ราคาทองผันผวนปรับเพิ่ม ลุ้นแตะ 20,000 บาท

  ถือเป็นจังหวะผันผวนของราคาทองอย่างแท้จริงในช่วงนี้ เพราะตั้งแต่เปิดอาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายน 61 มาราคาทองอยู่ในภาวะลดต่ำลงโดยมีการปรับลดในรอบวันถึง 50 บาท อยู่หลายครั้ง ซึ่งนักลงทุนต่างจับตาว่าราคาทองจะมีการปรับต่ำลงอีกเท่าใด จนมาถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 61

    ถือเป็นจังหวะผันผวนของราคาทองอย่างแท้จริงในช่วงนี้ เพราะตั้งแต่เปิดอาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายน 61 มาราคาทองอยู่ในภาวะลดต่ำลงโดยมีการปรับลดในรอบวันถึง 50 บาท อยู่หลายครั้ง ซึ่งนักลงทุนต่างจับตาว่าราคาทองจะมีการปรับต่ำลงอีกเท่าใด จนมาถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 61 ราคาทองมีการปรับขึ้น 50 บาท และปรับขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลา 6 วัน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 250 บาท โดยราคาทองตามประกาศจากทางสมาคมค้าทองคำ ครั้งที่ 1 เวลา 09.24 น. ประกาศให้ ทองคำแท่ง รับซื้อ 18,950.00 บาท ขายออก 19,050.00 บาท  ทองรูปพรรณ รับซื้อ 18,616.48  บาท ขายออก 19,550.00 บาท

 

ราคาทองผันผวนปรับเพิ่ม ลุ้นแตะ 20,000 บาท

 

ทองคําโคเม็กซ์ตลาดนิวยอร์ก (Commodity Exchange) ปิดตลาดเมื่อคืนวันศุกร์ (16) พุ่งขึ้น 8 ดอลลาร์ สู่ระดับ 1,1223 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับปัจจัยทางการเมืองในอังกฤษ ตลาดทองคําฮ่องกง เปิดตลาดวันที่ 19 พฤศจิกายน 61 เพิ่มขึ้น 78 ดอลลาร์ฮ่องกง สู่ระดับ 11,430 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อตำลึง

ราคาทองผันผวนปรับเพิ่ม ลุ้นแตะ 20,000 บาท

 

ราคาทองผันผวนปรับเพิ่ม ลุ้นแตะ 20,000 บาท

    ราคาทอง spot เช้าวันจันทร์ราคายังยืนเหนือระดับ 1,220 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ราคาปรับตัวขึ้นจากปัจจัยเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่ารวมถึงแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยหลังจากการร่วงลงของตลาดหุ้นสหรัฐ ทองไทยเปิดตลาดเงินบาทแข็งค่ากดดันขึ้นไม่มาก ทำให้ราคาทองคำในประเทศ เปิดตลาดเช้านี้ปรับขึ้นตามทองคำโลก 50 บาท อย่างไรก็ดี เงินบาทที่กลับมาแข็งค่าต่ำกว่าบริเวณ 33 บาทต่อดอลลาร์ เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปรับขึ้นของราคาทองในประเทศ  

           

ราคาทองผันผวนปรับเพิ่ม ลุ้นแตะ 20,000 บาท

        

   แนวโน้มราคาทองคำ spot โดย ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ฟิวเจอร์สราคาทองคำ spot ทางเทคนิคคาดจะปรับขึ้นได้ต่อ โดยมีแนวต้านที่ 1,230 และ 1,235 ดอลลาร์ต่อออนซ์หลังจากที่ราคาทองคำปรับขึ้นและยืนเหนือ 1,210 ดอลลาร์ได้ ขณะที่มีแนวต้านสำคัญที่ 1,240 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วนแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1,210 ดอลลาร์และแนวรับถัดไปที่ 1,200 ดอลลาร์

    หากเปรียบเทียบราคาทองคำในปี 61 นั้น ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนพฤศจิกายน จะเห็นได้ว่าราคาทองตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน มีการปรับเพิ่มของราคาทองคำตั้งแต่เปิดเดือนมา 4 ครั้งลดครั้งละ 50 บาท รวมแล้วได้ 200 บาท จากที่ราคาปรับขึ้นถี่ๆ
ในเดือนตุลาคม 2561 อย่างต่อเนื่องจนจบเดือนปรับขึ้นกว่า + 850 บาท ถือเป็นเดือนที่ปรับขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือนมกราคม 61 และหากย้อนกลับไป 7 ปี ก่อนหน้าปี 2561 จะเห็นได้ชัดว่ามีอัตราการปรับขึ้นของทองคำตลอดทั้งปีดังนี้

 

1. ปี 2555 ปรับขึ้นลงรวมตลอดปีอยู่ที่ +1,150 บาท เห็นได้ว่าถือเป็นปีที่ราคาทองคำนั้นปรับขึ้น โดยเฉพาะเดือนมกราคม ที่ปรับขึ้น 1,900 บาท อาจมีลดลงบางในเดือนมีนาคม ที่ 1,250 บาท จนจบตลอดทั้งปีที่การปรับขึ้น 1,150 บาท

2. ปี 2556 ปรับลงรวมตลอดปีอยู่ที่ -5,300 บาท ในปี 2556 เป็นปีของการปรับตัวลงของราคาทองคำ สูงสูดใน 7 ปีนี้

3. ปี 2557 ปรับขึ้นลงรวมตลอดปีอยู่ที่ -400 บาท ถือว่ายังคงที่ในการปรับลดลง ในแต่ละเดือน แต่จะปรับขึ้นในเดือน กุมภาพันธ์ มากที่ 1,050 บาท จากนั้นจึงค่อยๆ ลดลงตามลำดับ
        
4. ปี 2558 ปรับขึ้นลงรวมตลอดปีอยู่ที่ -300 บาท ปี 2558 นั้น ยังเป็นปีที่คงที่ของราคาทองปรับขึ้นไม่มากไม่น้อยจนเกินไป 

5. ปี 2559 ปรับขึ้นลงรวมตลอดปีอยู่ที่ +1,450 บาท เป็นปีที่มีการปรับราคาทองขึ้นมากที่สุดอีกปีหนึ่ง โดยจะปรับขึ้นมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ ถึง 1,900 บาท 

6. ปี 2560 ปรับขึ้นลงรวมตลอดปีอยู่ที่ + 350 บาท ราคาทองที่ปรับขึ้นในปีนี้ยังอยู่ในขั้นทรงตัว ไม่ขึ้นมากและไม่ลงมาก โดยเดือนสิงหาคม ปรับขยับขึ้นที่ 550 บาท ถือว่าสูงสุดในปี 2560

7. ปี 2561 ปรับขึ้นลงรวมตลอดปีอยู่ที่ -1,100 บาท ยังต้องจับตามองกันอยู่ตลอดกับราคาทองคำผันผวนตลอดทั้งปี 2561 ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน  2561 มีการปรับเพิ่มราคาทองอยู่เรื่อยๆมากว่า 6 วัน แล้ว โดยวันที่ 19 พฤศจิกายน 61 
มีการปรับขึ้นช่วงเช้า  1 ครั้ง 50 บาท ซึ่งนักลงทุนต้องจับตาดูกันต่อไปว่าทิศทางราคาทองตลอดเดือนพฤศจิกายน 61 จะเป็นเช่นไร

 

ราคาทองผันผวนปรับเพิ่ม ลุ้นแตะ 20,000 บาท

ราคาทองผันผวนปรับเพิ่ม ลุ้นแตะ 20,000 บาท

 

ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดราคาทองคือ

      1. ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ
โดยทั่วไปราคาทองคำจะเพิ่มขึ้น เมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง เพราะการซื้อทองคำเป็นการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ เป็นเงินสกุลหลักที่ใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้นเมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ มีสัญญาณอ่อนค่าลง ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ที่ถือครองเงินเหรียญสหรัฐฯ มักจะกระจายความเสี่ยง โดยแบ่งเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น เช่น เงินสกุลอื่นๆ รวมถึงทองคำส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นด้วย

      2.ความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อ
หากปัจจัยอื่นคงที่ โดยทั่วไปราคาทองคำจะเพิ่มขึ้น เมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น เพราะทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่มีประสิทธิภาพ โดยเราจะสังเกตทิศทางอัตราเงินเฟ้อได้จากทิศทางราคาพลังงาน (น้ำมัน) และราคาอาหารต่างๆ เพราะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเงินเฟ้อโดยตรง

      3. ความเสี่ยงทางการเมืองระหว่างประเทศและระบบการเงินราคาทองคำมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ และความไม่แน่นอนสูงในระบบการเงินโลก เนื่องจากในระหว่างช่วงที่เกิดเหตุการณ์เหล่านั้น การขายสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ มาถือครองทองคำแทน
จะเพิ่มสูงขึ้นเพราะผู้ลงทุนมักจะป้องกันความเสี่ยงที่สินทรัพย์อื่นจะมีราคาตลาดลดลง ด้วยการย้ายมาถือครองทองคำ จะมากน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเหตุการณ์แต่ละครั้ง

     4.อุปสงค์และอุปทานในตลาด  
หากปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำจะเพิ่มขึ้น เมื่อมีผู้ต้องการซื้อทองคำในปริมาณที่มากกว่าปริมาณทองคำที่มีในตลาด (Demand มากกว่า Supply) ทั้งนี้ อุปสงค์ (Demand) คือ ความต้องการใช้ทองคำนั้น ส่วนใหญ่มาจาก 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ภาคเครื่องประดับ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการแพทย์ และภาคการลงทุน ภาคการลงทุนมีความต้องการทองคำเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ช่วงที่มี Credit Crisis ซึ่งมีสาเหตุมาจากข้อ 3 รวมถึงการที่ภาครัฐของประเทศต่างๆ
มีการนำทุนสำรองไปซื้อทองคำมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการกระจุกตัวอยู่ในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เช่น จีน อินเดีย ที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นต้น ส่วนอุปทาน (Supply) นั้นคือ ความต้องการขายทองคำ ส่วนใหญ่มาจาก 3 กลุ่มหลักได้แก่ ผลผลิตทองคำจากเหมืองทอง แรงขายจากธนาคารกลางประเทศต่างๆ และปริมาณทองคำเก่าที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ

     5.ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ
ราคาทองคำในประเทศไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถผลิตทองคำได้เอง จึงต้องนำเข้าทองคำจากต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งตลาดทองคำโดยทั่วไป มักจะใช้เงินสกุลเหรียญสหรัฐฯ เป็นสกุลเงินอ้างอิงในการซื้อขาย ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐฯ จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำในประเทศ ไทย

ราคาทองผันผวนปรับเพิ่ม ลุ้นแตะ 20,000 บาท

 

     ทั้งนี้อีกไม่กี่วันก็จะถึงเดือนธันวาคม ซึ่งถือเป็นเดือนจับจ่ายซื้อของขวัญให้ญาติพี่น้อง และทองคำก็ถือเป็นอีกหนึ่งของขวัญยอดฮิตที่ประชาชนนิยมซื้อให้เป็นของขวัญแก่ผู้ที่เคารพรักในช่วงปีใหม่นี้ทำให้นักลงทุนหลายท่านในตลาดทองคาดการณ์ว่าในเดือนธันวาคมตลาดทองจะคึกคักเป็นพิเศษ ทั้งยังให้นักลงทุนจับตาต่อว่าราคาทองจะมีการปรับเพิ่ม หรือปรับลดลง ต่อไปเป็นเรื่องที่ผู้ซื้อต้องตามลุ้นกันต่อยาวๆ

 

ขอบคุณ  ทองคําราคา