- 12 พ.ย. 2561
ถือเป็นข่าวดีของวงการปลากัดไทย หลังเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 61 นายกฤษฏา บุญราช รมว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบให้กรมประมงส่งเอกสารประกอบการพิจารณาไปยัง สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ถือเป็นข่าวดีของวงการปลากัดไทย หลังเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 61 นายกฤษฏา บุญราช รมว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบให้กรมประมงส่งเอกสารประกอบการพิจารณาไปยัง
สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ บ่งชี้เพียงพอว่าปลากัด นั้นมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยมีหลักฐานเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการพนันปลากัด
เป็นลายลักษณ์อักษร
ทั้งยังมีหลักฐานเสริมเพิ่มเติมว่า รัชกาลที่ 3 ทรงเลี้ยงปลากัดเป็นของขวัญแก่แพทย์ชาวต่างชาติ ทั้งนี้ทางด้านแหล่งอารยธรรมถิ่นกำเนิดย้อนไปเมื่อ 108 ปี พบว่านักมีนวิทยาได้เก็บตัวอย่างปลากัด จากแม่น้ำเจ้าพระยาของไทย ไปตรวจ และพบว่าเป็นปลาที่มีชื่อตรงตามวิทยาศาสตร์ว่า Betta Splendens แม้ว่าจะมีการพัฒนาสี ลวดลายของสายพันธ์ปลาไปบ้าง แต่ก็ยังถือว่าไม่มีปัญหาอะไรจากข้อมูลทั้งหมดถือเป็นหลักฐานที่เพียงพอในการนำเสนอปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติไทย
ทั้งนี้ทางคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ จะเตรียมประชุมเรื่องนำเสนอปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติอีกครั้งช่วงกลางเดือน พ.ย. 61 นี้ โดยมีนายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง นำเสนอข้อมูลทั้งหมดหากทางคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ มีมติเห็นด้วย จะนำเรื่องดังกล่าวส่งต่อไปยังสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อเตรียมนำเข้า ครม. ต่อไป
ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากัดหลายคนออกมาสนับสนุนให้มีการนำปลากัดขึ้นเป็น สัตว์น้ำประจำชาติ เพราะจะส่งผลดีแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากัดในการส่งขายข้ามประเทศมากขึ้น ทั้งยังนำไปเป็นของที่ระลึกได้ แบบช้างไทยที่มีการเพิ่มลาย หรือมีตุ๊กตาออกมาสื่อถึงอัตลักษณ์ของประเทศไทยทางอ้อม นำมาซึ่งรายได้เศรษฐกิจในชุมชน พร้อมส่งเสริมวิถีชีวิตด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุลักษณ์ของชาวต่างชาติที่ต้องการสัมพันธ์
วิธีแบบไทยแท้
ในปัจจุบันมีเกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนเพาะเลี้ยงปลากัดทั่วประเทศ 1,500 กว่าราย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดนครปฐม ที่ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดการเพาะเลี้ยงปลากัดในยุคแรกเริ่มเลยก็ว่าได้ และเมื่อช่วงเดือน พ.ย. 59 วงการปลากัดไทยได้เรียกเสียงฮือฮาจากโลกโซเชียลจนเป็นกระแสโด่งดังด้วยการเพาะพันธุ์ปลากัดลายธงชาติไทยที่มีความสวยงามโดนเด่นเป็นเอกลักษณ์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ จนเจ้าปลากัดลายธงชาติไทยตัวนี้มีมูลค่าการประมูลสูงถึง 53,500 บาท / ตัว ซึ่งผู้เพาะเลี้ยงปลากัดสายพันธุ์ธงชาติไทยคือนาย นายคเชนทร์ วรชัย ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมให้ชื่อเจ้าปลากัดลายธงชาติว่า " ไตยรงค์ "
สำหรับลักษณะของเจ้าไตรรงค์ ลำตัวเป็นสีน้ำเงิน ส่วนบริเวณครีบหางด้านล่าง มีสีขาวและแดง เช่นเดียวกับส่วนหาง ที่มีสามสีเรียงกัน เหมือนลายธงชาติ ที่ไม่พบเห็นมากนัก และหางยังเป็นรูปใบโพธิ์ มีลักษณะเป็นมงคลเป็นอย่างยิ่ง ในตอนนี้ยังต้องจับตาดูต่อไปว่าทางคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ จะมีผลการพิจารณาเช่นไร เกี่ยวกับเรื่องนี้ในช่วงเดือน พ.ย. 61 นี้ หากไม่มีอะไรผิดพลาดเราเอาได้เห็นปลากัดขึ้นเป็นสัตว์น้ำประจำชาติไทย
ขอบคุณภาพจากเฟศบุ๊ก Kachen Worachai