- 13 พ.ย. 2561
นับว่าเป็นจังหวะที่นักลงทุนต่างจับจ้องมานานหลังราคาทองคำมีการปรับตัวสูงขึ้นเรื่องๆ จนมาหยุดอยู่ที่ราคาสูงสุดบาทละ 19,150 บาท จนนักลงทุนหลายคนไม่กล้าซื้อทองคำในช่วงเดือนตุลาคม เพราะถือเป็นช่วงที่ก้ำกึ่งอยู่ว่าการลงทุนนั้นมีความเสี่ยงสูงเมื่อซื้อแล้วอาจขายออกได้ราคาต่ำกว่าที่หวัง
นับว่าเป็นจังหวะที่นักลงทุนต่างจับจ้องมานานหลังราคาทองคำมีการปรับตัวสูงขึ้นเรื่องๆ จนมาหยุดอยู่ที่ราคาสูงสุดบาทละ 19,150 บาท จนนักลงทุนหลายคนไม่กล้าซื้อทองคำในช่วงเดือนตุลาคม เพราะถือเป็นช่วงที่ก้ำกึ่งอยู่ว่าการลงทุนนั้นมีความเสี่ยงสูงเมื่อซื้อแล้วอาจขายออกได้ราคาต่ำกว่าที่หวัง ทั้งยังหยุดอยู่ในสภาวะคงที่อยู่เกือบ 3 วัน ส่งผลให้ในช่วง 1 อาทิตย์ที่ผ่านมาตลาดทองไม่คึกคักเท่าไหร่ จนล่วงเลยมาถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน 61 ราคาทองมีการปรับลงถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกในเวลา 09:29 น. ครั้งที่สองในเวลา 10:23 น. ถือเป็นการปรับลดลงในเวลาไม่ถึงครึ่งวัน จนสร้างความคึกคักขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดในหมู่นักลงทุน โดยราคาทองคำ เปิดตลาดครั้งที่ 2 เมื่อเวลา 10:23 น. ทองราคาขยับลงครั้ง 50 บาท ถึง 2 ครั้ง รวมแล้ว 100 บาท
ในส่วนทองแท่งรับซื้อบาทละ 19,050 ขายบาทละ 19,150 รูปพรรณรับซื้อบาทละ 18,707.44 ขายบาทละ 19,650 บาท จากนั้นก็มีการปรับลดลงมาเรื่อยๆเป็นเวลาตลอดเกือบ 1 อาทิตย์ แม้วันที่ 12 พฤศจิกายน 61 ราคาทองจะคงที่ก็ตาม แต่มาถึงเช้าวันที่ 13 พฤศจิกายน 61 นักลงทุนก็ไม่ผิดหวัง เพราะราคาทองจากสมาคมค้าทองคำ ออกมาประกาศ ปรับลดราคาทองลงถึง 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เมื่อเวลา 09.23 น. ขยับลงอีก 50 บาท โดยในส่วนทองแท่งรับซื้อบาทละ 18,800.00 ขายบาทละ 18,900.00 รูปพรรณรับซื้อบาทละ 18,464.88 ขายบาทละ 19,400.00 บาท และครั้งที่2 เมื่อเวลา 10.37 น. ขยับลงอีก 50 บาท โดยในส่วนทองแท่งรับซื้อบาทละ 18,750.00 ขายบาทละ 18,850.00 รูปพรรณรับซื้อบาทละ 18,419.40 ขายบาทละ 19,350.00 บาท รวมทั้ง 2 ครั้งติดลบ 100 ซึ่งต้องรอดูต่อไปว่าจะมีครั้งที่ 3 หรือไม่
โดย นายพิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้จัดการศูนย์วิจัยทองคำ เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน พฤศจิกายน 2561 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 65.82 จุด เพิ่มขึ้น 25.74 จุด หรือคิดเป็น 64.22% จากเดือน ตุลาคมที่ระดับ 40.08 จุด โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นนั้น น่าจะมาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย เงินบาทอ่อนค่าหนุนราคาทองคำในประเทศ และแรงซื้อเก็งกำไร
ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบกิจการค้าทองคำรายใหญ่และผู้ประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับราคาทองคำจำนวน 10 ตัวอย่าง โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าราคาทองคำในเดือน พฤศจิกายน 2561 จะเพิ่มขึ้นการคาดการณ์ราคาทองคำเดือน พฤศจิกายน 2561 ของผู้ประกอบกิจการค้าทองคำรายใหญ่มีมุมมองดังนี้
ราคาทองคำตลาดโลก Gold Spot
-ให้กรอบราคาบริเวณ 1,197 – 1,259 ดอลลาร์ต่อต่อออนซ์
ราคาทองคำแท่งในประเทศ ความบริสุทธิ์ 96.5%
-ให้กรอบบริเวณ 18,750 – 19,650 บาท
ค่าเงินบาท
-กรอบบริเวณ 32.58 – 33.48 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ด้านนายพิบูลย์ฤทธิ์ ยังแนะนำการลงทุนทองคำในเดือนพฤศจิกายน 61 ผู้ค้าทองรายใหญ่ ให้ความเห็นว่า หากราคาทองคำสามารถรักษาระดับไว้ได้ คาดว่าราคาทองคำจะค่อยๆ ขยับขึ้นในลักษณะ Side way Up แต่อาจมีแรงขายทำกำไรสลับเข้าซื้อ คล้ายในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แนะนำนักลงทุนเข้าซื้อทำกำไรเมื่อราคาทองคำเข้าทดสอบแนวรับบริเวณ 1,208 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และขายทำกำไรเมื่อราคาทองคำทดสอบแนวต้านที่บริเวณ 1,254 ดอลลาร์ต่อออนซ์
หากเปรียบเทียบราคาทองคำในปี 61 นั้น ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนพฤศจิกายน จะเห็นได้ว่าราคาทองตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน มีการปรับเพิ่มของราคาทองคำตั้งแต่เปิดเดือนมา 4 ครั้งลดครั้งละ 50 บาท รวมแล้วได้ 200 บาท จากที่ราคาปรับขึ้นถี่ๆ ในเดือนตุลาคม 2561 อย่างต่อเนื่องจนจบเดือนปรับขึ้นกว่า + 850 บาท ถือเป็นเดือนที่ปรับขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือนมกราคม 61 และหากย้อนกลับไป 7 ปี ก่อนหน้าปี 2561 จะเห็นได้ชัดว่ามีอัตราการปรับขึ้นของทองคำตลอดทั้งปีดังนี้
1. ปี 2555 ปรับขึ้นลงรวมตลอดปีอยู่ที่ +1,150 บาท เห็นได้ว่าถือเป็นปีที่ราคาทองคำนั้นปรับขึ้น โดยเฉพาะเดือนมกราคม ที่ปรับขึ้น 1,900 บาท อาจมีลดลงบางในเดือนมีนาคม ที่ 1,250 บาท จนจบตลอดทั้งปีที่การปรับขึ้น 1,150 บาท
2. ปี 2556 ปรับลงรวมตลอดปีอยู่ที่ -5,300 บาท ในปี 2556 เป็นปีของการปรับตัวลงของราคาทองคำ สูงสูดใน 7 ปีนี้
3. ปี 2557 ปรับขึ้นลงรวมตลอดปีอยู่ที่ -400 บาท ถือว่ายังคงที่ในการปรับลดลง ในแต่ละเดือน แต่จะปรับขึ้นในเดือน กุมภาพันธ์ มากที่ 1,050 บาท จากนั้นจึงค่อยๆ ลดลงตามลำดับ
4. ปี 2558 ปรับขึ้นลงรวมตลอดปีอยู่ที่ -300 บาท ปี 2558 นั้น ยังเป็นปีที่คงที่ของราคาทองปรับขึ้นไม่มากไม่น้อยจนเกินไป
5. ปี 2559 ปรับขึ้นลงรวมตลอดปีอยู่ที่ +1,450 บาท เป็นปีที่มีการปรับราคาทองขึ้นมากที่สุดอีกปีหนึ่ง โดยจะปรับขึ้นมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ ถึง 1,900 บาท
6. ปี 2560 ปรับขึ้นลงรวมตลอดปีอยู่ที่ + 350 บาท ราคาทองที่ปรับขึ้นในปีนี้ยังอยู่ในขั้นทรงตัว ไม่ขึ้นมากและไม่ลงมาก โดยเดือนสิงหาคม ปรับขยับขึ้นที่ 550 บาท ถือว่าสูงสุดในปี 2560
7. ปี 2561 ปรับขึ้นลงรวมตลอดปีอยู่ที่ -1,250 บาท ยังต้องจับตามองกันอยู่ตลอดกับราคาทองคำผันผวนตลอดทั้งปี 2561 ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน 2561 มีการปรับลดราคาทอง ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 61 อย่างต่อเนื่องถึง 2 ครั้ง รวมทั้งหมดทั้งเดือนพฤศจิกายน 61 ที่ปรับลด -300 บาท ตั้งแต่เริ่มเดือนมา หลังจากมีการปรับเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ถึงกว่า 850 บาท โดยบวกเพิ่ม อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม จนเริ่มปรับลดลงในเดือนพฤศจิกายน 2561 นี้
ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดราคาทองคือ
1. ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ
โดยทั่วไปราคาทองคำจะเพิ่มขึ้น เมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง เพราะการซื้อทองคำเป็นการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ เป็นเงินสกุลหลักที่ใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้นเมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ มีสัญญาณอ่อนค่าลง ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ที่ถือครองเงินเหรียญสหรัฐฯ มักจะกระจายความเสี่ยง โดยแบ่งเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น เช่น เงินสกุลอื่นๆ รวมถึงทองคำ ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นด้วย
2.ความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อ
หากปัจจัยอื่นคงที่ โดยทั่วไปราคาทองคำจะเพิ่มขึ้น เมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น เพราะทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่มีประสิทธิภาพ โดยเราจะสังเกตทิศทางอัตราเงินเฟ้อได้จากทิศทางราคาพลังงาน (น้ำมัน) และราคาอาหารต่างๆ เพราะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเงินเฟ้อโดยตรง
3. ความเสี่ยงทางการเมืองระหว่างประเทศและระบบการเงิน
ราคาทองคำมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ และความไม่แน่นอนสูงในระบบการเงินโลก เนื่องจากในระหว่างช่วงที่เกิดเหตุการณ์เหล่านั้น การขายสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ มาถือครองทองคำแทนจะเพิ่มสูงขึ้นเพราะผู้ลงทุนมักจะป้องกันความเสี่ยงที่สินทรัพย์อื่นจะมีราคาตลาดลดลง ด้วยการย้ายมาถือครองทองคำ จะมากน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเหตุการณ์แต่ละครั้ง
4.อุปสงค์และอุปทานในตลาด
หากปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำจะเพิ่มขึ้น เมื่อมีผู้ต้องการซื้อทองคำในปริมาณที่มากกว่าปริมาณทองคำที่มีในตลาด (Demand มากกว่า Supply) ทั้งนี้ อุปสงค์ (Demand) คือ ความต้องการใช้ทองคำนั้น ส่วนใหญ่มาจาก 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ภาคเครื่องประดับ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการแพทย์ และภาคการลงทุน ภาคการลงทุนมีความต้องการทองคำเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ช่วงที่มี Credit Crisis ซึ่งมีสาเหตุมาจากข้อ 3 รวมถึงการที่ภาครัฐของประเทศต่างๆ มีการนำทุนสำรองไปซื้อทองคำมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการกระจุกตัวอยู่ในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เช่น จีน อินเดีย ที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นต้น ส่วนอุปทาน (Supply) นั้น คือ ความต้องการขายทองคำ ส่วนใหญ่มาจาก 3 กลุ่ม
หลักได้แก่ ผลผลิตทองคำจากเหมืองทอง แรงขายจากธนาคารกลางประเทศต่างๆ และปริมาณทองคำเก่าที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ
5.ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ
ราคาทองคำในประเทศไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถผลิตทองคำได้เอง จึงต้องนำเข้าทองคำจากต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งตลาดทองคำโดยทั่วไป มักจะใช้เงินสกุลเหรียญสหรัฐฯ เป็นสกุลเงินอ้างอิงในการซื้อขาย ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐฯ จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำในประเทศ ไทย
เมื่อรวมกันจึงเป็นตัวแปลงสำคัญในการที่ทำให้ราคาทองนั้นขึ้นลงตามลำดับ สำหรับประเทศไทยนั้นในช่วงนี้ถือเป็นโอกาสทองของหลายคนที่ต้องการซื้อเก็บไว้เนื่องจากราคาทองปรับลดลงอย่างต่อเนื่องมากถึง 300 บาท ในเดือนพฤศจิกายน
ขอบคุณ ทองคําราคา