัยสงครามโลก สู่พระราชนิพนธ์แปล นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ ของในหลวงร.9

 

ด้วยภาษาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ใช้มีทั้ง ภาษาปากที่ทำให้คนอ่านเข้าใจง่าย มีการแปลตรงตัวเเต่ได้ความหมาย บางตอนก็มีการใช้คำที่สื่อความหมายเบาลงเพื่อลดความรุนเเรงของความหมาย เเละบางครั้งก็ใช้คำที่เน้นย้ำความหมายเพื่อเล่นกับความรู้สึกคนอ่านได้อย่างถูกจังหวะ กลวิธีการแปลอย่างนี้ไม่ใช่นักแปลทุกคนนะคะที่จะเลือกใช้คำมาแปลได้เหมาะสมกับตัวบท ในหลวง พระองค์ทรงเลือกวิธีแปลได้อย่างยอดเยี่ยม เเละยังทำให้การอ่านงานหนักๆ อย่างเรื่องสงครามโลกเป็นเรื่องที่น่าติดตามได้มากยิ่งขึ้น

 

เรื่องเล่าสมัยสงครามโลก สู่พระราชนิพนธ์แปล นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ ของในหลวงร.9

หนังสือเรื่อง นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ นี้ก็คือ ความรักชาติ ที่กลุ่มนายอินทร์มีต่อประเทศชาติเเละส่วนรวม ซึ่งพวกเขาปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ จากรัฐบาล เจ้าหน้าที่หลายคนที่ต้องสละชีวิตไปโดยไม่มีใครทราบชื่อ หรือผู้ที่รอดชีวิตกลับมาจากสงครามได้ก็กลับไปใช้ชีวิตปกติโดยปราศจากการยกย่องหรือได้รับรางวัลใดๆ เเต่พวกเขาก็ไม่เคยเรียกร้องสิ่งตอบเเทน หวังเพียงให้คนในชาติอยู่อย่างสงบสุข เเละไม่มีการสูญเสียเพราะสงครามอีกแล้ว การกระทำของตัวละครเหล่านั้น เมื่อถูกถ่ายทอดด้วยภาษาในการแปลของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้สะท้อนลักษณะของบุคคลที่ ปิดทองหลังพระ ได้อย่างชัดเจนจริงๆ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.naiin.com/about-us

เพจ พ่อผู้เป็นที่รัก