- 11 ส.ค. 2561
เปิดข้อมูล ทนายรัชพล นายจ้างหักเงินมาสาย ผิดกฎหมาย!!รู้กันเอาไว้แต่อย่ามาหัวหมอเพราะมีวิธีไล่ออกได้
ตอนนี้มีการถกเถียงในประเด็นของกรณีที่ลูกจ้างมาสายห้ามนายจ้างหักเงินเดือน ทั้งนี้ได้เกิดการตั้งคำถามต่อมาว่ากฎหมายเข้าข้างลูกจ้างจริงหรือในขณะที่มีข้อมูลที่น่าสนใจจากบุคลากร สายงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระบุว่า การมาทำงานสายไม่จำเป็นต้องออกกฎหมายอะไรมากมาย และไม่จำเป็นถึงขั้นต้องหักเงิน ทั้งยังมองว่ากฎหมายไม่ให้หักเงินนั้นไม่ได้เอื้อต่อลูกจ้าง
สำหรับพรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 76 ระบุว่า ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง นายจ้างจะหักค่าจ้างได้กรณีดังนี้
- หักภาษีหรือชำระเงินอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนด
- หักค่าสหภาพ
- ชำระหนี้สหกรณ์
- หักเงินประกันบางประเภท หรือหักค่าเสียหายโดยลูกจ้างต้องยินยอม
- หักเงินสะสม
ดังนั้น มาสายหักเงินไม่ได้ ใครโดนก็ไปร้องเรียนได้ที่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานครับ หากฝ่าฝืนมีโทษสูงสุด คุก 6 เดือน ปรับ 1 แสน ตามมาตรา 144
และเพื่อให้เกิดความชัดเจน ได้สัมภาษณ์พิเศษทนายรัชพล ศิริสาคร ประธานชมรมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เกี่ยวกับข้อกฎหมายที่ลูกจ้างควรรู้ โดยระบุว่า เชื่อว่าในสถานประกอบกิจการต่างๆ ลูกจ้างคงจะโดนหักเงินจากนายจ้างมิใช่น้อย ซึ่งจริงๆ แล้ว ตามกฎหมายเค้าห้ามนายจ้างหักเงินมั่วๆ โดยเฉพาะเมื่อมาสาย นายจ้างจะหักเงินได้แค่ที่กฎหมายกำหนด
ทีนิวส์ : จากกรณีที่นายจ้างหักเงินเดือน กฏหมายเข้าข้างลูกจ้างหรือ ??
ทนายรัชพล ศิริสาคร : นายจ้างสามารถทำได้หลายอย่างยกตัวอย่างเช่นการห้ามหักเงินเดือนจะเรียกว่าเป็นค่าปรับอะไรก็ได้
ทีนิวส์ : เป็นการจ่ายเช่นว่าเงินเดือนออกก่อนแล้วค่อยไปจ่าย ??
ทนายรัชพล ศิริสาคร : แค่นี้เขาก็ไม่ผิดกฏหมายแล้ว
ทีนิวส์ : คำว่าผิดกฎหมายคืออะไรห้ามหักในสลิปต์เงินเดือน แต่ถ้าลูกจ้างคนนี้มาสายต้องเอามาจ่ายนอกรอบกับฝ่ายบุคคล ??
ทนายรัชพล ศิริสาคร : ถูกต้องแล้วครับทำได้ครับ
ทีนิวส์ : แต่ต้องมีข้อตกลงลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก่อนที่จะมีการเข้าทำงานหรือไม่ ??
ทนายรัชพล ศิริสาคร : จริงๆ ไม่จำเป็นแต่ถ้านายจ้างมีข้อตกลงมีระเบียบข้อบังคับชัดเจนและต้องไปจดทะเบียนกับกรมแรงงาน ลูกจ้างสามารถปฏิบัติตาม
ทีนิวส์ : แต่ถ้ากระทรวงแรงงานบอกว่าโบนัสไม่ใช่ค่าจ้างพิเศษก็สามารถหักได้ ??
ทนายรัชพล ศิริสาคร : ก็ต้องมาพิจารณาก่อนว่าโบนัสเป็นค่าจ้างไหม อาจจะต้องศึกษาคำพิพากษาของศาลฎีกา
ทีนิวส์ : อย่างคนที่เขาเคยโดนหักมาก่อนหน้านี้แล้วที่หลายคนถามว่า เช่นมาสายไม่กี่นาทีโดนหักไปหลายบาทไปฟ้องได้ไหมคะ ??
ทนายรัชพล ศิริสาคร : ไม่ได้ครับผมไม่สามารถดำเนินคดีได้แต่สามารถไปร้องเรียนทางกรมสวัสดิการหรือว่าจ้างทนายฟ้องศาลเองได้
ทีนิวส์ : หักเงินเดือนไม่ได้แต่ไปหักเงินส่วนอื่นได้ไหม เช่นค่าผลงานค่าชิ้นงานต่างๆที่จะต้องทำในช่วงเวลาที่ใช้มาสาย ??
ทนายรัชพล ศิริสาคร : ตรงนี้ต้องดูเป็นกรณีไปว่าแต่ละอย่างเงินแต่ละอย่างเข้าข่ายเป็นค่าจ้างหรือไม่ เพราะถ้าเข้าข่ายเป็นค่าจ้างก็ไม่สามารถหักได้ แต่ถ้าเป็นเงินที่ไม่ใช่ค่าจ้างสามารถหักได้
ทีนิวส์ : คือถ้าตามข้อกฎหมายห้ามจากค่าจ้างอย่างเดียว ?
ทนายรัชพล ศิริสาคร : ใช่เลย
ทีนิวส์ : แล้วถ้าเจ้าของกิจการเจอลูกจ้างหัวหมอประเภทมาสายเป็นประจำ แบบนี้นายจ้างทำอย่างไร ??
ทนายรัชพล ศิริสาคร : ก็คงออกระเบียบได้ เพราะนายจ้างมีวิธีการทำหลายวิธีเช่นเรียกเก็บค่าจ้าง หรือจะออกระเบียบลงโทษได้ สามารถพักงานไม่จ่ายเงินเดือนได้ ถ้ามาสายบ่อยๆ แล้วเกิดความเสียหายกับงาน นายจ้างสามารถไล่ลูกจ้างออกได้ เและเคยมีคำพิพากษาใกล้เคียงว่านายจ้างสามารถไล่ลูกจ้างออกได้
ทีนิวส์ : นายจ้างไม่ผิดนะ ?? แสดงว่าถ้าลูกจ้างหัวหมอนายจ้างก็มีสิทธิทำมากกว่าหักเงินเดือนก็คือไล่ออกได้เลย ??
ทนายรัชพล ศิริสาคร : ใช่ครับถ้าเกิดความเสียหายมากๆสามารถไล่ออกได้เลยทางที่ดีนายจ้างควรออกระเบียบข้อบังคับจะได้มีข้อบังคับ โดยสามารถไปจดได้ที่กรมบังคับ
ทีนิวส์ : แสดงว่าตอนนี้ที่สังคมกังวลเดี๋ยวจะเจอลูกจ้างหัวหมอกฏหมายไม่ได้มีไว้เพื่อสิ่งนี้ สังคมต้องเลิกถกเถียงได้แล้ว ??
ทนายรัชพล ศิริสาคร : ก็มีการดำเนินการอย่างอื่นนะครับ